FRY & THE VITAL FIRST MONTH
ลูกปลาและช่วงชีวิตที่สำคัญยิ่งในเดือนแรก ลูกปลา, ช่วงชีวิตที่สำคัญยิ่งในเดือนแรก
โดย MIDGE HILL
พิมพ์ซ้ำจากบทความ GUPPY GAMBITS โดย MIDGE HILL
ตรวจทานโดย STEPHEN KWARTLER
แปลไทย โดย เซียงชัย จิตโกศลวณิชย์
--------------------------------------------
อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับลูกปลาของคุณในเดือนแรก มันสามารถทั้งทำลายและสร้างปลาระดับประกวดของคุณได้ ไม่ว่าคุณคาดหวังว่า คุณจะเสี่ยงเพื่อให้ได้ปลาที่สวยระดับชนะการประกวด หรือเพื่อเป็นปลาที่สวยสุดๆ เพื่อประกวด หรือเพื่อความภูมิใจของคุณก็ตาม อะไรก็ตามที่คุณทำ ใน 30 วันแรก จะสามารถสร้างความแตกต่างได้ (ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม) ถึงแม้นักเพาะเลี้ยงต่างๆจะมีวิธีดูแลปลาในช่วงสำคัญนี้แตกต่างกันไป แต่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวต้องการให้ลูกปลา
- เติบโตอย่างรวดเร็ว
- ต้องการให้เกิดพัฒนาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เพื่อให้ได้ปลาที่มีขนาดที่ดีอย่างแท้จริง และมีร่างกายที่แข็งแรงล่ำสันเพียงพอที่จะส่งเสริมการพัฒนาให้มีครีบที่ใหญ่สวยงาม คุณต้องผลักดันลูกปลาให้ไปสู่จุดสูงสุดให้ได้ในช่วงเวลาสั้นๆระหว่างวันที่มันเกิด จนไปถึงวันที่มัน เริ่มมีความสนใจทางเพศ หรือเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการไปทางเรื่อง “เพศ”การพัฒนาของปลาการพัฒนาของปลามีแนวโน้มที่ค่อนข้างที่จะเป็นรูปแบบที่แน่นอน คือ ในช่วงเดือนแรกพลังงานที่ลูกปลาได้รับจะถูกส่งไปใช้เพื่อการพัฒนาการเจริญเติบโตทางร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อ โครงสร้างกระดูก จนถึงช่วงท้ายของเดือน ปลาจะเริ่มหันเหความสนใจ และการใช้พลังงานไปในการพัฒนาการทางเพศมากกว่าทางร่างกาย ในช่วงอาทิตย์ที่ 6 ปลาจะเปลี่ยนพลังงานไปใช้พัฒนาทางเพศเป็นอย่างมาก และในช่วงนี้จะไปพัฒนาทางครีบต่างๆ โดยเริ่มที่หาง และอีก 1 เดือน หรือมากกว่านั้น จะไปพัฒนาที่ครีบหลัง ถึงแม้ว่าการพัฒนาทางร่างกายจะยังคงมีอยู่ไปจนถึงเวลาตาย แต่ก็จะช้าลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นอย่างที่ได้กล่าวแล้วว่า เพื่อให้ได้ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด นักเพาะเลี้ยงจึงต้องเน้นในเดือนแรกๆ นี้ ให้มีการพัฒนาการทางด้านร่างกาย และขนาด ก่อนที่มันจะเริ่มใช้พลังงานไปพัฒนาทางด้านอื่นๆ
ตอนนี้เราจะย้อนไปถึงเมื่อเราจับคู่พ่อแม่แล้ว หลังจากนั้น 28 – 30 วัน ตอนนี้แม่ปลาก็คงพร้อมที่จะให้ลูกได้แล้ว เราควรย้ายแม่ปลาไปยังตู้อนุบาล ซึ่งอาจใส่สาหร่ายหรือตาข่ายเพื่อป้องกันแม่ปลา ซึ่งอาจกินลูกของมัน เพราะในนั้นอาจมีลูกปลาสุดยอดออกมาด้วย หลังจากแม่ปลาคลอดลูกเสร็จแล้ว ควรแยกแม่ปลาออกไปอนุบาลต่างหาก เพื่อระวังรักษามัน เพราะถ้าลูกของมันออกมาดีเยี่ยม คุณจะสามารถจับคู่เดิมได้อีกต่อไป
เมื่อเอาแม่ปลาออกแล้วเราก็จะเลี้ยงลูกปลาในตู้ และให้อาหาร ตู้ใช้ขนาด 5 แกลลอน เลี้ยงมันตลอดช่วงเดือนแรก ซึ่งลูกปลาจะเติบโตได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานสิ้นเปลืองเพื่อควานหาอาหาร ให้มันเอาพลังงานที่มันจะสิ้นเปลืองไปใช้เพื่อพัฒนาร่างกายต่อไปแทน ตู้เปลือยใส่ชุดกรองที่มุมตู้ อาหารที่เหลือควรดูดออกไป อย่าทิ้งไว้เพราะมันจะเน่าเปื่อย บางคนอาจใส่หอย หรือ ปลากินซาก (ขยะ) เพื่อกินเศษอาหารที่เหลือ โดยเฉพาะไรทะเลที่ตายจะเน่าได้เร็วมากการให้อาหาร, ให้มากแค่ไหน, และบ่อยแค่ไหน
ลูกปลาหางนกยูงจะมีระบบอาหารที่เล็ก ซึ่งต้องการเติมทุกๆ 20 นาที เพื่อการเติบโต อย่างสูงสุด ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำ คือ จัดความสมดุลระหว่าง 3 สถานการณ์ คือ
- ให้น้อยไป
- ให้เพียงพอ
- ให้มากเกินไป ซึ่งอันตรายมาก
จุดประสงค์ของเรา คือ ให้อาหารให้เพียงพอ เพื่อจะกินมื้อต่อไป โดยไม่ทำให้เกิดมลภาวะของเน่าเสีย หรือของ เหลือ ซึ่งอาจจัดให้อาหารทุก 2 ชั่วโมง และวันละ 8 – 10 มื้อ อย่างไรก็ตาม ถ้าการให้อาหารถี่เกินไป คุณอาจใช้ อาหารที่ไม่เน่าเปื่อยเร็วนักแทน ทำให้คุณไม่ต้องให้อาหาร มากมื้อ แต่ก็คงยังได้คุณภาพที่เท่าเดิม ซึ่งคุณต้อง ทดลองปรับเอง แต่อย่างไรก็ตามคุณก็ต้องระวัง ขอให้แน่ใจเสมอว่า อาหารมื้อก่อนได้กินหมดแล้ว หรือได้ถูกดูด ออกไปแล้วก่อนให้มื้อใหม่อาหารอะไร และให้อย่างไร FORCE FEEDING การให้อาหารแบบผลักดัน เทคนิค คือ ต้องให้กินมากขึ้นกว่าที่มันจะกินได้ตามธรรมดาที่กินได้เมื่อปลาหิวอีกนิดหนึ่ง และให้กินอาหารที่มีธาตุ หรือสารอาหารที่จำเป็นและร่างกายต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตซึ่งหมายถึง อาหารคุณภาพสูง ซึ่งต้องมีส่วนประกอบที่ ไม่จำเป็นให้น้อยที่สุด ไม่ให้ของที่ไม่จำเป็น หรือไม่มีประโยชน์ ผ่านเข้าไป หรือใช้พื้นที่ในระบบย่อยอาหาร แต่ไม่ให้ประโยชน์อะไรกับร่างกายปลาเหมือนกับเด็กที่กินอาหารมื้อเย็น ซึ่งอิ่มจนแน่นท้องไปหมดแล้ว แต่ก็จะไม่ยอมลดละกับไอศกรีมโคนที่แสนจะถูกใจ ปลาก็จะกินอาหารที่รสดีอย่างตะกละ ถึงแม้มันจะไม่หิวก็ตาม
เรารู้กันว่าอาหารที่มีประโยชน์ปลาไม่ค่อยยอมกิน แต่ที่กินก็เพราะมันหิวจริงๆ แล้วเราก็จะตามด้วยอาหารที่มีรสถูกใจมัน มันก็จะยอมกินอีก ถึงแม้พุงจะเต็มไปด้วยอาหารมื้อก่อนก็ตามที ซึ่งไรทะเลเป็นอาหารที่ปลาจะกระโจนใส่เข้าไปกินอย่างตะกละตะกราม เทคนิคของมันจึงอยู่ที่ ให้ปลายังคงยอมกินอยู่ถึงแม้จะหิวหรือไม่ก็ตามเราอาจจัดรอบของการให้อาหารในหนึ่งวันเป็น
1. อาหารแห้ง #1
2. ไรทะเลเกิดใหม่
3. อาหารแห้ง#2
4. อาหารมีชีวิต, อาหารเหลว ถ้าเป็นอาหารแห้งก็ควรเป็น FREEZE DRIED TUBIFEX, PLANKTON
5. อาหารแห้ง#3
6. อาหารแห้งสูตรเฉพาะของลูกปลา ที่มีคุณค่าอาหารสูงๆ
7. ไรทะเลเกิดใหม่
8. อาหารแห้งที่ให้มันอยู่ในท้องได้ตลอดคืน แล้งทิ้งเวลาไว้ 1 ชั่งโมง จึงค่อยปิดไฟ
9. ถ้าจะให้ต่อก็ให้วนรอบใหม่อีกครั้ง
เพราะไรทะเลจะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย นักเพาะเลี้ยงส่วยใหญ่จึงให้อาหารแห้ง แล้วมื้อต่อไปตามด้วยไรทะเล โดยให้อาหารแห้งรั้งไรทะเลไว้ในลำไส้ เพื่อให้ดูดซึมคุณค่าไว้ให้ได้มากที่สุด และมื้อถัดไปก็ควรเป็นอาหารที่มีความแข็งมากกว่า เพื่อให้อยู่ท้องนานๆ และมีธาตุอาหารสูงๆ ดังนั้น ควรจัดหมวดหมู่อาหารให้ดี เพราะไม่มีอาหารตัวใดตัวหนึ่งให้อาหารได้ครบทั้งหมดได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ปลาเติบโตได้เต็มที่ โดยไม่ใช้อาหารมีชีวิตด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดือนหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งการเติบโตนี้การเปลี่ยนน้ำนักเพาะเลี้ยงหลายคนพบว่า การเปลี่ยนน้ำบ่อยจะกระตุ้นการเติบโต ด้วยการเลี้ยงปลาจำนวนมากในปริมาณน้ำที่น้อย และมีการกินที่เต็มที่ และสม่ำเสมอ การถ่ายน้ำบ่อยเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อเป็นการเอาของเสีย และแอมโมเนียทิ้งไป แล้วธาตุจำเป็นในน้ำก็จะถูกเติมลงไป ซึ่งไม่ทำให้เกิดผลเสีย กลับเป็นการกระตุ้นลูกปลาให้อยากอาหารด้วย บางคนถ่ายน้ำ 25% ใน 1 ครั้งต่ออาทิตย์ ขณะที่บางคนถ่ายน้ำน้อยกว่า (10% โดยประมาณ) วันละ 1 ครั้ง การเปลี่ยนน้ำมากกว่า 25% ใน 1 ครั้งอาจทำให้ปลาช็อกได้ ถ้าคุณภาพของน้ำ และอุณหภูมิของน้ำแตกต่างกับน้ำเดิม ในสิงคโปร์ ผู้เพาะเลี้ยงเป็นการค้า เปลี่ยนน้ำ 100% ทุกวัน และได้ปลาที่ตัวใหญ่มาก แต่เขาได้รับพรและโชค ที่ใช้น้ำธรรมดา และอุณหภูมิที่อุ่น และไม่ต้องใช้เคมีบำบัดน้ำ ก่อนใช้ อุณหภูมิมีผลต่อการเติบโต ถ้าอุ่นกว่าจะทำให้การเผาผลาญของปลามีสูงขึ้น โดยใช้ความแตกต่างนี้ บางคนจะเลี้ยงปลาที่อุณหภูมิอุ่นมาก (80 ?F) ทำให้ลูกปลากินได้มากกว่า และโตเร็วกว่า บางคนจะเลี้ยงในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า (72 ?F) ปลาก็จะเติบโตเต็มที่ถึงวัยเจริญพันธุ์ได้ช้ากว่า ทำให้ มีช่วงที่จะเน้นการเจริญเติบโตทางขนาด และร่างกายได้นานกว่า หรือบางคนก็อาจใช้วิธี เมื่อปลา ถึงวัยเจริญพันธุ์ ก็จะเลี้ยงที่อุณหภูมิลดลงเพื่อชะลอให้การพัฒนาทางเพศช้าลง ให้การเจริญเติบโตทางร่างกายมีเวลานานขึ้นความสว่างจำนวนชั่วโมงจะมีผลต่อการกินของปลา ดังนั้นความสว่าง (แสง) จึงเป็นอีกปัจจัยต่อ การเติบโต บางคนจัดให้มีแสงสว่างตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้สามารถเลี้ยงปลาได้มากมื้อกว่า และมักคิดว่าปลาที่มีกิจกรรมมาก แต่กินน้อยกว่าจะทำให้การเติบโตลดลง โดยทั่วไปนักเลี้ยงปลา ชั้นยอดจะจัดให้มีแสงสว่างวันละ 16 – 17 ชั่วโมง และปิดไฟ 7 – 8 ชั่วโมง ความสว่างมากๆ จะไม่มีผลต่อการเติบโตเท่าใดนัก แต่ในทางตรงข้าม ความสว่างที่ไม่เพียงพอจะมีผลทำให้ปลา มีรูปร่างที่ไม่สมประกอบได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง เครื่องกรอง โดยทั่วไปจะไม่นิยมใช้การกรองใต้พื้น เพราะทำความสะอาดยาก ทำให้ไม่สามารถเร่ง การกินอาหาร หรือการให้อาหารแบบผลักดันได้ เพราะไม่สามารถดูดเศษอาหารออกได้ ส่วน เครื่องกรองแบบกล่องหรือแบบฟองน้ำก็ใช้ได้ดีแทบทุกแบบ การคัดเลือก การคัดเลือกจะเริ่มตั้งแต่วันแรก โดยเฝ้าดู และคัดปลาที่ด้อยออกไป ในลูกปลาเกิดใหม่ มักมีสักหนึ่ง หรือมากกว่า ที่อาจมีสีเข้มกว่า และอาจว่ายน้ำไม่ค่อยดีนัก มักจะไม่ค่อยพัฒนาเหมือนตัวอื่นๆ ควรคัดออกทันทีที่พบ อีกพวกหนึ่งอาจมีสีสันเหมือนตัวอื่นๆ แต่จะไม่ว่ายน้ำ มักใช้ท้องไถลไปตามตู้ปลา จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง พวกนี้ต้องกำจัดออกไป และเมื่อถึงวัยเติบโตจะมี บางตัวที่โตช้ากว่า ปลาเหล่านี้ก็ควรกำจัดออกไป อาจมีบางตัวที่มีพัฒนาการทางเพศช้ากว่าตัวอื่นๆ พวกนี้อย่ากำจัดไป เพราะมันจะมีพัฒนาการทางร่างกายนานกว่า หรือมากกว่าทางเพศ และต่อไป จะเป็นปลาที่ตัวใหญ่กว่าตัวอื่นๆ มาก
ทบทวนกันอีกครั้ง
งานหลักในช่วงเดือนแรกของการเลี้ยงลูกปลา คือ ผลักดันการเติบโต โดยการเลี้ยง, การให้อาหารแบบผลักดันด้วยอาหารที่มีคุณภาพ, การถ่ายน้ำ, การรักษาความสะอาด และการควบคุมอุณหภูมิ การคัดปลาด้อยออกต้องทำตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ปลาที่ดี มีพื้นที่ว่างในตู้มากขึ้น และในเดือนถัดไป ลูกปลาจะนำไปเลี้ยงในตู้ที่ใหญ่ขึ้น และแยกเพศ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
1 ความคิดเห็น:
ชอบครับกำลังเริ่มเลี้ยง ละเอียดที่สุดเท่าที่ผมศึกษามาเลยครับ
แสดงความคิดเห็น