วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

การใช้เกลือแกง เพื่อรักษาและควบคุมโรค

การใช้เกลือ(แกง)กับการรักษาป้องกันโรค
(เกลือทะเล/การใช้เกลือเป็นตัวยับยั้ง-ต้านเชื้อโรค/เวลาใดที่เราควรใช้มัน/ ใช้ในจำนวนเท่าไร ) สำหรับการเลี้ยงปลาไม่ว่าจะเป็นปลาน้ำจืดอะไร เกลือ ถือเป็นยาตัวหนึ่ง แต่เราจะต้องทราบว่าเมื่อไหร่จึงควรจะใช้เกลือ และ ใช้อย่างไร จำนวนที่ใช้ ใช้เท่าไหร่ การใช้เกลือทะเล สามารถใช้เป็นวิธีการ รักษาโรคได้วิธีหนึ่ง และ ถือเป็นยาป้องกันโรค หากใช้ในจำนวนที่ถูกต้อง ในบางฟาร์มการใช้เกลือเพื่อการ ป้องกันโรค จำนวนที่ใช้ทั้งเดือน ใช้มากกว่าที่ใช้เพื่อการเป่า/เพาะเลี้ยงอาทีเมี่ยเป็นหลายเท่าตัว
ในกรณีที่ใช้เกลือเป็นยารักษาโรค คุณต้องอย่าลืมว่า เมื่อปลาหายดีแล้ว คุณก็ควรหยุดใช้มัน แน่นอนทุกคนยอมรับว่า " ยาถ้าไม่ใช้จะดีซะกว่า " เพราะ แน่นอนมันมีต้นทุน และอย่าลืมปลาก็เหมือนคน ยาไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ เพราะหากมันป่วยอีก คุณจะไม่มียาให้ใช้อีก กับเชื้อที่ดื้อหรือมีภูมิต้านทานยาแล้ว

PREVENTION OF INFECTION SYMPTOM/กรณีป้องกันการติดเชื้อ
ในเกลือมีคุณลักษณะที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ และ มีผลในการต่อต้านแบคทีเรีย ทั้งยังมีผลในการยกระดับความสามารถของปลาที่จะต้านทานเชื้อด้วย ในการใช้เกลือ เราควรใช้เมื่อ
1. เมื่อนำปลามาจากที่อื่น
2. เมื่อมีการจับคู่ปลา ปลาตัวผู้และปลาตัวเมียซึ่งมาจากต่างตู้กัน เมื่อนำมันมาเข้าคู่ในตู้เดียวกันก็ควรใช้เพราะ ปลาที่มาจากต่างตู้กัน จะมีสิ่งแวดล้อม , ความต้านทานโรคที่ไม่เท่ากัน ปลาที่มีความต้านทานที่นอยกว่าจะสามารถติดเชื้อจากตัวที่มีความค้านทานที่สูงกว่าได้ จึงควรป้องกัน การติดเชื้อเข้าหากันนี้ ในกรณีแยกลูกปลาออกจากตู้พ่อแม่ก็เช่นกัน บ้านเราเรียกว่า " กันช้ำ "
3. กรณีย้ายลูกปลาหรือปลาเล็กออกมาก็ควรป้องกันการป่วยจากการ แยก , ย้าย ,การคัดปลา 4. กรณีคุณภาพน้ำไม่ดี หากวันที่คุณเปลี่ยนน้ำปลา ปลาเกิดอาการไม่ดี ปลาว่ายไถลไปมากับตู้ปลา
5. กรณีต้องเอาปลาเดินทางไปข้างนอก ก็ควรใช้เกลือ เพื่อการป้องกัน ช่วยให้ปลามีความเสถียรของภูมิป้องกัน
6. หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ปลาเครียด การใช้เกลือเป็นการช่วยลดความเครียดของปลา
ปริมาณที่ใช้
1. ใช้เกลือ 0.5 % หรือ 50 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร
2. พอเข้าอาทิตย์ที่ 2 ถ่ายน้ำออก 1/3 เติมน้ำให้เท่าเดิม
3. พอเข้าอาทิตย์ที่ 3 ถ่ายน้ำออก 1/3 เติมน้ำให้เท่าเดิม ตอนนี้จะเหลือเกลืออยู่เพียง 1/6 ของตอนเริ่มต้น เมื่อเข้าอาทิตย์ที่ 4 ถ่ายน้ำอีกรอบ ก็แทบจะไม่เหลือเกลือแล้ว

REMEDY OF INFECTION SYMPTOM / วิธีการแก้ไขอาการโรคจากการติดเชื้อ
อย่างทีได้อธิบายตอนต้นแล้ว เป็นเรื่องของ " ความพยายามที่จะป้องกัน " ปลาของคุณมักจะเริ่มป่วย เมื่อคุณเริ่มไม่มีเวลา จัดการกับสิ่งที่ต้องทำตามเวลาที่ควรทำ อาจเรียกว่า
SICK IN THE SICKNESS OF YOUR TIME
เวลาที่คุณจะเห็นอาการเริ่มต้นของการเจ็บป่วย หรือผิดปกติ ตั้งแต่ต้นๆ เรียกง่ายๆ ว่า " เห็นอาการเริ่มต้นของการเจ็บป่วย/ผิดปกติ " ไม่ควรปล่อยถึงระดับที่ต้องใช้ยา ยาเองก็มีราคาแพง ผู้ขายยาก็ไม่กล้าและไม่เคยมีใครรับประกันตุณว่า ใช้แล้วจะหายชัวร์แน่นอน ทุกครั้งที่ใช้ยานั้นๆ ถ้าคุณเห็นอาการตั้งแต่ต้น อาจทำให้คุณสามารถจัดการกับมันได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษาโรค
ในการสังเกตอาการ / สันญานของอาการเริ่มต้นของการเจ็บป่วย
คุณควรพยายามสังเกตและฝึกสังเกตให้คุ้นเคย เช่น
- ปลาที่ว่ายเอาตัวไถกับตู้หรือสิ่งของ
- เมื่อหางที่เคยกางองศาดีๆ กลับเริ่มหุบลง/ลีบ ลง
- อาการที่ปลาลอยหัวที่ผิวน้ำ
- อาการที่ปลาที่เคยว่ายอย่างมีชีวิตชีวา กลับมีอาการถดถอยว่ายอย่างเฉื่อยชา
สิ่งเหล่านี้เป็นอาการแสดงออกในเบื้องต้น แต่ก็ไม่ใช่โดยตรงเสียทีเดียว เราอาจใส่เกลือทะเล ( 50 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ) แล้วสังเกตอาการของมันอีก 2-3 วัน ถ้าไม่สามารถสังเกตได้ว่าอาการ ของมันดีขึ้น ก็ให้ใส่เกลืออีกในปริมาณที่เท่าเดิม ( เป็นครั้งสุดท้าย ) ซึ่งตอนนี้เท่ากับจะมีความเค็มของเกลืออยู่ที่ระดับ 1% ความเค็ม การพบอาการแต่เนิ่นๆ ทำให้เราสามารถค้นพบการเจ็บป่วยตั้งแต่เริ่มต้น เมื่ออาการต่างๆดีขึ้นหรือลดลง นี่ก็เป็นการรักษา , บำบัด , ป้องกันการเจ็บป่วนส่วนใหญ่ของโรค หรือพูดได้ว่า เราสามารถจัดการ/ควบคุมเชื้อ/โรคที่อาจ เกิดขึ้นได้ด้วยการพบเห็นอาการตั้งแต่เริ่มแรก และ ไม่ได้ละเลยมันไป มันเป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัย ในการที่จัดการกับอาการเจ็บป่วยที่ล่าช้า อย่างน้อยก็เป็นการป้องกันการแพร่กระจายของการเจ็บป่วย
การแยกอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้กับตู้หรือปลาที่ป่วย การล้างฆ่าเชื้อสิ่งของที่ใช้กับมัน สามารถทำได้โดยใช้ น้ำร้อน, สารฟอก ( bleaching agent ) เช่นด่างทับทิม หรือ สารฟอกขาวเสื้อผ้า ก็ได้ แล้วล้างให้สะอาดด้วยน้ำมากๆ ก่อนนำไปใช้งาน

ไม่มีความคิดเห็น: