วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

เลี้ยงปลาอย่างไรปลาถึงจะมีโอกาสเจ็บป่วยน้อยที่สุด




เลี้ยงปลาอย่างไรปลาถึงจะมีโอกาสเจ็บป่วยน้อยที่สุด


(พิมพ์ใหม่) เริ่มกระทู้โดย เฮีย siangchai
เริ่มต้นอยากให้รู้ LATERAL LINE กันก่อน เพราะการเจ็บป่วยของปลามาจาก


1. การเจ็บป่วย จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป ทำให้ปลาต้องปรับตัวอย่างมากจนทนไม่ไหวทำให้เกิดการเจ็บป่วย อันนี้เกี่ยวข้องกับ เส้นประสาทข้างตัวของปลา ( LATERAL LINE ) ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่คุณสมบัติพิเศษที่สามารถปรับตัวได้ดีสามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อยอยู่แล้ว แสดงให้เห็นว่ามันมีความสามารถในการปรับตัวสูงแต่ถึงอย่างนั้น การเลี้ยงดูของเราก็ยังมีโอกาสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกระเทือนปลาจนมันทนไม่ไหว ปลามีเส้นประสาทข้างตัวที่จะรับรู้การเปลี่ยนแปลงแล้วปรับตัวเพื่ออยู่ให้ได้ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้แก่


คุณภาพน้ำ


อุณหภูมิ


ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH )


ความหนาแน่น-ความถ่วงจำเพาะ ( ถ.พ )


ความเครียด


ส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงที่แน่นมากเกินไป


รองมาก็คุณภาพน้ำที่สกปรกมากจนเกินไป เกินจะทนทานไหวต้องพยายามปรับตัวการปรับตัวเหล่านี้ต้องทำให้ปลาต้องสูญเสียความสมดุลในร่างกายปลา ทั้งยังทำให้ปลาอ่อนแอ,ทรุดโทรม เปิดโอกาสให้ศัตรูภายนอกเข้ามาแทรกซึมแทรกซ้อนได้ง่ายๆ


2. เชื้อโรค ปกติเชื้อโรคมีอยู่แล้วในบรรยากาศในน้ำ แต่มันจะมีโอกาสแสดงฝีมือได้ เพราะเราเปิดโอกาสให้มันเอง การสร้างโอกาสเหล่านี้ เช่น ความสกปรก ความหมักหมม ของสิ่งสกปรก ที่จะกลายเป็นอาหารให้เชื้อโรคเหล่านี้ วิธีแก้วิธีหนึ่งคีอ ตัดวงจรอาหารนี้ วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การถ่ายน้ำ ดังนั้นเราก็ต้องหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป ดังที่กล่าวแล้วในข้อแรก เราอาจแก้ไขโดยการถ่ายน้ำแต่น้อยๆ แต่สม่ำเสมอเพื่อให้มันเคยชิน พูดง่ายๆ น้อยๆแต่บ่อยๆ อีกวิธีที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่น้อยกว่าคือการใแบคทีเรียที่ไม่ก่อให้เกิดโทษกับปลา แต่มันจะทำหน้าที่ กินเศษอาหารและของเสียที่เกิดจากตัวปลา นี่ก็เป็นการตัดวงจรอาหารของเชื้อโรค ทำให้มันเติบโตและก่อโทษกับลูกรักของเรา จากจุดนี้ จะสัมพันธ์กับข้อแรกที่พูดถึงความเครียดที่เลี้ยงปลาหนาแน่นเกินไป เพราะมันก็เกิดของเสียจากตัวปลาที่มากขึ้น , มากกว่า ทำให้เกิดอาหารให้เชื้อโรคมากขึ้น ซึ่งผลข้างเคียงก็คือ น้ำจะมีความสามารถในการดูดซับออกซิเจนไว้ในน้ำได้น้อยยิ่งขึ้น แถมความหมักหมมเหล่านี้ยังก่อให้เกิด แกสไนไตรท์ ซึ่งเป็นแกสพิษ ซึ่งสามารถฆ่าปลาได้โดยตรง ดังนั้นการใช้แบคทีเรียช่วยกินของเสียก็เป็นการช่วยได้ทางตรงและหลีกเลี่ยงการกระทบปลาจากการถ่ายน้ำได้เช่นกัน การถ่ายน้ำธรรมดาๆ ก็เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงได้ดีเช่นกัน


ที่อยากแนะนำ คือ เราน่าจะมีภาชนะที่ใหญ่สักหน่อย ใส่จุลินทรีย์ไว้เป่าใช้โดยอาจใส่เกลือไว้ด้วย สิ่งที่ได้


1. ได้จุลินทรีย์ ไว้กำจัดของเสีย


2. ได้เกลือ ไว้ช่วยโอบอุ้มปลาไว้ ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างที่มากและรวดเร็วเกินไป


3. ได้น้ำ ที่อุณหภูมิเดียวกัน แต่ต้องหมายถึงไว้ในสถาณที่ที่เดียวกัน ไม่ใช่


อันนึงอยู่ในร่ม อันนึงตากแดด ถ้างั้นจบกัน ตายเด็ด เหงือกบาน