วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

การเลี้ยงปลาหางนกยูงของผม(เซียงชัย)




การเลี้ยงปลาหางนกยูงของผม( เซียงชัย )



เนื่องจากผมเป็นคนเรื่องปลาเป็นงานอดิเรกที่ไม่เน้นเรื่องการขาย การเลี้ยงจึงเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่ง และต้องการการเลี้ยงที่ได้ปลาที่สวยงามสมบูรณ์ ให้ได้ผลเป็นอย่างที่ใจอยาก ดังนั้นอะไรที่ทำให้ได้ผลเป็นที่ต้องการก็จะทุ่มเทเต็มที่ แต่ก็อยู่ในหลักสายกลางพอดีไม่มากเกินไป ในหลายๆเรื่องเราก็ต้องการบริหารจัดการที่ดี เริ่มตั้งแต่เรื่อง น้ำ ซึ่งถึอเป็นหัวใจหลักยิ่งกว่าอาหารเสียอีก อาหารดี น้ำไม่ดีก็ยากที่จะให้ได้ปลาที่ดีสมบูรณ์แข็งแรง จนถึงสวยงาม นี่เป็น หลักการที่ใช้จนได้ผลงานถ้วยพระราชทาน 2 ใบและโล่รางวัลอีกเกือบสิบรางวัล หลักการอีกอย่างที่ใช้คือเราเรื่องปลากัน มันควรเป็นอะไรที่ไม่ควรยากเกินไปซับซ้อนเกินไปจนกลายเป็นอะไรที่ลึกลับจนดูน่าเวียนหัว นี่เป็นการพักผ่อนที่ควร ง่ายๆ กลับมาคุยกันเรื่อง น้ำ ต่อ


ตอนที่ 1 น้ำต้องเหมาะสมที่จะใช้เลี้ยงปลา ก็เพียงขอให้ปราศจากคลอรีนหรือสารที่เป็ฯพิษกับปลาและมีอุณหภูมิที่ไม่แตกต่างกับน้ำเดิมในตู้มากจนปลาช็อคน้ำ นั่นก็เพียงพอแล้ว
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมี 2 แบบ
แบบที่ 1 ถ่ายเพื่อรักษาระดับของความสอาด อันนี้ถึอหลักการ ถ่านน้อยๆถ่ายเป็นประจำ ควรอยู่ในระดับ 20 - 50 เปอร์เซ็นต์ต่อครั้ง ถามว่าถ่ายได้บ่อยแค่ไหน ตอบได้ว่าถ้าน้ำใหม่ที่คุณเตรียมไว้มีคุณภาพอย่างที่บอกตอนต้น คือ ปราศจากคลอรีน/อุณหภูมืไม่แตกต่างมากหรือถ้าเท่ากันยิ่งยอดเยี่ยม ผมเคยถ่ายเช้าเย็นด้วยซ้ำ แต่เปลืองค่าน้ำ-ค่าไฟน่าดู ก็โอเคเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่พุ่งอย่างรวดเร็วของปลาและความคึกคักสดชื่อของปลาและความสุขความพึงพอใจของเรา แต่ถ้สให้ไม่เหนื่อยยากเกินไปที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ก็ อาทิตย์ละ 1 ครั้งถ่ายเปลี่ยนน้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ ทุกอาทิตย์ ถ้ารู้ตัว ว่าเสาร์อาทิตย์จะไปฮอลิเดย์ก็ถ่ายวันศุกร์แล้วงดอาหารไปเลย กลับมาค่อยว่ากันใหม่
แบบที่ 2 แบบที่ถ่ายพร้อมทำความสะอาดตู้ อันนี้ต้องให้ความระมัดระวีงนิดหน่อย จะขัดล้างตู้ทั้งที่มีปลา อยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าย้ายปลาออกก็ทำงานง่ายหน่อยแต่ก็ช้าหน่อย แต่ที่ที่บ้านทำอยู่ก็ล้างตู้ทั้งที่มีปลาอยู่นั่นแหละ ขัด ลูบตู้เพื่อเอาคราบที่เกาะตู้ออก แล้งทิ้งไว้ให้ตะกอนต่างๆนอนก้นตู้ ส่วนเราก็ไปทานข้าวเช้าอาบน้ำให้เรียบร้อย เพราะ ปกติวันอาทิตย์ก็ตื่นมาก็ไปทำก่อนเลยไม่งั้นเดี๋ยวหมดไฟขยัน ลูบตู้เสร็จก็พักยก พักพักยกเสร็จพี่เลี้ยงให้น้ำให้ท่า เรียบร้อย ก็มาต่อ ดูดน้ำ-เปลี่ยนน้ำก็ทำ 2 แบบ แบบธรรมดาก็ถ่ายออก 70 - 80 เปอร์เซ็นต์เรียกว่าชิดหลังปลา เติมน้ำใหม่ ปลาอาจลอยหัวนิดนึงเพราะน้ำที่ผ่านเครื่องกรองถ่านคาร์บอน ทั้งอ็อกซิเจนและคลอรีนจะถูกดูดซึมไปหมด ปลาก็จะลอยหัวที่ผิวน้ำบ้างไม่เป็นไรเดี๋ยวก็หาย พอทำครบเสร็จหมดทั้งบ้าน ก็สบายแล้วทั้งคนทั้งปลา งดอาหารมื้อเช้าไปเลย เย็นๆ ค่อยให้อาหาร ไมควรให้อาหารในมื้อเช้านี้ ให้มันปรับตัวให้เรียบร้อยดีก่อน คุณจะใส่เกลือในน้ำหรือไม่ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ปลาตาดำหรือตาแดงก็ตาม การขจัดคลอรีนสำหรับคนที่ไม่มีเครื่องกรองหรือไม่สดวกที่จะเก็บกักน้ำไว้ได้มากพอ คุณอาจ ให้ อะควอคอน หรือไม่ก็ใช้ ไฮโปร ไปเลยจะแก้ปัญหานี้ได้จะเอาแบบใส่ในตู้ปลา พร้อมน้ำก็อกหรือจะผสมกันน้ำก็อกก่อน ค่อยเอาน้ำสำเร็จมาใส่ตู้ปลาอีกทีก็ได้ ผมเคยทำมาแล้วทั้ง 2 แบบ แต่ถ้าไม่อยากทารุณกับปลามากนักก็ผสมนอกตู้ก่อน แล้วค่อยเอาน้ำที่แก้คลอรีนแล้วไปใช้ ถามว่าผสมเสร็จต้องทิ้งไว้หรือรอนานแค่ไหน ก็แค่ 3 - 5 นาทีก็ โอเคแล้วหละ
การเลี้ยงปลาผมเน้นที่ น้ำ เป็นอันดับหนึ่ง เหมือนคนเราก็เน้นเรื่องคุณภาพอากาศที่หายใจ หลักกาเลี้ยง ปลาอีกอันนึงที่อยากเน้น คือ การซื้อปลา ขอให้แน่ใจว่าปลาที่คุณซื้อต้องไม่ใช่ปลาป่วยหรือเป็นปลาที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง เพราะถ้าเริ่มต้นไม่ดี ก็จะมีแต่ปัญหาไปตลอด แล้วจะไปได้ลูกได้หลานเป็นปลาที่สวยงามแข็งแรงได้อย่างไร ก็ขอให้ไปอ่านกระทู้ * ปลาที่ห้ามซื้อ * ประกอบด้วนนะครับ ตอนนี้ขอพักก่อน ตอนต่อไปจะมาว่าเรื่อง

* อาหารและการให้อาหาร *
ตอนที่ 2 อาหารและการให้อาหาร
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูงที่บ้านผมจะใช้แต่ อาทีเมียเป่า สาเหตุที่ใช้แต่อาทีเมียมันมีเหตุผลครับ แต่ก่อนก็ใช้มาทุกอย่างแต่ก็มีปัญหาอยู่หลายอย่างเช่น ไรแดง ถ้าไม่พูดถึงเชื้อโรคและสิ่ง ปนเปื้อนต่างๆแล้ว การซื้อก็มีปัญหาหลายอย่างคือ การหาซื้อมีอยู่จำกัดไม่มีทั่วๆไป ถ้าให้เปอร์เซ็นหน่อยก็ต้องไปจตุจักร บางทีก็มี บางทีก็ไม่มี บางทีก็ยังไม่มาส่งต้องรอ ที่จริงก็ไม่รู้ต้องรอนานแค่ไหน ค่าใช้จ่ายมีทั้งค่าจอดรถ ค่าเดินทาง ค่า ทางด่วน บางทีซื้อไรแดง 60 บาท ค่าทางด่วนไปกลับก็ปาเข้าไป 80 บาท บวกค่าจอดรถอีก 20 บาท ก็ 100 บาทไปแล้ว จะใช้ไรทะเลตัวแก่ก็คุณค่าอาหารต่ำกว่า ส่วนหนอนแดงไส้เดือนน้ำก็เหมือนอาหารสดตัวอื่นๆ แต่ที่แน่ๆคือการเก็บรักษา เก็บได้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ต้องพูดถึงการที่อาจมีเชื้อโรคหรือพยาธิ์ติดมา เลยคิดว่าน่าจะใช้อาทีเมียเป็นไข่มาเป่าเอาเอง เพราะ
1 ซื้อมาครั้งหนึ่งได้หลายๆกระป๋อง ๆหนึ่งสำหรับผมใช้ได้ 1 อาทิตย์ เดือนนึงก็ซื้อครั้งหนึ่ง ตัดปัญหาเรื่อง เวลาที่ยุ่งยาก ค่าทางด่วน ค่าน้ำมันรถ ค่าที่จอดรถ ก็นับว่าเอาค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาซื้ออาทีเมียแทนก็ยังเหลือเงินอีก
2 การเก็บรักษาเก็บได้นานเพียงเป่าไว้ล่วงหน้า 24 - 36 ชั่วโมง แล้วแต่ยี่ห้อและการจัดการของเราเอง
3 การเป่าก็ง่าย ดูข้างกระป๋องแล้วทำตามได้อาทีเมียตัวอ่อนให้ปลากินได้แน่นอน ได้ทั้งลูกปลาและปลาใหญ่ ลูกปลาก็กินเยอะหน่อย ปลารุ่นก็กินได้มากหน่อย ปลาใหญ่ปลาแก่ก็กินน้อยหน่อย เพราะมันใช้พลังงานไม่มากแล้วและ โปรตีนโดยเฉพาะไขมันมีมากปลาใหญ่ไม่ควรกินมากเดี๋ยวอ้วนไป พุงป่องไม่สวยงาม
4 คุณค่าทางอาหารสูงเพราะเหมือนปลากินไข่แดง เพราะอาทีเมียที่พึ่งเกิดใหม่มันจะมีถุงไข่ติดตัวอยู่ การกินอาทีเมียตัวอ่อนเท่ากับกินไข่แดงนั่นเอง * โดยสรุป ผมถีอว่า อาทีเมียเป่า ถูกกว่า อาหารซองเสียอีก *
การให้อาหาร ( อาทีเมียเป่า ) เพื่อความสดวกเพราะกลางวันต้องทำงานดังนั้นวันนึงจะให้กินแค่มื้อเดียว มื้อเช้า วันอาทิตย์เช้า เปลี่ยนน้ำ ก็หมดไปครึ่งวันแล้ว เลยต้องเลื่อนไปกินเอาบ่าย - เย็น ถ้าจะให้การเลี้ยงดียิ่งขึ้นถ้าทำได้ 2 - 3 วันเปลี่ยนน้ำเพิ่มอีกสักหนึ่งครั้ง ทำให้น้ำfresh มากขึ้นปลาก็จะสดมากขึ้น โตเร็วมากขึ้น ของเสียเศษอาหารก็จะถูกลดจำนวนลงทำให้ความเสี่ยงที่ปลาจะเป็นโรคยิ่งลดโอกาสน้อยลง พวกของกินเล่นเช่น สาหร่ายสไปรูริน่า อาจให้บ้างถ้าปลาส่ออาการหิวหรือมีความต้องการ ส่วนอาหารแห้งอาหารสำเร็จรูปอาจให้บ้างแต่ไม่บ่อย แต่ทุกครั้งให้แน่ใจว่ามันกินหมดจริงๆไม่งั้นเศษอาหารที่เหลืออาจก่อให้เกิดปัญหา ให้มันได้

คราวต่อไปจะคุยกันเรื่อง * การเป่าไข่อาทีเมียเพื่อใช้เลี้ยงปลา และการฟอกไข่อาทีเมีย *
การเป่าไข่อาทีเมียเพื่อใช้เลี้ยงปลา และการฟอกไข่อาทีเมีย
สำหรับวันนี้เท่ากับเราจะมาคุยกัน 2 เรื่อง
เรื่องที่ 1 การเป่าไข่อาทีเมียเพื่อใช้เลี้ยงปลา
เรื่องที่ 2 การฟอกไข่อาทีเมีย ( DECAPTURE )
เอาหละเรามาเริ่มเรื่องแรกกันก่อน เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องออกนอกบ้าน เปิดกระป๋อง เติมน้ำใส่ภาขนะที่จะใช้เป่าไข่อาทีเมีย ใส่เกลือกะเท (ไม่ควรใช้เกลือซองหรือเกลือที่ใช้ขายเพื่อคนกิน เพราะ 1 แพง 2 มักมีการเติมไอโอดีน ซึ่งไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป่าไข่อาทีเมีย) หลังจากนั้นก็ตักไข่อาทีเมียใส่ลงไปเอาหัวอ็อกใส่ตามหรืออาจปล่อยทิ้งไว้สัก 30 นาทีก่อนก็ได้ ( เพื่อให้ไข่ดูดน้ำให้เต็มที่จะได้เป่าง่ายขึ้น ) อาการที่เป่าก็ไม่ต้องแรงจนน้ำระเบิดมากไปเดี๋ยวไข่กระเด็น หรือไม่ก็ลอยเกาะที่ขอบหมด การเป่าอากาศนั้นเพื่อให้มีการหมุนเวียนของน้ำที่ดีพอและสม่ำเสมอ สมันก่อนเลี้ยงไม่เยอะ ก็เป่าทีละ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้น้ำอย่างน้อย 1 ลิตร แต่ถ้ามากกว่าก็จะดีกว่า แต่ตอนนี้ให้กินวันนึงมื้อเดียวก็ใช้วันละ 5 ช้อน (ช้อนกินข้าว/ช้อนซ่อม ) ขวดที่ใช้ก็เป็นขวดน้ำสิงห์แบบ 6 ลิตร ใช้เกลือ 1 ช้อนขาว ( ซ้อที่ร้านป้าตุ๊ก จตุจักร ) เทคนิค ที่ใช้อีกอันที่อยากจะแนะนำ คือตอนที่เริ่มเป่า 12 ชั่งโมงแรก ก็ใส่น้ำเว้นจากคอลงมาก่อน คือให้เหลือพื้นที่ไว้เติมน้ำ พอ เป่าไปได้ 12 ชั่วโมงก็เติมน้ำเพิ่มจะได้เก็บพวกที่ติดอยู่ที่ขอบบนให้หมด ( ขี้เหนียวหนะ )
ทีนี้เรามาพูดถึงคนที่เป่าน้อยๆ บ้าง อ้ออย่างไรก็ตามขอแนะนำใช้กระชอนร่อนกรองตัวอาทีเมีย ให้ซื้อไว้เพราะใช้ได้ดีและสดวกดี ( ซื้อได้ที่ร้านป้าตุ๊ก ที่จตุจักรเหมือนกัน มีทั้งแบบอันเล็กและอันใหญ่ อันใหญ่แต่ก่อนก็ซื้ออันละ 200กว่า - 300กว่าบาทจำไม่ได้แน่นอนนัก ) คนที่ใช้น้อยๆคุณสามารถเป่าไว้ กรองแล้วคุณสามารถแบ่งส่วนหนึ่งเก็บไว้ ให้กินอีกมื้อได้ โดยเตรียมน้ำ + เกลือไว้แล้วเอาอาทีเมียที่เป่าและกรองแล้วใส่ไว้เป่าอ็อกต่อเก็บไว้ได้อีก 12 - 18 ชั่วโมง ไม่อยากให้นานกว่านั้น ทีนี้ย้อนหลังนิดนึง พอเป่าไข่ได้เวลาซึ่งเวลาก็แล้วแต่ยี่ห้อบางยี่ห้อก็ว่า 24 ชม. บางยี่ห้อก็ว่า 36 ชม. แต่ดีที่สุดก็ 36 ชั่วโมง ก็เอาสายอ็อกออก ถ้าอยากจะให้มันลงมานอนก้นเร็วก็เอาอะไรบังแสงส่วนบนไว้เหลือช่อง ด้านล่างไว้ เพราะมันเป็นสัตว์ที่ชอบเล่นแสงสว่าง พอเราเปิดเฉพาะช่องด้านล่างไว้ เอาวางไว้ที่มีแสงสว่างมันก็จะลงมา เล่นแสงด้านล่างที่ก้นขวด เราก็เอาสายยางที่ใหญ่กว่าสายอ็อกมาดูดกาลักน้ำไปใส่ กระชอนกรองตัวอาทีเมีมไว้ แล้วแบ่ง ส่วนหนึ่งไปเป่าเลี้ยงต่อไว้กินมื้อหน้าได้ ส่วนที่จะให้กินก็อย่าลืมเอาน้ำราดล้างก่อนให้กินราดสัก 5 - 6 น้ำเพื่อล้างเอา สิ่งสกปรกและคราบโปรตีนออกไปน้ำในตู้ปลาจะได้ไม่เป็นเมือกง่ายๆ ทีนี้จะแนะนำเทคนิคอีกอย่างที่จะช่วยให้อาทีเมีย ที่เป่าไม่ติดไข่ที่ไม่ติดให้อีกนิดหนึ่งและเป็นการทำให้ไข่ติดได้เต็มที่มากขึ้น คือ ที่บ้านจะเป่า 36 ชั่วโมง พอเป่าได้ 24 ชั่วโมงก็จะกรองก่อน 1 รอบ แล้วเปลี่ยนน้ำใหม่ เป่าต่ออีกรอบ 12 ชั่วโมง ทีนี้ไข่ที่ยังไม่ฟักก็จะติดมากขึ้น และเปลือก ที่มักติดมากับตัวก็จะน้อยลง จะมีอีกส่วนคือไข่ที่เป่าไม่ติดซึ่งมักจะจมอยู่แล้วซึ่งแยกออกยากเพราะตัวอาทีเมียเราก็ล่อ ให้มันจมเหมือนกัน แต่กรณีนี้ผมแก้ปัญหาโดยการเป่าในรอบที่สอง ผมจะเป่าโดยใช้ถังน้ำแบบที่ขนาดใช้ล้างรถ ใช้น้ำ เท่าเดิม ใช้เกลือเท่าเดิม แล้วเป่าต่ออีก 12 ชม.ทีนี้เนื่องจากก้นถังมันมีพื้นที่กว้าง ไข่ฝ่อที่จมมันจะเกาะติดที่ก้นถัง เวลา เราจะเอามากรองเราก็เทออกพอถึงก้นถังก็ค่อยๆรินออก ส่วนที่เป็นเปลือกสีน้ำตาลเราก็ไม่เอามาใช้ ส่วนเปลือกไข่ซึ่ง เป็นส่วนที่ลอกเป็นฝาอยู่ผิวน้ำเราเอามันออกตั้งแต่กรองรอบแรกแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาแจกจ่ายให้ปลากินแล้ว อ้อ อย่าลืม ล้างสัก 5 - 6 น้ำก่อนนะครับ
เทคนิคที่ 2 ใช้กับกรณีหน้าหนาวหรือหน้าฝนที่ฝนตกชุก อุณหภูมิต่ำ การเป่าไข่อาทีเมียจะต้องใช้เวลานานขึ้น เพราะอากาศมันเย็น เราสามารถแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ โซเดียมไบคาบอเนตหรือเบคกิ้งโซดา ไม่ต้องตกใจว่าเคมีอีกแล้ว ฉันไม่ได้เรียนเคมีเหมือนเฮียนี่ ไปซุเปอร์มาเก็ตที่ไหนก็ได้ไปที่ชั้นเครื่องปรุงรส ไปดู ที่ชั้นรู้สึกจะเป็นของเบสฟู๊ด กล่องนึง ไม่กี่สิบบาท เวลาเป่าใส่เกลือแล้วก็ใส่เบคกิ้งโวดาลงไปนิดหน่อยเพื่อให้น้ำเป็นด่าง ไข่ก็จะนิ่มลอกตัวเป็นตัวง่ายขึ้น
อ้อลืมบอกเวลาที่ทิ้งให้ตัวมันจมน้ำถ้าไม่อยากยุ่งยากทำที่ปิดบังแสงสว่างก็ไม่ต้องทำ เอาอ็อกออกทิ้งไว้สัก 30 นาทีมันก็จมเองเหมือนกัน ทีนี้ก็ดุดได้เหมือนกัน ส่วนสายดูดก็ไปซื้อที่ร้านฮาร์ดแวร์มีขายสายแบบสองหุนหรือหุนครึ่ง ไม่แน่ใจใช้ได้ทั้งนั้น เมตรละ ไม่กี่บาทไม่ถึงสิบบาทใช้ได้เป็นสิบปีถ้าไม่หายเสียก่อน
เอาหละทีนี้ปลาก็อิ่มหนำสำราญเรียบร้อยแล้ว ใหม่ๆคนที่พึ่งเริ่มทำ อาจรู้สึกตื่นเต้นนิดหน่อยกลัวเป่าแล้วไม่เป็นตัว รับรองเป็นแน่นอนครับ ขออย่างเดียวขอให้ซื้อที่เปอร์เซ็ฯดีหน่อย แป็นของที่ใหม่ๆหน่อย เคยซื้อของที่ไม่ดีเหมือน กันเป่าแล้วไม่ดีเลย กากก็เยอะน้ำขุ่นสกปรก ถ้าเป็นของที่มีคุณภาพ เวลาทิ้งให้นอนก้น เปลือกจะแยกอยู่ที่ผิวน้ำ ตัวจะจม อยู่ด้านล่างเป็นสีแดงบ้าง ชมภูบ้าง เหลืองบ้างแล้วแต่แหล่งแล้วแต่ยี่ห้อไม่เป็นไรใช้ได้เหมือนกันหมด ส่วนที่เหลือง ตรงกลางจะเป็นน้ำใส ถ้าเป็นอย่างนี้เรียกว่า กู๊ด ชั้นหนึ่ง เอาหละเป็นอันจบ พรุ่งนี้จะถ่ายรูปอุปกรณ์ง่ายๆที่ใช้อยู่ มาให้ดุใช้มา 3 - 4 ปีแล้ว ส่วนเรื่องการฟอกไข่อาทีเมียจะมาเล่าให้ฟังอีกที แต่บอกล่วงหน้านะครับ ว่าใช้เลี้ยงได้เฉพาะปลารุ่นขึ้นไป เท่านั้นนะครับ
เอาหละทีนี้เราก็จะมาพูดกันเรื่อง การฟอกไข่อาทีเมีย( DECAPTURE )
จุดประสงค์ของการฟอกไข่อาทีเมีย ก็คือ เพื่อให้ปลากิน ทีนี้ถามว่าทำไมไม่ให้ปลากินไปเลยไม่ต้องฟอก อันนี้ ทุกคนคงตอบได้ว่า ทำไม่ได้เพราะเปลือกไข่มันแข็งปลา ไม่กิน ผมขอยืนยันนั่งยันนอนยัน ว่า ปลาไม่กิน ถึงแม้จะเป็นเปลือกไข่ติดติดมาตอนที่เราเป่าไข่อาทีเมียก็ตาม ปลาฉลาดพอที่จะไม่กิน อย่างมากก็งับแล้วก็คายออก
เอาหละมาต่อเรื่องเดิมกัน ทีนี้ก็มีคำถามว่าถ้าอย่างนั้นจะทำให้ปลากินได้อย่างไร ถ้าจะไม่เป่าไข่อาทีเมีย ก็
ตอบว่าก็ต้องหาวิธีลอกเปลือกไข่อย่าให้มันแข็งปลาก็กินได้ วิธีการทำให้เปลือกไข่มันลอกตัวออกจนถึงระดับที่ไม่แข็งปลา สามารถกินได้เราเรียกว่า การฟอกเปลือก เราสามารถทำได้โดยใช้ ไฮเตอร์ ( สีอะไรก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้แบบมีกลิ่นหอม เพราะอาจมีผลข้าเคีอง วิธีทำก็เอาแก้วหรืดภาชนะที่ทนความร้อนได้เพราะเวลาที่มันฟอกเปลือกมันจะเกิดความร้อนขึ้น พอได้มาแล้วก็เอาไข่อาทีเมียใส่ลงไปอาจทำเผื่อไว้หลายมื้อได้ เพราะสามารถเก็บแช่ตู้เย็นได้ แต่ก็ไม่ควรนานนัก
เตรียมช้อนสแตนเลสไว้ใช้คน เอาไฮเตอร์เทใส่พอท่วมนิดหน่อยแล้วรีบเอาช้อนคน จะเกิดความร้อนขึ้นไม่ต้องตกใจ คนไปเรื่อยๆแป๊บเดียวไข่อาทีเมียจะเริ่มเปลี่ยนสีจากน้ำตาลมาเป็นชมภูหรือส้มเหมือนตัวอาทีเมียที่เป่าเป็นตัวแล้ว หรือไม่ถ้าจะให้ชัดก็สีแบบเดียวกับไข่กุ้งไข่ปู พอถึงจุดนี้ก็เอาน้ำเทใส่เพื่อให้น้ำยาเจือจาง ล้างหลายๆเที่ยวแล้วเทใส่กระชอนร่อนไรทะเล( ที่ว่าซื้อที่ร้านป้าตุ๊ก ) เทใส่ตอนที่ล้างเจือจางแล้วนะครับถ้าเทใส่ตอนร้อนกระชอนอาจมีปัญหาได้ พอเทใส่แล้วก็อาน้ำก๊อกล้างหลายๆครั้งจนหมดกลิ่นน้ำยาเป็นอันใช้ได้ ก็เอาไปเลี้ยงปลาได้ ที่เหลือเก็บใส่ถุงใส่กล่องไปแช่ตู้เย็นเก็บไว้ใช้มื้ออื่นต่อๆไปได้ ถ้าจะเก็บนานๆก็แช่แข็งไปเลย
อย่างที่บอกนะครับ การฟอกไข่อาทีเมีย เพื่อใช้เลี้ยงปลา สามารถใช้เลี้ยงได้เฉพาะปลาโตแล้วประมาณไซค์ปลารุ่นเท่านั้น เพราะระบบการย่อยอาหารมันดีเพียงพอแล้ว ปลาเล็กปลาแรกเกิดยังต้องใช้วิธีเป่าไข่อาทีเมียอยู่ ตอนนี้เราจะมาว่ากันต่อเรื่องการเลี้ยงปลาในแต่ละรอบ 2 อาทิตย์ เอาเป็นว่าเรามาเริ่มตั้งแต่เมื่อเราซื้อปลาชุดแรกเข้าบ้านเลยละกัน เผื่อให้คนที่เริ่มเลี้ยงจะได้ตามทัน เอาเป็นว่าขอท้าวความจากกระทู้เรื่อง ย้ายปลาไปบ้านใหม่เลยละกันเพราะมันก็วิธีเดียวกันนั่นแหละ ว่ากันเป็นข้อๆ นะครับ
1 เตรียมที่ + น้ำ ที่ใหม่ให้พร้อม
2 เตรียมน้ำที่จะแพ็คปลาให้ดี
3 ถ่ายน้ำ+งดอาหารอย่างน้อย 1 มื้อ
4 แพ็คปลาอย่าให้แน่น
5 น้ำที่ใช้แพ็คน่าจะใส่เกลือและยาเหลืองยี่ห้ออะไรก็ได้ แค่เล็กน้อยก็พอ
6 ปลาที่แพ็คแล้วอย่าตากแดด ควรไว้ที่ร่มๆ
7 เดินทาง
8 เมื่อถึงที่ใหม่ พอมีเวลาสดวกๆ แนะนำว่าควรเป็นช่วงเย็นหรือไม่ถ้าเวลาอีกนานจะถึงช่วงเย็น ก็เอาถุงปลา ลอยน้ำไว้สัก 1/2-ชั่วโมง 9 แกะถุง แบะปากถุงแขวนปากถุงไว้ที่มุมตู้ให้แช่น้ำไว้ทีนี้ไม่มีเวลาก็แช่ไว้ได้ตามสดวก
10 ถ้ามีเวลาที่จะจัดการ ก็เอาน้ำในตู้ใหม่ค่อยๆเติมสัก 30 นาที เติมสัก 1/2- 1 ถ้วย พอน้ำเริ่มสูงมากขึ้น ก็ดูดออก/เทออกบ้าง แล้วเติมต่อเป็นช่วงๆ อาจเป็น 15-30 นาที/ครั้ง กะว่าน้ำใหม่เติมเกินครึ่งหรือจนหมดเลยก็ได้ แล้วปล่อยปลาลงตู้ได้เลย
11 จากนี้ปลาก็จะ แฮปปี้ๆ
12 ถ้าไม่สบายใจก็อาจใส่ยาเหลืองอีกเล็กน้อย แต่ ถ้าทำอย่างนี้ไม่น่าจำเป็น ( ยกเว้นปลาป่วยอยู่แล้วเป็น ทุนเดิม ถ้าเป็นกรณีนี้ก็ ใส่เตตร้ากับเกลือ ดูกระทู้เดิมๆประกอบนะครับ มีวิธีใช้บอกไว้ )
พอปล่อยปลาลงเสร็จแล้ว พรุ่งนี้ค่อยเริ่มให้อาหารมื้อแรก พอให้มื้อแรกแล้วก่อนให้มื้อเย็นหรือมื้อต่อไปก็ขอให้สังเกตดูอาการด้วยว่า มันปกติดีหรือเปล่า ถ้ายังดีอยู่ก็ให้มื้อต่อไปได้เลย แต่ขอให้ดูด้วยปลามันอยากกินหรือเปล่าถ้าไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องให้กิน สำหรับผมแล้วคิดว่าและที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ถ้าเลี้ยงด้วยอาทีเมียเป่าผมว่าวันละมื้อก็พอครับ
เทคนิคอีกอันที่ผมยึดถือคือ ปลานี่เราต้องฝึกให้มันมีนิสัยอยากกินอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นตู้ไหนที่ไม่แสดงอาการ กระตือรือร้นที่อยากจะกิน ผมเรียกว่าตะกายหน้าตู้ รับรองได้ว่ามื้อนั้นอดกิน ให้ตู้ที่แสดงอาการต้องการกิน กินไป จะได้เป็นการสอนกันไปเอง มื้อหน้าจะได้แสดงอาการที่ดีขึ้น
การถ่ายเปลี่ยนน้ำเราอาจถ่ายเป็นอาทิตย์ละ 1 - 2 ครั้งๆละ 30 - 50 % ก่อนถึงเวลาที่จะถ่ายน้ำอาเป็นพรุ่งนี้ วันนี้เราก็เอาฟองน้ำลูบตู้ ทิ้งไว้ให้มันนอนก้น พอถึงพรุ่งนี้ที่เราตั้งใจจะถ่ายน้ำ ก็เอาสายยางถ่ายน้ำดูดที่ก้นตู้ก็จะเก็บสกปรกออกไป จากนั้นก็เติมน้ำให้ถึงระดับปกติ ส่วนจะเติมเกลือหรือไม่ก็แล้วแต่ครับได้ทั้งนั้น แต่สำหรับผมแล้วเกลือจะใช้ต่อเมื่อปลามีอาการที่ต้องใช้เท่านั้น
หัวใจของการเลี้ยงปลาไม่ว่าปลาอะไรอยู่ที่ความสะอาดของตู้ปลา เครื่องกรอง น้ำ ปกติผมจะล้างตู้ปลาเดือน ละ 1-2 ครั้งขึ้นอยู่กับความสกปรกว่าเร็วหรือช้า ถ้าปลาแน่นหรือให้อาหารมากแน่นอนของเสียและเศษอาหารก็ย่อมมากเป็นธรรมดา ถ้าคนที่ขยันอาจถ่ายน้ำทุกวันหรือวันเว้นวันก็ได้ ที่สำคัญน้ำที่ใช้ต้องไม่มีคลอรีนและอุณหภูมิต้องไม่ห่างกัน ถ้าเท่ากันยิ่งดี ทีนี้ปัจจัยที่จะเลี้ยงปลาได้สวยงามเราก็ครบทุกอย่างแล้ว เพราะถ้าเป็นอย่างนี้
1 ปลาที่ซื้อเราก็เลือกสายพันธุ์ที่ดี และไม่ใช่ปลาที่ป่วย
2 น้ำที่ใช้ก็ปราศจากคลอรีนและสารที่เป็นพิษกับปลา
3 อาหารเราก็ใช้อาหารที่ดีมีประโยชน์กับปลา
4 เมื่อทำอย่างนี้แล้วปลาเราก็ ป่วยยากมาก การเติบโตก็เป็นไปอย่างดี สีสรรก็ไม่เกิดการสดุดเพราะปลาป่วย
5 ปัญหาก็พอให้ทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเจ็บป่วยเกือบทั้งหมดมาจากความสกปรกนั่นแหละ
เป็นอันว่าบทความเรื่องสั้นเรื่องนี้ขอจบตอนเท่านี้ครับ สำหรับเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยในเรื่องการเลี้ยงดู

ไม่มีความคิดเห็น: