วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

เลี้ยงปลาอย่างไรปลาถึงจะมีโอกาสเจ็บป่วยน้อยที่สุด




เลี้ยงปลาอย่างไรปลาถึงจะมีโอกาสเจ็บป่วยน้อยที่สุด


(พิมพ์ใหม่) เริ่มกระทู้โดย เฮีย siangchai
เริ่มต้นอยากให้รู้ LATERAL LINE กันก่อน เพราะการเจ็บป่วยของปลามาจาก


1. การเจ็บป่วย จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป ทำให้ปลาต้องปรับตัวอย่างมากจนทนไม่ไหวทำให้เกิดการเจ็บป่วย อันนี้เกี่ยวข้องกับ เส้นประสาทข้างตัวของปลา ( LATERAL LINE ) ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่คุณสมบัติพิเศษที่สามารถปรับตัวได้ดีสามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อยอยู่แล้ว แสดงให้เห็นว่ามันมีความสามารถในการปรับตัวสูงแต่ถึงอย่างนั้น การเลี้ยงดูของเราก็ยังมีโอกาสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกระเทือนปลาจนมันทนไม่ไหว ปลามีเส้นประสาทข้างตัวที่จะรับรู้การเปลี่ยนแปลงแล้วปรับตัวเพื่ออยู่ให้ได้ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้แก่


คุณภาพน้ำ


อุณหภูมิ


ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH )


ความหนาแน่น-ความถ่วงจำเพาะ ( ถ.พ )


ความเครียด


ส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงที่แน่นมากเกินไป


รองมาก็คุณภาพน้ำที่สกปรกมากจนเกินไป เกินจะทนทานไหวต้องพยายามปรับตัวการปรับตัวเหล่านี้ต้องทำให้ปลาต้องสูญเสียความสมดุลในร่างกายปลา ทั้งยังทำให้ปลาอ่อนแอ,ทรุดโทรม เปิดโอกาสให้ศัตรูภายนอกเข้ามาแทรกซึมแทรกซ้อนได้ง่ายๆ


2. เชื้อโรค ปกติเชื้อโรคมีอยู่แล้วในบรรยากาศในน้ำ แต่มันจะมีโอกาสแสดงฝีมือได้ เพราะเราเปิดโอกาสให้มันเอง การสร้างโอกาสเหล่านี้ เช่น ความสกปรก ความหมักหมม ของสิ่งสกปรก ที่จะกลายเป็นอาหารให้เชื้อโรคเหล่านี้ วิธีแก้วิธีหนึ่งคีอ ตัดวงจรอาหารนี้ วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การถ่ายน้ำ ดังนั้นเราก็ต้องหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป ดังที่กล่าวแล้วในข้อแรก เราอาจแก้ไขโดยการถ่ายน้ำแต่น้อยๆ แต่สม่ำเสมอเพื่อให้มันเคยชิน พูดง่ายๆ น้อยๆแต่บ่อยๆ อีกวิธีที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่น้อยกว่าคือการใแบคทีเรียที่ไม่ก่อให้เกิดโทษกับปลา แต่มันจะทำหน้าที่ กินเศษอาหารและของเสียที่เกิดจากตัวปลา นี่ก็เป็นการตัดวงจรอาหารของเชื้อโรค ทำให้มันเติบโตและก่อโทษกับลูกรักของเรา จากจุดนี้ จะสัมพันธ์กับข้อแรกที่พูดถึงความเครียดที่เลี้ยงปลาหนาแน่นเกินไป เพราะมันก็เกิดของเสียจากตัวปลาที่มากขึ้น , มากกว่า ทำให้เกิดอาหารให้เชื้อโรคมากขึ้น ซึ่งผลข้างเคียงก็คือ น้ำจะมีความสามารถในการดูดซับออกซิเจนไว้ในน้ำได้น้อยยิ่งขึ้น แถมความหมักหมมเหล่านี้ยังก่อให้เกิด แกสไนไตรท์ ซึ่งเป็นแกสพิษ ซึ่งสามารถฆ่าปลาได้โดยตรง ดังนั้นการใช้แบคทีเรียช่วยกินของเสียก็เป็นการช่วยได้ทางตรงและหลีกเลี่ยงการกระทบปลาจากการถ่ายน้ำได้เช่นกัน การถ่ายน้ำธรรมดาๆ ก็เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงได้ดีเช่นกัน


ที่อยากแนะนำ คือ เราน่าจะมีภาชนะที่ใหญ่สักหน่อย ใส่จุลินทรีย์ไว้เป่าใช้โดยอาจใส่เกลือไว้ด้วย สิ่งที่ได้


1. ได้จุลินทรีย์ ไว้กำจัดของเสีย


2. ได้เกลือ ไว้ช่วยโอบอุ้มปลาไว้ ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างที่มากและรวดเร็วเกินไป


3. ได้น้ำ ที่อุณหภูมิเดียวกัน แต่ต้องหมายถึงไว้ในสถาณที่ที่เดียวกัน ไม่ใช่


อันนึงอยู่ในร่ม อันนึงตากแดด ถ้างั้นจบกัน ตายเด็ด เหงือกบาน

จุดพอดี...ทำให้ได้ปลาที่ดี




จุดพอดี...ทำให้ได้ปลาที่ดี




จุดพอดีทำให้ได้ปลที่ดี ตรงนี้พูดง่ายทำยากนะครับ ที่ว่ายาก ไม่ได้หมายถึงการทำ แต่หมายถึง...การหาจุดพอดี


1. น้ำ คุณภาพที่พอดี


- ไม่ใหม่เกินไป


- ไม่เปลี่ยนน้ำ มากเกินไป


- ไม่เก่าเกินไป น้ำที่เก่าเกินไปมักกัดหางกร่อน


- ไม่สกปรกเกินไป ความสกปรกมักทำให้เกิดการติดเชื้อโรคที่ระบบภายใน..


อันนี้รักษายากเสียด้วย


2. จำนวนปลาที่เลี้ยง


ไม่แน่นเกินไป แน่นไป จำนวนของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมาก็จะมาก พอของเสียมากไป น้ำก็จเสื่อมคุณภาพเร็ว วนเวียนกลับไปที่ข้อ1 เลี้ยงแน่น เลี้ยงได้ แต่ คอนโทรล ควบคุมยากต้องดูแลจัดการใกล้ชิจัดการที่ดีและคุณต้องสามารถแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีและอย่างได้ผล รับรองได้ว่า เหนื่อยจริงๆ มีปัญหาให้แก้ตลอดเวลา เลี้ยงให้บางลงอีกนิดดีกว่า พอปลาแน่น ของเสียเยอะ ออกซิเจนกลายเป็นน้อยไม่เพียงพอ ปลาเครียด เจ็บป่วยง่าย เวลาตายมักยกยวง หมดพันธุ์ไปเลย


มาต่อถึงปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการเลี้ยงปลาหางนกยูง คือ น้ำ


- คุณไม่มีปั้มลม คุณก็เลี้ยงได้ ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับปลาอื่น


- คุณไม่มีอาหารสด คุณก็เลี้ยงได้ อาจโตช้ากว่าคนอื่น แต่อาจมีข้อดีบางจุดที่ได้จากความโตช้า คือ ตายช้า


- คุณไม่มีพ่อแม่พันธุ์ที่เลิศ อยู่ในมือ คุณอาจขอแบ่งซื้อจากคนที่มี อาจจ่ายสูงกว่าในตลาดบ้าง แต่ชัวร์


- คุณอาจไม่มีตู้สวยๆ ชั้นสวยๆ คุณสามารถเลี้ยงอ่าง โถ กล่องพลาสติก อ่างแตก กาละมังรั่วทีเอามาอุดแล้ว แต่ถึงจะมีของเหล่านี้เลิศเลอแค่ไหน ถ้าคุณไม่สามารถรักษาคุณภาพน้ำได้ ก็จบ

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์


การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ โดย เฮีย siangchai

« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2005, 10:33:52 PM »
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

(credit to: แปลจากบทความของ GARY MOUSSEAU,WWW.GUPPYS.COM)
1. กรรมวิธีการคัดเลือกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในแผนการผสม,เพาะพันธุ์ที่ดี
2. รหัสที่ข้าพเจ้าใช้เพื่อพิจารณาพ่อแม่พันธุ์ คือ S C S

SHAPE

รูปร่าง,รูปทรง ถ้าไม่มีจุดนี้ก็ไม่สามารถมีพ่อแม่พันธุ์ที่ดีได้ และก็ไม่สามารถมีปลาระดับโชว์ได้ และอย่าเพาะเสียเลยจะดีกว่า !!!!

COLOUR

สีสัน เมื่อได้รูปร่าง,รูปทรงที่ดี ต่อมาเราก็จะพิจารณาถึงสีสรร ถ้าไม่ดูจุดนี้ก็จะไม่มีความก้าวหน้า ใดๆเลย

SIZE

ขนาด เรื่องของขนาดเป็นปัจจับที่ใหญ่ที่สุด เพื่อให้ได้ปลาระดับที่ดียิ่งขึ้น,ปลาระดับโชว์,ปลาระดับประกวด,ปลาระดับแชมเปี้ยน
3.การคัดเลือกตัวผู้ พ่อพันธุ์

3.1 ต้องคัดเลือกอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น

3.2 เลือกปลาที่ดีที่สุดเมื่ออายุ 3.5เดือน ประมาณ 6-8ตัว จากตู้ขนาด 10แกลลอน ซึ่งมาจากปลา 12-15ตัว แล้วนำปลาที่คัดได้นี้มาเลี้ยงในตู้ขนาด 2.5แกลลอน

3.3 การคัดเลือก คุณต้องซื่อสัตว์ต่อรหัส S C S

3.4 เมื่อคุณเพาะพันธุ์จากพ่อพันธุ์เหล่านี้จนเกิดความก้าวหน้า และชนะการประกวด คุณจะคัดเลือกยากยิ่งขึ้น เพราะปลารุ่นต่อๆไปจะดูคล้ายกันมากยิ่งๆ ขึ้น
4. การคัดเลือกตัวเมีย แม่พันธุ์

4.1 การคัดเลือกทำเหมือนตัวผู้

4.2 แต่ตัวเมียข้าพเจ้าจะเน้นปลาที่ อ้วน บึกบึน,รูปร่างสั้น,และมีโคนหาง(PEDUCLE)ที่ใหญ่,หนา

4.3 โดยทั่วไปสีไม่ค่อยสำคัญกับตัวเมีย แต่หางต้องมีลักษณะดูสะอาด สีไม่เปรอะ เป็นลักษณะที่เลือกไว้ เพราะตัวเมียเลือกไว้ ต้องนำพายีนส์ที่ดี และได้ดีด้วยดี
5. การจัดคู่ การจัดชุดเพื่อเพาะพันธุ์ สามารถทำได้เป็น

5.1 ตัวผู้ 2: ตัวเมีย 3 ในตู้ 5.5 แกลลอน

5.2 ตัวผู้ 3: ตัวเมีย 3 ในตู้ 5.5 แกลลอน

5.3 ตัวผู้ 5: ตัวเมีย 6 ในตู้ 10 แกลลอน

5.4 แต่วิธี 1:1 ไม่ควรทำ เพราะได้ความสำเร็จยากยิ่งขึ้น

5.5 พ่อ + ลูกสาว จะให้ LINE BREED ที่ชิดที่สุด พี่ชาย + น้องสาว หรือ น้องชาย + พี่สาว เป็นวิธีที่นักเพาะพันธุ์ใช้กันมากที่สุด

*การเพาะพันธุ์ควรทำ 2 ชุด เพื่อป้องกันการผิดพลาดหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในขบวนการของการทำงาน

*การผสมพันธุ์แบบชิดทำได้แค่ 3 รอบเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ขนาดของปลาเปลี่ยนแปลงไป
GOODLUCK FOR YOU KINDLY THANK
SIANGCHAI JITKOSOLVANICH 26/02/05

การคัดเลือกปลา เพื่อไปสู่ความสำเร็จ




การคัดเลือกเพื่อไปสู่ความสำเร็จ SELECT FOR SUCCESS
โดย เฮีย siangchai เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2005, 09:15:04 PM
Credit to: Pan Pacific guppy club ( Mr. Jim Anderson )

บทความแปลนี้เป็นของ JIM ANDERSON ประธานชมรมปลาหางนกยูงที่ PAN PACIFIC (PPGA) เป็นชมรมที่ FRANK CHAN / LUKE ROEBUCK ร่วมทำกิจกรรมอยู่ด้วยกัน เป็นบทความที่มีแนวทางที่น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้คิดถึงเรื่องสภาวะอากาศ และลักษณะของที่ที่แตกต่างกันด้วย โปรดพิจารณาและเลือกสรรเองนะครับ
การคัดเลือกเพื่อไปสู่ความสำเร็จ SELECT FOR SUCCESS
โดย JIM ANDERSON
นอกเหนือจากการเรียนรู้ถงการเลี้ยงปลาหางนกยูง เพื่อให้มันได้เจริญเติบโตไปถึงจุดสุดยอดของมันเท่าที่มันได้รับถ่ายทอดมาตามกรรมพันธุ์แล้ว "การคัดเลือก" พ่อแม่พันธุ์ที่ดีที่สุดจากปลากในแต่ละรุ่น ก็เป็นทิศทางที่สำคัญที่สุดของการเลี้ยงปลาหางนกยูงแฟนซี การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เราใช้การคัดเลือกตามหลักพันธุ์ศาสตร์ เพื่อผลักดันให้ได้ปลาระดับประกวดในระดับชั้นยอด ผู้เพาะเลี้ยงที่ได้รับความสำเร็จ เขาจะรู้จักสายพันธุ์ของเขาเป็นอย่างดี และเขาจะทราบว่าปลาตัวไหนจะให้ลูกหลานที่ดีที่สุด การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์อย่างเคร่งครัด สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ใดๆ ก็ตามให้ได้รับความสำเร็จได้ในการเพาะพันธุ์, เพาะเลี้ยงเพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้น ถ้าเราใช้หลักพันธุ์ศาสตร์และทางสถิติเข้ามาเพื่อพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้า ผมใช้บรรทัดฐาน, มาตราฐานการคัดเลือกเดียวกันกับทุกสายพันธุ์ของผม
1. การคัดเลือกพ่อพันธุ์
เราจะเริ่มต้นที่ เรามีปลาตัวผู้อยู่ 20-40 ตัว ในตู้ปลาตู้หนึ่ง ปกติผมจะเริ่มต้นการคัดเลือกด้วยการคัดออก 30- 50%
ขั้นแรก คัดปลาที่มีขนาดตัวเล็กกว่าปลาในตู้เดียวกันออกก่อน ไม่ว่ามันจะสวยงดงามเพียงไร นี่จะทำให้คุณเหลือปลาน้อยลง และทำให้คุณสามารถเพ่งเล็งส่วนที่เหลือได้ชัดเจนขึ้น ต่อมาผมก็แยกแยะและคัดเลือกจากความด้อยของครีบต่างๆ และการสูญเสีย ความชัดเจนสดใสของสี จากจุดนี้คุณควรเหลือปลาน้อยกว่า 20 ตัว
จากส่วนที่เหลือผมจะคัดเลือกโดยเลือกปลาที่ตัวใหญ่ที่สุดมา 4 ถึง 5 ตัว ซึ่งมีพฤติกรรม,ลักษณะ,ครีบต่างๆ ที่ดีที่สุด ใส่พวกมันลงไปตู้ขนาด 2.5 แกลลอน ทิ้งไว้ข้ามคืน การทิ้งไว้ข้ามคืนเพื่อให้มันได้ฉายประกายของความแตกต่างของปลาแต่ละตัว ซึ่งอาจไม่เห็นเมื่อตอนอยู่ในตู้ใหญ่และปลาจำนวนมาก จากปลาชุดนี้ (4 -5 ตัว) ผมจะเลือกเพียง 2ตัว โดย
- หนึ่งตัวสำหรับปลาตัวที่ใหญ่ที่สุด
- หนึ่งตัว สำหรับปลาที่สีดีที่สุดปลาแต่ละตัวจะเลี้ยงในตู้ขนาด2.5 แกลลอนร่วมกับตัวเมีย 2-3 ตัว
2. การคัดเลือกแม่พันธุ์ตัวเมีย
ผมไม่เคยเก็บตัวเมียสาวที่ยังไม่เคยผสมพันธุ์ ผมจะเลือกตัวเมียที่เลือกไว้แล้วและใช้งานอยู่ จากนั้นปล่อยให้คลอดลูกไปหนึ่งท้อง ก่อนที่จะเลี้ยงลูกปลาให้เอาตัวเมียมาใช้งานกับตัวผู้อื่นได้เลย
ในการเลือกแม่พันธุ์จะพิจารณาจาก ขนาดและรูปร่าง ผมจะเลือกตัวเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ซึ่งมีโคนหาง, ข้อหางที่หนาและมีลำตัวที่หนา
ผมชอบตัวเมียที่มีรูปร่างที่ป้อมสั้น, แข็งแรงบึกบึน, ลำสัน มากกว่าตัวเมียที่ ยาว/บาง
ขนาดของตัวเมียอาจไม่ได้สัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกับขนาด/รูปร่าง ของลูกที่เป็นตัวผู้ของมันเสมอไป
แต่ข้อหางของตัวเมียที่เป็นแม่พันธุ์ จะช่วยให้ลูกปลาตัวผู้ของมันมีโครงสร้างลำตัวที่มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะแบกรับหางที่ใหญ่โตของมันได้ดี
ถ้าหากเป็นไปได้ ผมจะไม่ผสมแม่พันธุ์กับพี่น้องของมัน ผมจะให้มันผสมกับญาติห่างๆ หรือพี่น้องต่างแม่กันกับมัน ผมจะเก็บลูกของมันไว้เพียง 1-2 คลอก จากตัวเมียแต่ละตัว วิธีนี้จะทำให้ผมสามารถใช้ตัวผู้แต่ละตัวกับตัวเมียได้ 4-6 แม่ เป็นการเพิ่มโอกาส และความได้เปรียบอย่างมากในการหาตัวเมียเพียง 1 ตัว ที่ให้ลูกปลาตัวผู้ที่สุดยอดในหมู่ตัวเมียทั้ง 4-6 ตัว ว่าตัวใดเป็นแม่ตัวที่ดีที่สุด การเรียนรู้ถึงวิธีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ดีที่สุด เป็นงานที่ยากที่สุดในขบวนการพัฒนาสายพันธุ์ปลาเพื่อให้ได้ปลาประกวดที่มีระดับสุดยอดได้ บางครั้งอาจเป็นเรื่องที่ดีที่เรามีพ่อแม่พันธุ์มากขึ้น เพื่อช่วยในกระบวนการคัดเลือกให้ดียิ่งขึ้น บ่อยครั้งที่คุณมองดูปลาเดิมๆ ของคุณอยู่ทุกๆ วัน คุณอาจ รัก/หลง พวกมัน และทำให้คุณพลาดและละเลยที่จะเห็น ข้อผิดพลาด/จุดด้อยของมัน ขณะที่คนอื่นมองเห็นจุดด้อยเหล่านั้นได้อย่างง่ายๆและอย่างชัดเจน การที่คุณได้เข้าร่วมการประกวดปลาหางนกยูงกับ IFGA คุณสามารถเปรียบเทียบคุณภาพของปลาของคุณกับปลาตัวอื่นๆในชั้นประกวดปลาได้อย่างชัดเจน ถ้าคุณทั้งหมดมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง คุณจะรู้ดีถึงผลของการคัดเลือกของคุณที่คุณได้ทำมาทั้งหมดได้เป็นอย่างดี **************************////////////////////////////////////////////********************************************* SIANGCHAI JITKOSOLVANICH 26/02/05

บทความที่ควรอ่านก่อนเริ่มต้นเลี้ยงปลาหางนกยูงแฟนซี


บทความที่ควรอ่านก่อนเริ่มต้นเลี้ยงปลาหางนกยูงแฟนซีหัวข้อ:

ข้อแนะนำสำหรับคนที่พึ่งเริ่มเลี้ยงปลาหางนกยูงแฟนซี

โดย เฮีย siangchai เมื่อ: เมษายน 25, 2005, 10:01:45 PM

สำหรับคนที่อยากเลี้ยงปลาหางนกยูง มีข้อแนะนำที่อยากบอก

1. ควรศึกษาก่อนซื้อปลา หลายคนมากๆๆ ซื้อปลาก่อน ที่จะมีตู้ปลา นั่นหมายความว่า ยังไม่ได้เตรียมน้ำ หรือ ทราบวิธีที่จะเตรียมน้ำที่จะเลี้ยงปลา ว่าน้ำที่จะเลี้ยงปลาควรมีสภาพอย่างไรจึงจะดี จึงทำให้อาจมี คลอรีน ตกค้าง จึงกลายเป็นการทำร้ายปลาโดยไม่รู้ตัว ที่จริงควรทราบธรรมชาติที่เหมาะสม ของปลาหางนกยูงว่าชอบอยู่ในสภาพน้ำอย่างไร จะทำให้สามารถเลี้ยงปลาให้สมบูรณ์ ปลาก็จะสามารถโชว์ สีสรรที่งดงามได้อย่างเต็มที่

2. ต้องทราบวิธีปรับสภาพปลาที่ซื้อมา เพราะปลาต้องอ่อนแอจากการเดินทางและบางครั้งต้องทนรอเวลาที่จะกลับบ้าน หลังจากที่คุณเดินชมตลาดจนเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะควรสอบถามให้ชัดเจนว่า บ้าน/ร้านที่คุณซื้อ พื้นเดิมเขาเลี้ยงด้วยน้ำอะไร

- น้ำประปา หมายถึงปลาที่เลี้ยงในเขตเมือง อันนี้ก็ปรับสภาพง่ายหน่อย พักน้ำให้หมดคลอรีน ใส่เกลือนิดหน่อย ( ดูหัวข้อการใช้เกลือทะเล ใน หมวด ยาและการรักษาโรค ) ใส่ยาปฎิชีวนะ ช่วยป้องกันการ ติดเชื้อ เนื่องจากการเดินทาง ก็น่าจะ ok แล้ว

- น้ำบ่อ / น้ำซับ / น้ำบาดาล อันนี้ก็ยากมาอีกนิดนึง อันนี้ก็ต้องใช้เกลือหนักมืออีกหน่อย เพื่อให้น้ำมีความถ่วงจำเพาะที่มากขึ้นใกล้เคียงน้ำที่เขาเคยอยู่มา หรือ อาจใช้ Blackwater ของ TetraAqua หาซื้อได้ที่ร้าน whitecrane หรือร้านทั่วๆ ไปใน sunday หรือถ้าชอบ ผลิตภัณท์ของ Azoo ก็สามารถเทียบเคียง /สอบถามคนขายได้ Blackwater เป็นสารสกัดจากธรรมชาติ ซึ่งจะปรับสภาพน้ำใหม่ (ที่ปราศจาก คลอรีน ให้กลายเป็นน้ำที่มีสภาพเป็นน้ำที่ปลาชอบ )

3. บางคนซื้อปลามาโดยที่ไม่รู้ว่าปลาเป็นโรคมาแต่ต้นแล้ว จึงอยากแนะนำวิธีดูปลาที่อาจมีปัญหา

*ดูน้ำในตู้ก่อน ตู้ที่ปลาน่าสงสัยว่าน่าจะไม่สบาย ดูที่ ผิวน้ำ ตามขอบ มุมตู้ มักมีฟองที่มีลักษณะเป็นเมือก เพราะปลาที่ไม่สบายมักจะขับเมือกออกมา พอมีเชื้อโรคที่มาเกาะแกะมัน มันก็พยายามสลัดออกโดย การขับเมือกที่คลุมตัวมันที่มีเชื้อเกาะออก ยิ่งขับก็ยิ่งเพลีย พอขับออก เชื้อก็จับใหม่ ก็ขับเมือกอีก ยิ่งขับ ยิ่งเพลีย ยิ่งเพลีย ยิ่งโทรม ยิ่งโทรม ยิ่งทรุด ถึงบ้าน ตาย ตายพอดี *********

เป็นไง เห็นภาพชัดเจนพอไม๊ครับ*************

ดังนั้นเห็นปลา ร้านไหน ตู้ไหนผิวน้ำเป็นเมือก อย่าแตะ.......

ถ้าแน่ใจว่า ฝีมือรักษาโรคตัวเองเจ๋ง ก็คว้าได้เลย

*ปลาที่ว่ายเฉี่ยวไปมาไถกับตู้ หรือของในตู้ เดาไว้ก่อน Ich จุดขาว รักษาง่าย แต่เสียเวลา ปลาเติบโต พัฒนาการชงักงัน

เดินผ่านดีกว่า ชมๆ ก็พอแล้ว เปลืองตัง โดยไม่มีเหตุอันจำเป็น ไม่ว่าซื้อยาหรือ ปลาที่ป่วยก็ตาม

* ปลาที่ไม่มีความ มีชีวิตชีวา อันนี้ต่างจากแบบเมื่อกี้อันนั้น เรียกว่า คึกเกินกว่าเหตุ คึกโดยไม่มีเหตุอันจำเป็น ปลาที่ซึมเศร้า เดาไว้เลย เปื่อย เรียกว่า ป่วยอยากกลับบ้านเก่า อันนี้ รักษายาก เก็บไว้ให้เจ้าของกลับไปรักษาเองให้เรียบร้อยก่อน จะดีกว่า


**ปลาที่น่าสนใจ เฉพาะ เรื่อง สุขภาพ ความแข็งแรงนะครับ เรื่องคุณภาพ/กับปลาที่ถูกชื่อ อันนั้ว่ากันทีหลัง คนละประเด็น.......

ปลาที่มีสุขภาพที่ดี

- แวดตาสดใส

- ไล่จี้หญิง

- สีสรรสดใส เงางาม

-ครีบว่าย หาง แข็งแรง ไม่ตก ผึ่งกางโชว์หญิงได้ไม่อายใคร

- ไม่มีแผลไม่จุดไม่ว่าแดงหรือขาวไม่ว่าจุดใหญ่แบบแผล หรือจุดเล็กๆ ทั่วๆ ตัว เหมือนหิมะไม่ว่ามากหรือน้อย พวกนี้อาจ คึกคักอยู่ เรียกว่าเป็น แต่ยังไม่ออกอาการ

เงิน /เวลา /ความรัก ของคุณมีค่า ใช้มันให้คุ้มค่า สมเหตุสมผล FAIRๆความคิดส่วนตัวของผมนะครับ

เมื่อเทียบกับสมัยก่อน ยุคหางฟ้าตาแดง ตาแดงตัวแรกๆ ที่บูมขึ้นมาก่อนหน้า red albino สักปีสองปี และถ้าพูดกันที่วันที่ 26 เมษายน 2548 แทบไม่ต้องอ่านหนังสือ หรือ หาความรู้ ที่ไหนเลย มา regist หรือ sign in สมัคร เป็น สมาฃิก ของเวปนี้ก็พอแล้ว

*มีทั้งข้อมูล ที่เปิด เผย ไม่ปกปิด*มีทั้งเพื่อนๆ

สมัยก่อน ย๊ากๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆๆ ขนาดเฮียต้องเข้าเวปนอกหาความรู้เอาเอง สมัยก่อนใช้ http://www.guppys.com/ guppys ต้องมี s นะครับ ถ้าไม่มี s เป็นเวปเกย์ เดี่ยวนี้เขาเปลี่ยนมาใช้ address เป็น www.ifga.org/ แล้วก็ไปที่ link ทีนี้ไปต่อยาวเลย บางที่ เมา หาทางกลับไม่ถูกเลย แต่มันส์ ยิ่งลึก ยิ่งรู้

จุดแสดงความคิดเห็น ขอเชิญใช้งานได้เลยครับ







จุดแสดงความคิดเห็น ขอเชิญใช้งานได้เลยครับ
ใช้ปุ่ม
0แสดงความคิดเห็น
แสดงความเห็น

การผสมพันธุ์ปลาแบบ LINE BREED


การผสมพันธุ์แบบ Line Breedindโดย เฮีย siangchai
การเลี้ยงแบบที่ ผมเรียกว่า แบบรัดกุม คือการเริ่มเลี้ยงปลาโดยซื้อพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งที่มาตราฐานที่ดีและมีประวัติดี โดยอาจเริ่มซื้อมาสัก 1 - 2 ทรีโอ (Trio หมายถึง ชุดปลาที่มีปลาตัวผู้ 1 ตัว กับ ตัวเมีย 2 ตัว ซึ่งควรมาจากคนละครอก/คนละพ่อและหรือคนละแม่แต่พันธุ์เดียวกัน )
1. โดยต้องดูให้ดีว่าปลาที่มาต้องไม่ป่วยหรือติดโรคมา
2. และคุณเองต้องสามารถ เอาปลาอยู่ หมายถึงเมื่อปลาที่มาไม่ป่วย คุณสามารถแก้ไข/ประคองปลาให้อยู่ จนถึงแข็งแรง จนให้ลูกได้ เป็นผลผลิตด้วยน้ำมือของคุณเอง Happy Happy
การเลี้ยงปลา-การผสมพันธุ์แบบ Line Breedind เป็นการเลี้ยงปลาหางนกยูง การเพาะปลาหางนกยูงที่เป็นรูปแบบมาตราฐานที่นักเลี้ยงทั่วโลก (ทั่วไป) นิยมทำกัน เพื่อรักษาสายเลือดที่ดีให้สามารถดำเนินต่อไปได้ ทีนั้เรามาดูกันว่าเราจะทำการผสมพันธุ์ปลาแบบนี้กันอย่างไร
1. เมื่อคุณซื้อปลามา 1 ทรีโอ แล้วเลี้ยงมันให้แข็งแรง เมื่อปลาตัวเมียได้รับการผสมพันธุ์จากปลาตัวผู้แล้ว คุณก็เพียงเลี้ยงมันทั้งหมดให้ดี รอเวลาอีก 28 วันซึ่งเป็นระยะเวลาที่ปลาตัวเมียใช้ในการตั้งท้องแล้วให้ลูกของมัน
2. เมื่อตัวเมียท้องแก่ได้ที่ ซึ่งวิธีการสังเกต สามารถมำได้หลายวิธี เช่น สังเกตุ Gravid Spot คือที่รังไข่ของมันจะเป็นสีเข้มดำ สำหรับปลาตาดำ สีเข้มแดงสำหรับปลาตาแดง และบางครั้งมีทั้งสีใสและสีเข้ม (ดำ) สำหรับปลาที่เป็นลูกผสมซึ่งในท้องสีใสสีแดงมักเป็นลูกปลาตาแดงหรืออาจเป็นลูกปลาที่เป็นโกลเด้นหรืออัลบิโนเมื่อคลอดออกมาแล้ว คุณควรแยกแม่ปลาออกมาคลอดในตระกร้า หรืออาจใส่สาหร่ายเพื่อให้ลูกปลาได้ซ่อนตัวจากแม่ของมันเอง เพราะในระยะนี้แม่ปลามักจะหงุดหงิดทำให้แม่ปลากินลูกมันได้
3. เมื่อลูกปลาคลอดออกมาแล้ว ให้แยกลูกปลาออกมาเพื่อเลี้ยงต่างหาก
4. สำหรับตัวเมียตัวแรก ลูกปลาที่ได้จากเธอให้ตั้งว่าเป็นสาย A และตัวเมียที่สอง ลูกปลาที่ได้จากเธอให้ตั้งว่าเป็นสาย B ให้แยกปลาทั้งสองครอกแยกจากกัน ครอกใครครอกมันเป็น 2 ตู้
5. เมื่อลูกปลาที่ได้จากแต่ละสาย เช่น สาย เอ เมื่อได้ลูกปลามาก็ให้เป็น ลูกปลาชุด เอ1 และเมื่อลูกปลาชุด เอ1 โตขึ้นจนให้ลูกปลาๆ ชุดใหม่ที่ได้เราจะเรียกว่าปลาชุด เอ2 และต่อๆ ไปก็เป็น เอ3 ปลาชุดบีก็เช่นกันก็จะได้ปลาใหม่เป็นชุด บี1, บี2, บี3 ในแต่ละครอกแต่ละชั้นของแต่ละสาย เราควรเลือกพ่อปลาและแม่ปลาที่ดีที่สุดในแต่ละครอก ควรเลือกมาจากปลาตัวผู้และตัวเมียที่ดีที่สุดที่เลือกออกมา
6. คุณสามารถทำอย่างนี้ได้ 4 หรือ 5 ชั้น
7. จากนั้นก็ถึงเวลาที่คุณต้องปรับปรุงสายเลือดในทั้งสาย เอ และ บี แล้วครับ เพื่อป้องกันเลือดชิด
8. คุณก็เพียงคัดตัวผู้และตัวเมียที่ดีที่สุดในแต่ละสาย ( เอ, บี ) โดยเอาตัวผู้สายเอมาไข้วกับตัวเมียบี และในอีกทางเอาตัวผู้สายบีมาไข้วกับตัวเมียสายเอ จากวิธีนี้เป็นการทำให้ทั้งสายเอและสายบีถ่างออกไม่ชิดจนก่อปัญหา



9. ตาม Chart ในรูป คุณสามารถสร้างปลาได้เป็น 10 ปี โดยวิธีนี้ ซึ่งถือเป็นการรักษาและปรับปรุงสายเลือดที่ดีสุด
10. จนถึงเมื่อคุณเห็นว่าวิธีนี้ไม่สามารถแก้ปัญหาที่มีอยู่ได้ เช่น ตัวเล็กลง, สีซีดลง, ให้ลูกยากขึ้น หรืออื่นๆ ซึ่งเป็นตัวบ่งว่าปลาของคุณมีลักษณะด้อยลง ตอนนี้คุณจะต้องพิจาณาเลือกหาปลาในสายพันธุ์เดียวกัน (ที่มีลักษณะที่ดี มีประวัติทางสายพันธุ์ที่ดี เป็นปลาสายยเลือดแท้ Pure line ) เพื่อเอามาสับสายเลือกโดยทำ Outcrossing คุณต้องแน่ใจว่าปลาที่คุณเอามาใช้เป็นสายเลือดแท้ เป็นสายเลือดที่ดี ที่นิ่ง ไม่งั้นแล้วลูกปลาที่ออกมา อาจให้สีสรรออกมามาก มากหลายหลาก มั่วไปหมด หากคุณใช้สายเลือดที่ดี ที่นิ่ง ที่ pure คุณสามารถมายล่วงหน้าได้เลยว่าที่ได้จะมีสีสรรที่คงที่ไม่เปลี่ยนแปลง ทำให้คุณไม่ต้องสิ้นเปลือง เสียเวลาโดยเปล่าประโยชน์ แถมยังมีปลาไขว้ที่หลายหลากน่าปวดหัวมากถึงมากๆๆๆๆๆ ดังนั้นขอให้โชคดีนะครับ เลือกให้ดี คัดให้ดี ก็ได้แต่ของดีๆ
Inbreed เป็นวิธีผสมเพื่อรักษา ความเข้มข้นของสายเลือด โดยอาจเอา พ่อเข้าลูก หรือ ลูกเข้าแม่
ส่วน Outbreeding น่าจะเป็นคำเดียวกับ Outcrossing น่าจะกระทำแบบเดียวกัน แต่คำทั้งสองคำ อาจหมายถึงการ ผสมข้ามสายพันธุ์ด้วยครับ แต่นั่นเป็นการสร้างพันธุ์ใหม่ๆแต่ตามบทความที่ผมอธิบายเป็นการข้ามสายเลือดในสายพันธุ์เดียวกัน เพื่อปรับปรุงสายเลือด แต่เท่าที่เฮียอ่าน-แปลหนังสือปลาหางนกยูงมาหลายปีนี้ ไม่ค่อยเจอ out breed นะครับ ไม่รู้จะเป็นคำของพี่ๆ พ่อค้าหรือเปล่าครับแบบว่า มี in ก็มี out นะครับ พอทำทั้งสองสายแล้วก็สามารถทำให้ดียิ่งขึ้นได้ ดูตาม Chart ในรูปครับ บอกล่วงหน้านะครับ ถ้า งง ก็ลองค่อยๆ เขียนตามเขาทีละขั้น แล้วคิดตามทีละตอนนะครับ เดี๋ยวเข้าใจเองครับ ผมเองเมื่อ 7 - 8 ปีที่แล้ว ก็ต้องใช้เวลาหลาย เหมือนกันกว่าจะ Clear ลองดูนะครับ ถือว่าทำข้อสอบละกัน ถ้าเข้าใจและเอาไปปฏิบัติได้จนเป็นผล รับรองได้เลี้ยงสายพันธุ์เดียวชื่อเดียว ไม่มีใครสู้คุณได้ ถ้าจะขายก็เรียกว่า ใครๆ ก็อยากได้ปลาคุณเพราะมัน งาม และ งาม

ข้อแนะนำสำหรับมือใหม่







ข้อแนะนำถึงวิธีเริ่มต้นสำหรับมือใหม่
Credit :credit to "http://www.aqualink.com/; on: August 10, 2004, 10:26:47 pm »
By Llyn Hutchins




ภาคที่ 1 คุณภาพของน้ำ water quality
ปลาหางนกยูงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ดีในช่วงอุณหภูมิระหว่าง 68 -80 F(-C)และที่ 72 ฟ ดูจะเป็นจุดที่ดีที่สุดสำหรับมันในเรื่องสุขภาพ-ความแข็งแรง ปลาหางนกยูงสามารถทนในอุณหภูมิที่ต่ำถึง 60 ฟ แต่เนื่องจากอุณหภูมิที่ต่ำทำให้ขบวนการเมตาโบลิซึม ( การเผาผลาญอาหารในร่างกาย )ต่ำลงมาก ดังนั้นพวกมันจะไม่มีการผสมพันธุ์ มันจะขาดความตื่นตัวactive และไม่ว่าปลาตัวใดที่อ่อนแอจากการเจ็บป่วยที่อุณหภูมินี้มันจะตายอย่างง่ายดาย น้ำในตู้ปลาจะเย็นกว่าอุณหภุมิภายนอก/สิ่งแวดล้อมด้านนอกประมาณ 2 องศา ดังนั้นถ้าห้องที่คุณตั้งตู้ปลามีอุณหภูมิอย่างน้อยอยู่ 70 ฟ ตลอดเวลา คุณก็ไม่จำเป็นต้องซื้อฮีทเตอร์ใส่ในตู้ปลา เป็นเรื่องที่มีประโยชน์มากที่จะมีอุณหภูมิที่คงที่ตลอดเวลา ดังนั้นเมื่อเรามีการเปลี่ยนถ่ายน้ำถึงแม้จะบางส่วนก็ควรให้มีอุณหภูมิเดียวกันกับน้ำที่อยู่ในตู้ปลา ขอจงระมัดระวังการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิที่รวดเร็วจะส่งผลที่ทำให้ปลาช็อค SHOCK
ปลาต้องการอ็อกซิเจนเพื่อให้มีชีวิตรอดอยู่ได้ ถ้าปลาของคุณมาลอยตัวงับอากาศอยู่ที่ผิงย้ำ มันเป็นสัญญาน บ่งบอกว่าปริมาณอ็อกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำในตู้ปลาไม่เพียงพอเมื่อเปรียบเทียบกับจำนวนปริมาณของปลาที่เลี้ยง
เราจะสร้างตู้ปลาอย่างไรเพื่อให้มีการดูดซับของอ็อกซิเจนได้ระดับที่ดีที่สุด อ็อกซิเจนในอากาศสามารถเข้าไปในน้ำได้ที่บริเวณผิวของน้ำเท่านั้น ดังนั้นปริมาณพื้นผิใของน้ำมากเท่าไร ยิ่งมีการดูดซับเปลี่ยนถ่ายอ็อกซิเจนได้มากขึ้นเท่านั้น ดังนั้นตู้ที่เลี้ยงปลาแล้วมีสุขภาพที่ดีที่สุดคือ ตู้ที่เป็นทรงที่ กว้างและเตี้ย ( SHIORT AND WIDE)จะดีกว่าตู้ที่ผอมสูง ( SLENDER ) วิธีการคำนวณที่เป็นมาตราฐาน คือ ทุก 20 ตารางนิ้วของผิวน้ำ เลี้ยงปลาได้ในขนาด 1 นิ้ว โดยวัดความยาวของปลาจาก ปลายจมูกถึงข้อหาง การเคลื่อนไหวของน้ำก็ทำให้การดูดซับของอ็อกซิเจนทำได้ดียิ่งขึ้น โดยเฉพาะฟองอากาศที่ออกมาจากเครื่องกรองที่กรองในตู้ปลาจะยิ่งเพิ่มปริมาณอ็อกซิเจนให้ละลายในน้ำได้มากยิ่งๆขึ้น อีกอย่างที่น่าสนใจ คือ ที่อุณหภูมิที่ต่ำกว่าอ็อกซิเจนจะสามารถดูดซับอยู่ในน้ำได้ มากกว่า นานกว่า ดังนั้นดีที่สุดคือ เลี้ยงปลาในน้ำที่อุณหภูมิที่เหมาะสม ณ. จุดที่ต่ำที่สุด ( อย่างกล่าวตอนต้นอุณหภูมิที่เหมาะสมคือ 68 -80 ฟ จุดที่ดีที่สุด คือ 72 ฟ ) และอีกเช่นกัน การเติมเกลือก็ทำให้น้ำดูดซับอ็อกซิเจนได้มากและนานยิ่งขึ้น แต่ขอให้ดูให้แน่ใจว่าเกลือที่ใช้ไม่มีการเพิ่มไอโอดีนลงไปกว่าที่ธรรมชาติมีและไม่ทำร้ายไม้น้ำถ้/ที่มี ต้นไม้น้ำก็มีส่วนเพิ่มปริมาณอ็อกซิเจนในน้ำบ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่แน่นอนไม่ตลอดเวลา เพราะในช่วงเวลากลางคืนต้นไม้น้ำก็มีการใช้อ็อกซิเจนด้วย แต่เนื่องจากในเวลากลางคืนปลาไม่มีกิจกรรมมากนัก จึงใช้อ็อกซิเจนไม่มาก จึงไม่มีผลกระทบกับมัน ต้องไม่ให้มี *ซากปลาที่ตาย *ซากไม้น้ำที่ตาย หรือ *เศษอาหารที่เกิน/เหลือ/กินไม่หมด เหลืออยู่ที่พื้นตู้เป็นช่วงเวลานาน เพราะพวกแบคทีเรียที่ย่อยของเหล่านี้ต่างหากที่ใช้ปริมาณอ็อกซิเจนในน้ำในปริมาณที่สูงมาก จึงเป็นการดีมากที่จะใช้สายยางน้ำคอยเก็บเศษส่วนเกินเหล่านี้เพื่อไม่เกิดการเน่าบูดของสิ่งเหล่านี้ที่บริเวณพื้นตู้



คาร์บอนไดออกไซค์ เป็นของเสียทางเคมีที่ปลาสร้างขึ้นขับถ่ายออกมาเหมือนๆกับปลาอย่างอื่น และ คาร์บอนไดออกไซค์ เป็นสิ่งที่ก่ออันตรายแก่ปลาได้ แบคทีเรียซึ่งกินปลาที่ตาย, ซากไม้น้ำและเศษอาหารที่เหลือ ก็ผลิตคาร์บอนไดออกไซค์ออกมาเหมือนกัน โชคดีที่ขบวนการต่างๆที่เพิ่มปริมาณอ็อกซิเจนในน้ำ จะช่วนลดปริมาณของ คาร์บอนไดออกไซค์ ไปในตัว
ที่จริงแล้วในช่วงเวลากลางวันพืชไม้น้ำจะช่วยใช้คาร์บอนไดออกไซค์ ดังนั้นถ้าปลาแสดงอาการขาดอ็อกซิเจน ให้คุณแน่ใจได้เลยว่าปลาได้รับความเป็นพิษจากคาร์บอนไดออกไซค์ สิ่งที่มีผลที่สุดที่ฆ่าทุกสิ่งมีชีวิต,ปลาและรวมถึงปลาหางนกยูงด้วยที่สำคัญที่สุดคือ แอมโมเนีย ซึ่งเป็นของเสียอีกตัวที่ปลาสร้างขึ้นมา ซากปลาที่ตาย,ซากพืชไม้น้ำ,เศษอาหารที่เน่าเสียที่พื้นตู้ก็เป็นอีกกลุ่มที่สร้างแอมโมเนียขึ้นมา อาการการได้รับพิษจากแอมโมเนีย คือ หายใจเร็ว,ถี่ มีการว่ายที่ผิดปกติ มักว่ายไปถูกับสิ่งของในตู้ หรือพื้นตู้ คุณอาจเคยเห็นบ่อยๆ ( แต่อาจไม่ทราบ ) ที่ปลาของคุณมีขีดหรือจุดแดงบนครีบหรือบริเวณหาง หรือแม้แต่มีรอยสีดำที่ก้านครีบหรือหาง ซึ่งเหล่านี้ คือ ผลจากการถูกเผาไหม้จากแอมโมเนีย ปลาบางตัวอาจตายทันทีกระทันหัน ถึงแม้คุณจะดูแลแก้ไขมันอย่างดี ปลาบางตัวซึ่งอวัยวะภายในถูกทำลาย ปลาบางตัวอาจตายในอาทิตย์หรือแม้แต่หลายอาทิตย์ต่อมา ตัวเมียที่ท้องและลูกปลาเล็กๆนั้นเป็นส่วนที่น่าเป็นห่วง ปลาที่ถูกพิษของแอมโมเนีย นั้นมักจะติดเชื้อจากbacteria ,fungal , parasiteจนก่อให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บในหลายอาทิตย์ต่อมา กรณีที่ยิ่งความเป็นกรดด่าง ( pH ) ของน้ำหากสูงด้วยแล้ว ยิ่งทวีความรุนแรงของพิษมากยิ่งขึ้น
มีวิธีพื้นฐาน 3 วิธีที่จะกำจัดแอมโมเนียออกไปได้จากตู้ปลา
1 ถ่ายน้ำออกจำนวนมาก วิธีนี้ไม่อยากแนะนำ ยกเว้นแว่ เป็นกรณีที่ฉุกเฉินอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้แล้ว การเปลี่ยนน้ำอย่างมากๆจะทำให้ความสมดุลทางเคมีของน้ำในตู้ปลาเปลี่ยน, ระดับของความเป็นกรดด่างเปลี่ยนไป , และทำให้อุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนไปถึงแม้จะทำอย่างระมัดระวังก็ตาม การเปลี่ยนถ่ายน้ำมากๆอาจทำให้ปลาช็อคและฆ่าปลาได้ ในกรณีที่ปลาได้รับผลกระทบจากแอมโมเนียขอให้แน่ใจไว้เลยว่าคุณต้องสูณเสียพวกมันไปบางส่วนแน่นอน และหากหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องใช้วิธีเปลี่ยนน้ำมากๆนี้แล้วขอให้คุณมั่นใจว่า น้ำที่ใช้ปราศจากคลอรีน สำหรับคนที่ใช้น้ำจากระบบของเขตเมืองแล้ว คุณจำเป็นต้องซื้อบางอย่างที่จะต้องใช้เพื่อกำจัดคลอรีน หรือ คลอราไมน์ ( chloramine ) คลอรีนนั้นก็ให้โทษเป็ฯพิษกับปลาพอๆกับแอมโมเนีย ดังนั้นหากปลาได้รับพิษจากเคมีทั้งสองตัว คือคลอรีนจากการเปลี่ยนน้ำแล้ว การไม่ถ่ายน้ำจะไม่ทำร้ายปลากว่าน้ำบ่อก็อาจมีแก็สอื่นอยู่อีก แต่ในกรณีกระทันหัน คุณไม่มีเวลาที่จะกำจัดแก็สเหล่านั้น ซึ่งก็มีพิษน้อยกว่าเมื่อเทียบกับแอมโมเนีย
2 วิธีที่ 2 ที่จะกำจัดแอมโมเนียออกไป คือ การซื้อผลิตภัณท์ที่สามารถดูดซับแอมโมเนีย การใช้เกลือในน้ำ ขอให้ระวังว่า มันมักไปหน่วง ทำให้ประสิทธิภาพของผลิตภัณท์ดูดซับแอมโมเนียทำงานได้ผลลดลง ประโยชน์ของผลิตภัณท์เหล่านี้ คือ มันทำงานได้รวดเร็วทั้งยังไม่ทำให้ปลาช็อค และเป็นเรื่องที่ดีที่ใช้ผลิตภัณท์เหล่านี้ในกรณีฉุกเฉิน และก็เป็นความคิดที่ดีที่ควรมีสิ่งเหล่านี้ติดบ้านไว้ และใช้ต่อเมื่อเป็นกรณีฉุกเฉินเท่านั้น ไม่ความใช้เป็นสิ่งปกติเพื่อไม่ให้เกิดมีแอมโมเนียในตู้ปลาเป็นเรื่องปกติประจำไป เพราะคุณจะไม่ทราบว่า เมื่อไหร่ที่ตัวดูดซับแอมโมเนียหยุดทำงาน มันก็สายเกินไปแล้ว เมื่อทราบว่าระดับของแอมโมเนียอยู่ในระดับอันตรายแล้ว และตัวดูดซับแอมโมเนียก็ยังดูดซับเกลือแร่ในน้ำที่มีประโยชน์กับปลาออกไปด้วย จึงไม่ควรใช้เป็นประจำ
3 วิธีที่ 3 คือ BIO FILTER เครื่องกรอง-การกรองในระบบจุลินทรีย์ , กรองในระบบจุลินทรีย์เป็นโครงสร้างนวตกรรมที่ยิ่งใหญ่ แต่มันก็ใช้หลักพื้นฐานจากการใช้ประโยชน์โดยให้ แบคทีเรียกำจัดแอมโมเนียออกไปจากน้ำ มีข้อเสียบางข้อของระบบ กรองในระบบจุลินทรีย์ ข้อแรกมันจำเป็นต้องใช้เวลา 2-3 อาทิตย์ที่จะทำให้ระบบมันทำงานได้อย่างเต็มที่ ดังนั้นในช่วงต้นคุณอาจมีปัญหาจากแอมโมเนีย แต่ก็โชคดี ที่ร้านขายสัตว์เลี้ยงทั่วไป มักมีแบคทีเรียที่บรรจุขวด ซึ่งเราสามารถเอามันมาเป็นหัวเชื้อเพื่อให้เริ่มต้นได้เร็วขึ้น ทำให้ระบบกรองเริ่มได้เร็วยิ่งขึ้นอย่างมากมาย ดังนั้นการเริ่มต้นโดยเลี้ยงปลาน้อนๆในช่วงแรกก็จะช่วยป้องกันปัญหานี้ได้ เรื่องที่สอง ปลาของคุณอาจได้รับผลกระทบจากผลผลิตที่เกิดขึ้นจากการที่แบคทีเรียย่อยแอมโมเนีย แต่อย่างไรก็ตามสิ่งเหล่านั้นก็ยังมีพิษน้อยกว่าแอมโมเนียมาก ซึ่งวิธีดูแลจัดการเราจะพูดกันในช่วงต่อๆไป ข้อเสียข้อที่สามของระบบกรองในระบบจุลินทรีย์ คือแบคทีเรียก็ใช้อ็อกซิเจนเช่นกันในขบวนการกำจัดแอมโมเนีย อย่างไรก็ตามปั้มลมและฟองอากาศที่ออกจากระบบกรองนี้ก็ช่วยเพิ่มปริมาณอ็อกซิเจนได้มากกว่าที่แบคทีเรียใช้ไป ดังนั้นสิ่งเหล่านี้จริงๆแล้วไม่น่าเป็นปัญหาของระบบ กรองในระบบจุลินทรีย์ ยกเว้นแต่ว่า ปั้มลมพัง และหรือ คุณไม่ได้รักษาให้ที่กรองของคุณสอาด สิ่งที่เกี่ยวข้องอีกอย่างคือ เมื่อปลาของคุณป่วย การใช้ยาปฎิชีวนะ จะฆ่าแบคทีเรียทั้งหมด แต่ก็เป็นข่าวดี คือ การป่วยของปลามักมาจากแอมโมเนีย ดังนั้นการใช้ระบบกรองในระบบจุลินทรีย์ เพื่อกำจัดแอมโมเนีย ถ้าคุณดูแลจัดการระบบอย่างดีแล้ว ดังนั้นความเป็นห่วงเรื่องการใช้ยาปฎิชีวนะ จึงน่าจะหมดไป คุณประโยชน์หลักของระบบ กรองในระบจุลินทรีย์ คือ ตั้งแต่คุณเริ่มติดตั้งระบบกรองแบบนี้แล้ว ระบบมันสามารถเดินอย่างต่อเนื่องได้
แบคทีเรียใน Biofilter ใช้ออกซิเจนเพื่อย่อยแอมโมเนีย ให้เป็น ไนไตรท์ Nitrite แต่ไนไตรท์มีผลลดการดูดซับออกซิเจนในเลือดของปลา ปลาก็จะเริ่มหายใจเร็วถี่กระชั้นมากขึ้น ซึ่งมักจะไปอยู่แถวมุมตู้บริเวณก้นตู้ ปลาจะมีอาการเริ่มว่ายน้ำช้าลงกว่าปกติ บางทีอาจอาจนิ่งอยู่ที่พื้นตู้เลย หากมีปริมาณมากๆเป็นเวลานาน อาจฆ่าปลาได้ แต่มันก็ไม่เกิดบ่อยนัก ที่จริงแล้วพอย่อยจากแอมโมเนีย มาเป็น ไนไตรท์ ก็จะมีแบคทีเรียกลุ่มที่สองใน Biofilter มาย่อยไนไตรท์ ไปเป็น ไนเตรท Nitrate แต่แบคทีเรียกลุ่มนี้ต้องใช้เวลาที่จะเกิดนานกว่ากลุ่มแรกที่ย่อยแอมโมเนียไปเป็นไนไตรท์
โดยทั่วไป มีเพียงช่วงเวลาเดียวเท่านั้นที่คุณจะเห็นการเกิดพิษของไนไตรท์ คือในช่วงอาทิตย์สองอาทิตย์แรกที่คุณเริ่มติดตั้งระบบกรองแบบไบโอ ซากปลาซากพืชที่ตายเศษอาหารที่ตกค้างเน่าบูดก็มีส่วนร่วมในเรื่องนี้ด้วย ดังนั้นคุณควรหมั่นกำจัดออกไป เกลือในตู้ปลามีส่วนช่วยปลาได้มากในกรณีนี้ เพราะเกลือจะช่วยรั้งออกซิเจนไว้ในน้ำ การใช้หัวเชื้อแบคทีเรีย ( จุลินทรีย์ ) ในตอนเริ่มต้นที่ติดตั้งระบบกรองไบโอและเริ่มระบบด้วยปลาจำนวนน้อยๆก่อน สามารถจัดการกับปัญหาเหล่านี้ได้ร่วมกันทั้งหมด
คุณอาจคิดไว้แล้วก็ได้ว่า ไนเตรดที่ได้จากการย่อยสลายไนไตรท์ก็คง ส่งผลที่ไม่ดีต่อปลาด้วยเช่นกัน เป็นเรื่องที่โชคดีที่ มันไม่ได้เป็นพิษมากนัก ยกเว้นแต่หากมีปริมาณสะสมมากมายจึงจะทำให้ปลาป่วย สมมุติฐานของการเกิดโรคที่ผมอยากบอกให้พวกเราเข้าใจ คือ ปลาจะมีความอ่อนไหวต่อการติดเชื้อจากBacteria , Fungal มากกว่า ในน้ำอาจมีไนเตรดบ้างและตระไคร่น้ำ/พืชไม้น้ำไม่สามารถเติบโตได้ถ้าในน้ำไม่มีไนเตรด วิธีแก้ปัญหานี้ทำได้โดยการถ่ายน้ำจำนวนน้อยๆแต่บ่อยๆครั้งหรืออาจใช้ไม้น้ำ ไม่เฉพาะใช้ให้ไม้น้ำมาดูดซึมกินใช้ไนเตรดไปเท่านั้น ปลาหางนกยูงเองก็ยังชอบแทะ,ตอดส่วนต่างๆของไม้น้ำเหล่านี้ ดังนั้นปลายังดธาตุสารอาหารจากพืชได้อีก ทั้งไม้น้ำยังให้ภาพลักษณ์แก่ตู้ปลาและยังเป็ยตัวช่วยหยุดยั้งการเติบโดของตระไคร่น้ำลงไปบ้าง เพราะปลาหางนกยูงไม่เหมือนปลาอย่างอื่นมันไม่ได้กัดแทะกินไม้น้ำอะไรมากมายจึงไม่ได้ทำให้มีผลอะไรกับการทำลายไม้น้ำและสมดุลที่ไม้น้ำมีส่วนเกี่ยวข้อง เป็นที่ทราบกันอยู่ทั่วไปว่า อะไรก็ตามที่อยู่ในอากาศที่มีผลที่ไม่ดีต่อคุณ ก็มีผลที่ไม่ดีต่อปลาเช่นกัน ที่จริงแล้วมีผลที่แย่กว่าด้วยซ้ำไป เพราะในกรณีนี้น้ำจะทำตัวเหมือนที่กรองดูดซับสิ่งต่างๆที่ไม่ดีที่อยู่ในอากาศในห้องที่เลี้ยงปลาหรือบริเวณที่เลี้ยงปลาของคุณ อย่ายอมให้มีการสูบบุหรี่ในห้องเลี้ยงปลา ผมเคยเห็นปลาที่เลี้ยงในห้องที่มีการสูบบุหรี่ ปลาที่ยังรอดชีวิตอยู่มันทั้งแคระแกรนและ UGLY และยังมีสัญญานที่บ่งถึงโรคต่างๆที่มี ถ้าหากคุณต้องมีการทาสีห้อง ก็ขอให้ย้ายปลาออกไป อย่าใช้ยาฆ่าแมลงในห้อง ถึงแม้แต่ลูกเหม็นก็ตาม มีมลพิษต่างๆหลายอย่างที่อยู่ในอากาศทั่วไป ซึ่งเราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ และก็โชคร้ายที่มันสามารถสะสมในน้ำของตู้ปลาของคุณซึ่งส่งผลที่ไม่ดีต่อสุขภาพของปลาคุณ และมันก็จะทำให้น้ำมีการเปลี่ยนสีไปตลอดเวลาและทำให้เกิดกลิ่นคาว และทำให้มีฝุ่นเล็กๆอยู่ในน้ำมันอาจไม่มีอันตรายต่อปลาแต่มันก็ทำให้ไม่น่าดู การเปลี่ยนน้ำน้อยๆบ่อยๆสามารถช่วยปัญหานี้ให้ดีขึ้นได้บ้าง แต่ไม่สามารถแก้ปัญหานี้ไปได้ นี่เป็นเหตุที่ทำไมหลายคนเลือกใช้ระบบกรองแบบ mechanical filter ระบบนี้จะใช้ใยกรองเพื่อกรองฝุ่นละอองที่มีขนาดใหญ่ออกไปจากน้ำ และใช้ถ่านหรือคารบอนเพื่อกรองมลพิษ , กำจัดสีและกลิ่นซึ่งระบบกรองไบโอทำไม่ได้ ในกรองแบบ mechanical filter บางอันอาจเพิ่มการใช้สารกรองไนไตรท์ แต่ผมไม่แนะนำให้ใช้มัน ยกเว้นแต่ว่า คุณมีกรณีฉุกเฉินจากแอมโมเนีย มีระบบกรองบางอย่างที่น่าใช้มีการรวมระบบกรองแบบไบโอกับระบบแบบ mechanical filter ขอให้เข้าใจว่าระบบกรองแบบ mechanical filter ไม่ได้เป็นของที่จำเป็น ปลาของคุณสามารถมีชีวิตที่ยืนยาวได้โดยไม่ต้องพึ่งมันก็ได้ มันอาจแค่ทำให้คุณทำงานง่ายขึ้น และขอให้จำไว้ว่า หากไม่ได้ใช้ถ่านหรือคาร์บอน ขอให้คุณแน่ใจว่าคุณได้ถ่านน้ำบ่อยเพิ่มเป็นสองเท่าเพื่อเอาพวกมลพิษต่างๆออกไป ยังมีบางระบบกรองอากาศก่อนที่จะเข้าปั้มลมเพื่อกรองมลพิษก่อนที่จะส่งเข้าไปใช้ในตู้ปลา ซึ่งวิธีนี้เราสามารถทำได้เอง ผมเคยได้ยินว่ามีการผลิตเป็นสินค้าที่มีขายทั่วไป แต่ผมยังไม่เคยเห็นมันมาก่อน มันมีข้อดีที่ขจัดเอาสารมลพิษในอากาศออกไปก่อนที่จะปั้มเอาไปใช้ในตู้ปลา แต่โชคไม่ดี ,คุณไม่สามารถป้องกันสารมลพิษที่เข้าสู่ตู้ปลาทางผิวน้ำ นี่เป็นเหตุที่ว่า คุณไม่ควรจัดตั้งตู้ปลาหรือภาชนะเลี้ยงปลาในบริเวณที่มีฝุ่นควัน ซึ่งในกรณีนี้หากคุณใช้ที่กรองมลพิษสำหรับอากาศก่อนเข้าห้องเลี้ยงปลา คุณก็ยังต้องเปลี่ยนสารกรองคาร์บอนให้บ่อยกว่าที่กำหนดเป็น 2 เท่าที่ผู้ผลิตกำหนด ผมเคยใช้การกรองอากาศก่อนเข้าห้องเลี้ยงปลา ก็คราวเมื่อมีไฟป่าในบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ผมต้องทำหารหรองฝุ่นควันอยู่เป็นอาทิตย์ แม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถเก็บมลพิษได้หมด น้ำในตู้ปลายังเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สิ่งการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆจะช่วยในเรื่องนี้ได้ดีกว่า
เกลือทะเลเราสามารถใส่ลงไปในน้ำของตู้ปลา ผมใช้ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แกลลอนในตอนที่เริ่มตั้งตู้ปลา แล้วหลังจากนั้นทุกเดือนก็จะเปลี่ยนน้ำบางส่วนพร้อมๆกับเติมเกลือตามอัตราส่วนของน้ำที่เติมใหม่ เกลือจะช่วยรั้งอ็อกซิเจนไว้ในน้ำได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้ปลาสามารถสร้างผิวเคลือบป้องกันตัวปลาได้ดียิ่งขึ้น และเติมเกลือแร่เพื่อให้ปลาซึ่งสามารถดูดซึมผ่านผิวของมัน เกลือแร่เหล่านี้ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของกระดูกและเนื้อเยื่อของมัน เกลือยังสามารถทำหน้าที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่ต่อต้าน fungi , parasite ยังมีบางระบบกรองอากาศก่อนที่จะเข้าปั้มลมเพื่อกรองมลพิษก่อนที่จะส่งเข้าไปใช้ในตู้ปลา ซึ่งวิธีนี้เราสามารถทำได้เอง ผมเคยได้ยินว่ามีการผลิตเป็นสินค้าที่มีขายทั่วไป แต่ผมยังไม่เคยเห็นมันมาก่อน มันมีข้อดีที่ขจัดเอาสารมลพิษในอากาศออกไปก่อนที่จะปั้มเอาไปใช้ในตู้ปลา แต่โชคไม่ดี ,คุณไม่สามารถป้องกันสารมลพิษที่เข้าสู่ตู้ปลาทางผิวน้ำ นี่เป็นเหตุที่ว่า คุณไม่ควรจัดตั้งตู้ปลาหรือภาชนะเลี้ยงปลาในบริเวณที่มีฝุ่นควัน ซึ่งในกรณีนี้หากคุณใช้ที่กรองมลพิษสำหรับอากาศก่อนเข้าห้องเลี้ยงปลา คุณก็ยังต้องเปลี่ยนสารกรองคาร์บอนให้บ่อยกว่าที่กำหนดเป็น 2 เท่าที่ผู้ผลิตกำหนด ผมเคยใช้การกรองอากาศก่อนเข้าห้องเลี้ยงปลา ก็คราวเมื่อมีไฟป่าในบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ผมต้องทำหารหรองฝุ่นควันอยู่เป็นอาทิตย์ แม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถเก็บมลพิษได้หมด น้ำในตู้ปลายังเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สิ่งการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆจะช่วยในเรื่องนี้ได้ดีกว่า
เกลือทะเลเราสามารถใส่ลงไปในน้ำของตู้ปลา ผมใช้ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แกลลอนในตอนที่เริ่มตั้งตู้ปลา แล้วหลังจากนั้นทุกเดือนก็จะเปลี่ยนน้ำบางส่วนพร้อมๆกับเติมเกลือตามอัตราส่วนของน้ำที่เติมใหม่ เกลือจะช่วยรั้งอ็อกซิเจนไว้ในน้ำได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้ปลาสามารถสร้างผิวเคลือบป้องกันตัวปลาได้ดียิ่งขึ้น และเติมเกลือแร่เพื่อให้ปลาซึ่งสามารถดูดซึมผ่านผิวของมัน เกลือแร่เหล่านี้ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของกระดูกและเนื้อเยื่อของมัน เกลือยังสามารถทำหน้าที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่ต่อต้าน fungi , parasite

ยังมีบางระบบกรองอากาศก่อนที่จะเข้าปั้มลมเพื่อกรองมลพิษก่อนที่จะส่งเข้าไปใช้ในตู้ปลา ซึ่งวิธีนี้เราสามารถทำได้เอง ผมเคยได้ยินว่ามีการผลิตเป็นสินค้าที่มีขายทั่วไป แต่ผมยังไม่เคยเห็นมันมาก่อน มันมีข้อดีที่ขจัดเอาสารมลพิษในอากาศออกไปก่อนที่จะปั้มเอาไปใช้ในตู้ปลา แต่โชคไม่ดี ,คุณไม่สามารถป้องกันสารมลพิษที่เข้าสู่ตู้ปลาทางผิวน้ำ นี่เป็นเหตุที่ว่า คุณไม่ควรจัดตั้งตู้ปลาหรือภาชนะเลี้ยงปลาในบริเวณที่มีฝุ่นควัน ซึ่งในกรณีนี้หากคุณใช้ที่กรองมลพิษสำหรับอากาศก่อนเข้าห้องเลี้ยงปลา คุณก็ยังต้องเปลี่ยนสารกรองคาร์บอนให้บ่อยกว่าที่กำหนดเป็น 2 เท่าที่ผู้ผลิตกำหนด ผมเคยใช้การกรองอากาศก่อนเข้าห้องเลี้ยงปลา ก็คราวเมื่อมีไฟป่าในบริเวณใกล้เคียงเท่านั้น ผมต้องทำหารหรองฝุ่นควันอยู่เป็นอาทิตย์ แม้กระนั้นก็ยังไม่สามารถเก็บมลพิษได้หมด น้ำในตู้ปลายังเปลี่ยนเป็นสีเหลือง สิ่งการเปลี่ยนน้ำบ่อยๆจะช่วยในเรื่องนี้ได้ดีกว่า
เกลือทะเลเราสามารถใส่ลงไปในน้ำของตู้ปลา ผมใช้ 1 ช้อนชาต่อน้ำ 1 แกลลอนในตอนที่เริ่มตั้งตู้ปลา แล้วหลังจากนั้นทุกเดือนก็จะเปลี่ยนน้ำบางส่วนพร้อมๆกับเติมเกลือตามอัตราส่วนของน้ำที่เติมใหม่ เกลือจะช่วยรั้งอ็อกซิเจนไว้ในน้ำได้ดียิ่งขึ้น และช่วยให้ปลาสามารถสร้างผิวเคลือบป้องกันตัวปลาได้ดียิ่งขึ้น และเติมเกลือแร่เพื่อให้ปลาซึ่งสามารถดูดซึมผ่านผิวของมัน เกลือแร่เหล่านี้ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตของกระดูกและเนื้อเยื่อของมัน เกลือยังสามารถทำหน้าที่สร้างสิ่งแวดล้อมที่ต่อต้าน fungi , parasite และยังช่วยป้องกันโรคต่างๆโดยวิธีธรรมชาติ ด้วยวิธีช่วยสร้างผิวเคลือบป้องกันตัวมันที่แข็งแรง ( Slime Coat ) ราคาเกลือทะเลถ้าซื้อในร้านขายสัตว์เลี้ยงจะแพงกว่าเมื่อเทียบกับที่ซื้อจากร้านขายอาหารเพื่อสุขภาพ ถึงแม้เกลือทะเลที่ซื้อจากร้านขายสัตว์เลี้ยงจะมีเกลือแร่มากกว่า แต่มันก็ไม่จำเป็นที่จะต้องจ่ายแพงขนาดนั้น ขอให้แน่ใจว่าเกลือที่ใช้ไม่ใช้ Table Salt , Iodized Salt , anti-caking ingredient เกลือที่ใส่สารป้องกันการจับตัวหรือแข็งตัว แต่อย่างไรก็ตาม. อย่าใช้เกลือมากกว่าที่กำหนด การใช้ปริมาณที่มากเกินไปจะทำให้เกิด ภาวะการถูกเผาทางเคมี Chemically Burn ซึ่งทำให้ปลาถึงตายได้ บางครั้งคุณอาจใช้เกลือในปริมาณที่สูง ก็ทำได้ในช่วงสั้นๆเท่านั้นเพื่อใช้รักษาโรคที่พิเศษเท่านั้น แต่ไม่สามารถทำเป็นวิธีที่ใช้ทั่วๆไปเป็นประจำ
การเปลี่ยนน้ำบ้างเป็นครั้งคราวเป็นเรื่องที่จำเป็น ภายใต้สภาวะทั่งไป ถ้าคุณมีการใช้คาร์บอนอยู่ในเครื่องกรองการเปลี่ยนน้ำเดือนละครั้งก็เพียงพอแล้ว การเปลี่ยนน้ำบางส่วนอย่างสม่ำเสมอก็เป็นการรักษาการเจ็บป่วย โดยการลดน้ำที่มีเชื่อโรคหรือเคมีที่ทีปัญหาออกไป บางครั้งการเปลี่ยนน้ำบางส่วนก็ทำเมื่อไม่มีระบบกรองแบบMechanical ในกรณีนี้สิ่งที่ได้อาจไม่ได้ประโยชน์ในเรื่องภาพลักษณ์ ( น้ำอาจไม่ใสแจ๋งดูดี ) แต่ขอให้จำไว้ว่า ถ้าคุณสามารถหลีกเลี่ยงได้ อย่าเปลี่ยนน้ำเกินกว่า ½ ในครั้งเดียวนั้น ถ้าคุณใช้น้ำบ่อ คุณจำเป็นต้องเก็บน้ำทิ้งไว้1 อาทิตย์ น้ำบ่อมักมีแก๊สในรูปแบบเฉพาะตัว ซึ่งอาจมีอัตรายกับปลาของคุณ เมื่อคุณกักน้ำไว้แก๊สเหล่านี้จะคายตัวออกไป ถ้าคุณอยู่ในเขตเมือง น้ำที่คุณใช้จำเป็นต้องกำจัดคลอรีนหรือคลอรามาย โดยอาจใช้เคมีที่มีขายตามร้านขายสัตว์เลี้ยง หรืออาจใช้วิธีกักน้ำทิ้งไว้ 3 วันจึงค่อยนำไปใช้ ถ้าเป็นคลอรามายต้องใช้วิธีเฉพาะ เมื่อคุณแน่ใจแล้วว่าน้ำปราศจาก คลอรีน . คลอรามาย . แก๊สในน้ำแล้ว คุณยังจำเป็นต้องใส่เกลือ เมื่อจะเอาน้ำไปใช้ขอให้แน่ใจว่าน้ำที่จะเอาไปใช้มีอุณหภูมิเท่ากันกับน้ำในตู้ปลาให้มากที่สุดเท่าที่คุณสามารถทำได้ เมื่อใช้น้ำที่กักไปแล้วก็เอาน้ำใหม่มาเติมเพื่อเอาไว้ใช้ในรอบต่อๆไป น้ำก็ยังมีการระเหยออกไป คุณอาจเติมน้ำใหม่ลงไปแทนที่น้ำที่ระเหยออกไป โดยไม่ต้องใส่เกลือ เพราะเกลือไม่ได้ระเหยออกไปด้วยภาคที่ 2 อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูง
ปลาหางนกยูงเป็นปลาประเภท Omnivorous ปลาที่กินทั้งพืชและสัตว์ โดยเฉพาะเมื่ออยู่ในธรรมชาติ มันกินอาหารได้หลากหลายมาก ถ้าคุณเคยเห็นปลาที่หลังโก่งหลังค่อม การเสียรูปทรงหรือพิการนั้นอาจมาจากภาวะการขาดอาหารทางโภชนาการมากกว่ามาจากปัญหาในเรื่องรหัสทางพันธุกรรม การขาดอาหารจากภาวะทางโภชนาการ ยังเป็นต้นเหตุให้ ลูกปลาตัวเล็กลง . เล็กมาก การคลอดก่อนกำหนด การแท้งลูก ถ้าคุณเลี้ยงปลาด้วยอาหารเพียงชนิดเดียว ปลาของคุณอาจหยุดให้ลูก อาหารปลาที่มีขายทั่วๆไป ทางผู้ผลิตก็พยายามผลิตอาหารที่เฉพาะเจาะจงสำหรับปลาหางนกยูง ถึงแม้อย่างนั้นมันก็เหมือนจะยังไม่สมบูรณ์แบบเราอาจซื้ออาหารปลาให้ปลากิน แสริมสารอาหารด้วยอย่างน้อย 1 อย่างจากสิ่งเหล่านี้ คือ Brime Shimp Tubifex worm Blood worm Mosquito larva small insect , small worm-like creature ร้านขายสัตว์เลี้ยงมักเก็บสิ่งเหล่านี้ในรูปในรูปที่แช่แข็ง หรือ ทำให้แห้งด้วยการทำให้เยือกแข็ง มีบางครั้งเท่านั้นที่อยู่ในรูปที่ยังมีชีวิต หรืออาจซื้ออาหารสำเร็จสำหรับ Tropical Fish จากนั้นควรมีการหมุนเวียนอาหาร ให้อาหารปลาของคุณเปลี่ยนไปไม่ซ้ำกันในแต่ละมื้อ อาหารปลาที่ผลิดจาก แพลงตอนและสาหร่ายก็เป็นอาหารที่ดีเพื่อช่วยเสริมธาตุอาหาร ยิ่งมีการหมุนเวียนอาหารให้กับปลาของคุณมันยิ่งมีโอกาสได้รับสารอาหารที่มันต้องการและจำดป็นมากยิ่งขึ้นคำเตือน อย่าให้ Cyclop กับปลาหางนกยูงของคุณ เพราะสิ่งมีชีวิตเล็กๆเหล่านี้ จะนำพา Parasite ซึ่งมันอันตรายกับปลามาก ทั้งยังกำจัดมันออกไปยากมาก
นอกจากเรื่องสารอาหารแล้ว ความบ่อยก็เป็นเรื่องที่สำคัญ มันจะดีกว่าที่เราจะให้กินแต่ละมื้อน้อยๆ จะดีกว่าการให้การให้กินมื้อใหญ่ๆมื้อเดียว ผมพบว่าการให้อาหารที่น้อยกว่า 3 มื้อ ลูกปลาจะ ไม่สามารถเติบโตได้รวดเร็วและใหญา อย่างที่มันควรจะได้และเป็น สำหรับปลาใหญ่ มันจะหิวมากระหว่างแต่ละมื้อและมันก็เริ่มกินลูกปลา ผมเคยได้ยอนว่านักเลี้ยงมืออาชีพเลี้ยงปลามากถึง 6 มื้อต่อวัน อย่างไรก็ตาม คนส่วนใหญ่ไม่สามารถมีเวลาอย่างนั้นได้ ถึงแม้มันจะคิดว่าเป็นเรื่องที่จำเป็นก็ตาม
มีอาหารที่ผลิตขึ้นมาที่ขายในรูป ตัวช่วยกระตุ้นความอยากกินอาหาร และ ขายในรูปส่วนช่วยของอาหารปลา มันน่าตกใจมากทีเดียว ยี่ห้อที่ผมใช้อยู่ชื่อ Cravex ซึ่งอาจมียี่ห้ออื่นๆขายอยู่ในตลาดเช่นกัน คุณสามารถพบมันในส่วนที่ขายเวชภัณฑ์ในร้านขายสัตว์เลี้ยง ที่จริงแล้วมันก็เป็น
ไวตามิน + เกลือแร่ +โปรตีน ที่ใส่ลงในน้ำ ไม่มีฮอร์โมนที่เร่งการเติบโตหรือฮอร์โมนอื่นๆอยู่เลยที่จริงก็มีไวตามินขายอยู่เหมือนกัน ซึ่งมันก็ทำหน้าที่กระตุ้นความอยากอาหารเหมือนกัน และสามารถใช้มันร่วมด้วยได้เช่นกันปลาจะดูดซึมสารอาหารผ่านทางผิวหนังได้ด้วย ดังนั้นปลาจึงสามารถได้รับไวตามินได้ด้วยถึงแม้มันจะไม่ได้กินลงไปเองก็ตามหลังที่ที่ได้พบผลิตภัณฑ์เหล่านี้ ปลาหางนกยูงของผมไม่เพียงแต่มีสุขถาพที่ดีขึ้น แต่ลูกปลาเล็กๆของผมยังมีขนาดที่ใหญ่ขึ้นเป็น 2 เท่าด้วย มันเป็นเรื่องที่น่าพิศวง ที่เมื่อปลาได้มีการพัฒนาอย่างมากมายเมื่อ มันได้รับอาหารที่หลากหลาย เพราะมันต้องการได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนนั่นเอง แน่นอนคุณก็เพียงให้อาหารที่หลากหลายชนิดเท่านั้นเอง ที่จริงผมอย่างให้คิดในรูปที่ว่าเป็น การรับประกันทางด้านความครบถ้วนของสารอาหาร NUTRITIONAL INSURANCEภาคที่3 BREEDING การผสมพันธุ์ปลาหางนกยูงแฟนซี
คุณคงทราบอยู่แล้วว่าปลาหางนกยูงเป็น ปลาออกลูกเป็นตัว ( LIVE - BEARER ) ดังนั้นมันจึงไม่การไข่หรือวางไข่ แต่จะคลอดลูกปลาออกมาเป็นตัวเลย ตัวเมียจะมีขนาดใหญ่กว่าตัวผู้เท่าตัว ตัวเมียจะมีสีสรรที่อ่อนๆอมเทา อาจมีสีสรรที่สดใสบ้างเล็กน้อยที่บริเวณหาง โดยทั่วไปตัวผู้จะมีสีสรรสดใสสวยงามทั่วทั้งตัว และมันสามารถผสมพันธุ์เพื่อให้ได้เกือบทุกสีที่มีในสีแถบสีรุ้ง ตัวผู้จะมีหางที่ยาวกว่า ที่ครีบทวารมันได้พัฒนามาเป็ฯ อวัยวะเพศผู้ (GONOPODIUM ) หลอดครีบทวาร นี้จะใช้เป็นอวัยวะที่ผสมพันธุ์กับปลาเพศเมีย
ปลาหางนกยูงจะมีอายุที่พร้อมทำพันธุ์เมื่อมีอายุ 6 เดือน ซึ่งก็ไม่แน่นอนขึ้นอยู่กับอุณหภูมิของน้ำที่ใช้เลี้ยง เมื่อมาถึงตอนที่ได้ลูกปลา ปลาทั้งหมดตอนเป็นปลาเล็กๆ มันจะดูเหมือนปลาตัวเมียไปหมด หลังจากอายุ 1 อาทิตย์ ลูกปลาเพศผู้จะมีมีที่เปลี่ยนไปโดยทันที และครีบทวารจะเริ่มเปลี่ยนเป็น โกโนโพเดียน แน่นอนมันอาจแยกเพศได้ก่อนหน้านี้ แต่ต้องเอาลูกปลาวางไว้ตรงที่มีแสงสว่างส่องแล้วใช้กล้องขยาดดู เพื่อหางปลาที่มี จุดรังไข่ ( Pregnancy spot ) ซึ่งมันจะปรากฎเฉพาะในปลาเพศเมียเท่านั้น การทำอย่างนี้เป็นเรื่องที่ยุ่งยากมากโดยเฉพาะถ้าคุณมีลูกปลามากๆ มันจะกินเวลามากๆๆเลยทีเดียว ให้คัดแบบที่ผมได้แนะนำในตอนต้น หากคุณมีแผนงานที่จะแยกเพศปลาเพื่อแยกตู้เลี้ยงมันเหมือนอย่างที่นักเลี้ยงมือโปรทำกัน คุณอาจใช้วิธีแยกเพศมันตอนที่มันเริ่มโตและแสดงเพศตอนที่เริ่มเข้าสู่วัยผสมพันธุ์ก็ได้ เพราะตอนนั้นความแตกต่างจะเกิดขึ้นอย่างชัดเจน ตอนนั้นปลาตัวผู้จะเริ่มสนใจในเรื่องการผสมพันธุ์
ปลาตัวเมียตัวหนึ่งสามารถให้ลูกได้ถึง 5 ครอก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับตัวเมียเอง,สารอาหารและสวาวะของน้ำ คุณสามารถคาดได้ว่าตัวเมียจะออกลูกครอกใหม่ได้ในทุก 4 อาทิตย์ ปลาตัวเมียบางตัวอาจมีรอบที่นานกว่านี้ ซึ่งถ้าหากไม่นี้แนวโน้มหรือปัจจัยที่มาจากปัญหาเรื่องของสารอาหารหรือปัญหาของน้ำหรือสภาวะแวดล้อมแล้ว ก็อย่าไปห่วงเรื่องนี้เลย แม่ปลาของผมตัวหนึ่งมันจะให้ลูกทุก 8 อาทิตย์ ลูกปลาของเธอก็ดูตัวเล็กแต่ก็แข็งแรงมีสุขภาพดี โดยประสพการของผมแล้ว ลูกปลาแต่ละครอกมีจำนวนประมาณ 12 – 46 ตัว ซึ่งผมเองยังไม่เคยเห็นเอกสารที่วิจัย รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ ผมจึงถือว่าตัวเลขนี้เป็นอัตราปกติ ปลาสาวจะสามารถให้ลูกปลาได้มากกว่าแม่ปลามี่มีอายุมาก,แก่ ปลาตัวเมียจะหยุดให้ลูกเมื่อมีอายุประมาณ 18 เดือนและปลาตัวผู้ก็จะสูญเสียความรู้สึกสนใจในเรื่องการผสมพันธุ์ มันจะเริ่มสนใจได้อีกหากมันไม่ต้องใช้ความพยายามมากเกินไปนัก ในช่สงอายุนี้โดยเฉพาะปลาตัวเมียมันจะมีน้ำหนักตัวมากทีเดียว ในหนังสือบางเล่ม บอกว่าเขาเอาปลาเหล่านี้ไปควบคุมอาหาร อย่างไรก็ตามปลาหางนกยูงมีอายุประมาณ 2 ปี ซึ่งการควบคุมอาหารในช่วงชีวิตนี้ของปลาที่เหลือคือ 6 เดือนผมดูว่ามันจะไม่มีผลที่ดีขึ้นเลย
ถ้าคุณต้องการปลาหางนกยูงสำหรับเอามาใส่ตู้ที่จัดๆไว้เป็นตู้โชว์ ผมแนะนำให้คุณสั่งซื้อปลาที่ทั้งตัวผู้และตัวเมียนั้นเป็นปลาที่เหมือนกัน วิธีนี้คุณจะได้ไม่ต้องมายุ่งยากกับการที่ได้ลูกปลาที่มีสีสรรที่น่าเกลียดผิดไปจากพ่อแม่ วิธีนี้เมื่อลูกปลาไม่ผิดไปจากพ่อแม่คุณก้สามารถเลี้ยงทั้งตัวผู้ตัวเมียลูกปลาไว้ในตู้เดียวกันได้ เมื่อปลาในตู้ปลาเริ่มแน่น ปลาใหญ่ก็จะเริ่มกินลูกปลาเล็กๆ วิธีนี้จะดูเหมือนโหดร้าย แต่ลองคิดดูว่าอะไรจะเกิดขึ้นถ้าหากลูกปลาทั้งหมดรอดและ 7 เดือนหลังจากนั้นเมื่อลูกปลาเหล่านี้ให้ลูกปลาใหม่ออกมา เมื่อใดที่มีปลาใหญ่น้อยกว่าลูกปลาเล็กก็จะมีโอกาสรอด ในกรณีสถาณะการณ์แบบนี้ คุณจะมีตัวผู้น้อยกว่าตัวเมีย ถ้ามีตัวผู้มากกว่าตัวเมียจะเหนื่อยจนหมดแรง จนถึงอาจตายได้ จากนั้นตัวเมียที่เหลือก็จะยิ่งแย่ลงไปอีกและตายมากขึ้นอีก จากนั้นก็จะไม่เหลือตัวเมีย หนังสือส่วนใหญ่จะเขียนขึ้นมาโดยเลี้ยงปลาอย่างเดียวเต็มเวลาแบบเลี้ยงเป็นอาชีพ ซึ่งมักแนะนำให้ซื้อตู้มากขึ้น นักเลี้ยงที่เอาจริงเอาจังจะยิ่งต้องการตู้มากยิ่งขึ้น เขาจะมี ตู้สำหรับปลาตัวผู้ที่โตแล้ว ตู้สำหรับปลาตัวเมียที่โตแล้ว ตู้สำหรับลูกปลาตัวผู้ ตู้สำหรับลูกปลาตัวเมีย ตู้ปลาสำหรับพ่อแม่พันธุ์ ตู้ปลาสำหรับคลอดลูก ตู้ปลาสำหรับพ่อแม่พันธุ์ที่แก่ปลดออกแล้ว เพื่อรวมไปขายให้เป็นอาหารสำหรับปลาตระกูลอื่นพวกเราส่วนใหญ่มานะทุ่มเทที่จะเลี้ยงปลา , มีตู้ปลามากมายขนาดนั้น เราเพียงมีตู้ปลา 20 – 30 ตู้ สำหรับที่เลี้ยงที่มีความอบอุ่นแล้ว โรงรถ ก็เป็นที่ที่เราสามารถเลี้ยงปลาตัวผู้เพื่อสร้างความประทับใจให้กับแขกของเราที่ห้องนั่งเล่นได้
ถ้าหากคุณต้องการการควบคุมอย่างมากในการที่ ลูกปลาจะออกมาอย่างไร แต่ไม่ต้องการที่จะอุทิศ, ทุ่มเทเวลาทั้งวันทั้งคืนไปกับการเลี้ยง,การให้อาหาร,การทำความสะอาด ผมของอนุญาตแนะนำให้คุณจัดตู้ไว้สัก 2 ใบ
ใบหนึ่งไว้สำหรับเลี้ยงตัวผู้ อีกตู้ไว้สำหรับเลี้ยงตัวเมียและลูกปลา โดยแยกตัวใส่ไว้ในที่แยกแบบตาข่าย ( Breeding trap or net ) แล้วเชิญแขกของคุณมาชมตู้เลี้ยงตัวผู้และตู้ที่เลี้ยงตัวเมียที่คุณชื่นชอบ คุณไม่ต้องกังวลมากนักกับการที่ผสมแบบ Inbreeding ในปลาหางนกยูงเพราะสัตว์สปีชี่นี้ไม่เกิดข้อด้อยที่ทำให้เกิดอาการถึงตายได้( Fatal recessive gene )
เมื่อคุณมาถึงจุดที่ลูกปลาที่ออกมาเกิดข้อด้อยมากมาย คุณก็เพียงเอาตัวผู้ใส่ลงไปเลี้ยงที่ตู้ตัวเมียโดยตรง แล้วก็ให้มันได้พบกับฮาเร็ม นี่เป็นการให้มันได้ความหลากหลายในเชิงพันธุกรรม เรื่องนี้ความยากส่วนใหญ่คือเมื่อปลาเล็กมันพร้อมที่จะผสมพันธุ์ คุณต้องย้ายลูกปลาตัวผู้ไปเลี้ยงที่ตู้ปลาตัวผู้ทันที มันจึงกลายเป็นเรื่องที่ยาก หากคุณไม่มีเวลาให้มัน ที่จะคัดแยกมันออกจากกันภาคที่ 4 การเจ็บป่วยของปลา
เป็นเรื่องที่โชคดี ที่การเจ็บป่วยส่วนใหญ่สามารถป้องกันได้ด้วยการดูแลรักษาตู้ปลาที่ดีและถูกต้อง ขอให้เชื่อผมเถอะ การใช้เวลาไม่มากเพื่อทำความสอาดที่กรองและพื้นตู้ปลา มันคุ้มค่ามากทีเดียว เช่นกัน, หลังจากที่คุณจัดตั้งตู้ปลา ( Aquarium )เรียบร้อยแล้ว อย่าใส่ปลาจนกว่า 2 อาทิตย์ไปแล้วที่คุณได้เลี้ยงมันในภาชนะที่แยกไว้เสียก่อน ปลาที่ดูแข็งแรงสมบูรณ์สามารถซ่อนการเจ็บป่วย,เชื้อโรคที่รุนแรงได้ เช่นกันทุกตู้มีเชื้อโรคอยู่เช่นกัน เมื่อปลาตัวหนึ่งถูกย้ายมาจากสิ่งแวดล้อมหนึ่งมายังอีกแบบหนึ่ง มันจะกลายเป็นอ่อนไหวง่ายต่อโรคและการเจ็บป่วย โรคปลาโรคหนึ่งที่ย้ายติดไปยังปลาอื่นยิ่งอ่อนไหวง่ายยิ่งขึ้นไปอีก
ถ้ามีเพียงปลาหนึ่งหรือสองตัวที่ป่วย ก็ให้ย้ายมันไปรักษาในตู้หรือภาชนะต่างหากไป วิธีนี้จะป้องกันปลาที่เหลือออกจากการแพร่ระบาดของโรคและการที่จะต้องกระทบกับยาที่อันตราย หากปลาส่วนใหญ่ติดโรค ให้คุณรีบย้ายปลาที่ท้องและลูกปลาออกเพราะมันไตดโรคได้ง่ายเท่าปลาอื่น แต่มันจะได้ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงคุณภาพน้ำที่รุนแรงและการใช้ยามันจะได้รับผลกระทบที่เป็นอันตรายมากกว่า บางทีวิธีที่เร็วที่สุดที่คุณควรลองดูก่อน คือ การรักษาโดยใช้เกลือ คุณจะพบการอธิบายการใช้เกลือรักษาโรคในตอนท้ายของบทนี้ หากปลาของคุณยังดูป่วยอยู่หลังจากการใช้เกลือ และคุณยังรู้สึกไม่ปลอดภัยในปัญหานี้ ร้านขายสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่จะมีความรู้ที่จะช่วยคุณหาสมมุติฐานของโรคและเลือกยารักษาได้ ขอให้แน่ใจว่าคุณได้ให้เขาทราบว่า คุณได้ใช้เกลือแล้วด้วย เพราะเกลืออาจมีผลกระทบกับยาบางตัว หากเขาไม่ทราบว่าทำไมคุณจึงใช้เกลือกับปลาน้ำจืด นั่นหมายความว่าเขาหรือเธอไม่มีความรู้พอที่จะช่วยคุณ ในกรณีนี้คุณควรหาคนอื่นหรือร้านอื่น เช่นกันหากคุณใช้กรองไบโอ ( ซึ่งคุณควรใช้ )เขาก็ควรทราบด้วย เพราะตัวยาบางตัวจะฆ่าระบบทั้งหมดในกรองไบโอ ส่วนใหญ่การเจ็บป่วยจะมีวิธีรักษาที่แตกต่างกันออกไปที่จะไม่ทำร้ายระบบกรองไบโอของคุณ และหากระบบกรองไบโอตาย คุณก็มีปัญหาที่หนักขึ้นไปอีก มากกว่าการจ็บป่วยในตอนเริ่มต้น การรักษาบางวิธีก็ทำอันตรายกับพืชไม้น้ำ ,หอย และปลาตระกูลอื่นๆในตู้ด้วย ดังนั้นขอให้ระมัดระวังว่าคุณซื้อยาอะไรและขอให้ใช้ตามเอกสารที่แนะนำมา
TAIL ROT & FIN ROT โรคหางเปื่อยและครีบเปื่อยโรคนี้สามารถป้องกันได้โดยรักษาระดับของแอมโมเนียและไนไตรท์ให้อยู่ในระดับต่ำ ,เติมเกลือในช่วงเวลาปกติและการแยกกักกันการติดโรคจากปลาใหม่ที่นำเข้ามา ปลาหางนกยูงมีความไวต่อโรคนี้ สามารถเป็นได้ง่าย คุณจะเห็นรอยขาดๆขรุขระที่ขอบของปลายหาง ปลารุ่นใหญ่ที่แข็งแรงครีบหางขอบหางควรจะตรงเรียบ ส่วนปลารุ่นหนุ่มสาวอาจมีรอยขรุขระบ้างบางช่วงเนื่องจากการเติบโตจอย่างไม่สม่ำเสมอ ส่วนการเป็นโรคหากถ้ายังเป็นต่อไป มันตะลามไปยังครีบอื่นๆและขอบของครีบจะกลายเป็นสีขาว บางครั้ง(แต่ไม่เสมอไป ) ครีบต่างๆจะเป็นจุดแดงสีเลือด ถ้าโรคนี้ยังดำเนินต่อไป มันสามารถทำให้ปลาของคุณตายได้ จากตัวอย่างศพปลาที่เป็นโรคนี้พบว่ามันจะมีทั้งการอยู่ร่วมกันของทั้งแบคทีเรียและเชื้อราอยู่ที่ครีบต่างๆ บางครั้งพบว่ามีการติดเชื้อโรคแบคทีเรียจากอวัยวะภายในแล้วลามมาที่ครีบก็มี คุณอาจใช้เกลือรักษา ( วิธีการจะพูดต่อไปทีหลัง ) หากยังไม่ได้ผล ให้ใช้ยาปฎิชีวนะ เช่น เตตร้าไซคริน ซึ่งถ้าคุณมีใช้กรองไปโอ ยาจะฆ่าระบบกรองของคุณ
Camallanus ค่อนข้างเป็นของธรรมดาในกลุ่มปลาหางนกยูง มันเป็นหนอนลำไส้กลมๆสีส้มหรือสีแดง ซึ่งมันอาศัยอยู่ในเลือดและของเหลวอื่นๆในร่างกายของพวก Live-bearers คุณอาจพึ่งเคยสังเกตเห็นเป็นครั้งแรกเมื่อพบว่า เห็นมันยื่นโผล่ออกมาจากทวารของปลาของคุณ แต่ก็โชคดีที่การป้องกันทำได้ง่ายมากๆ เพียงคุณอย่าเลี้ยงปลาของคุณด้วย Cyclop ( don’t feed your fish Cyclops ) มันเป็นสัตว์ที่เล็กมาก ซึ่งแน่นอนปลาชอบกินมาก แต่โชคร้ายที่ไซครอปนั้นนำพา camallanus มาด้วย แม้แต่ไซครอปที่ทำขายกัน ก็ยังอันตราย ดังนั้นจึงเป็นเหตุผลที่ต้องมีการล้างพืชนี้ให้สะอาดและไล่น้ำออกจนหมดจากพืชชนิดนี้เพราะไซครอปจะมี camallanus เกาะติดอาศัยมาด้วย ผมเลิกใช้ไซครอปอย่างถาวร ผมสูญเสียปลาที่ดีที่สุดไปมากมายก่อนที่จะรู้ว่าอะไรที่ผิดปกติและเป็นปัญหา คุณอาจจะต้องการบางสิ่งบางอย่างมาฆ่าปรสิตพวกนี้ที่นำพาความเจ็บป่วยมาสู่ปลาของคุณ ลองไปที่ร้านขายสัตว์เลี้ยงปรึกษาเพื่อหาวิธีกำจัดมันออกไป อย่าลืมบอกด้วยว่าคุณมีเลี้ยงปลาตระกูลอื่นอะไรบ้างในตู้ปลาของคุณ โดยเฉพาะอย่างยิ่งพวกหอย การรักษาโรคนี้เป็นเรื่องอันตรายอย่างยิ่ง ดังนั้นขอให้คาดไว้เลยว่าคุณจะต้องเสียปลาบางส่วนไป โดยเฉพาะปลาที่ท้อง มันอาจจะแท้ง เพราะยาที่รักษานั้นค่อนข้างที่จะรุนแรงสำหรับมัน
Ich อิ๊ค เป็นโรคที่ระบาดติดต่อเนื่องจากโปรโตซัวที่ชื่อ ichthyophthirus ในตู้ปลาเกือบทุกตู้จะมีเชื้อตัวนี้อยู่และปลาเกือบทุกตระกูลสามารถติดเชื้อตัวนี้ได้ ปลาเกือบทั้งหมดดูเหมือนจะได้รับเชื้อนี้เมื่อย้ายไปตู้ใหม่ที่ใหม่ เชื้อตัวนี้ดูเหมือนจะกบดานอยู่เงียบๆตราบเท่าที่ปลาของคุณจะปราศจากความเครียด อาการแรกที่มันแสดงออกว่ามันติดเชื้อแล้ว คือ ปลาจะว่ายถูตัว ซึ่งดูเหมือนวันจะทำให้ตัวมันเจ็บปวดด้วยการถูไปตามสิ่งของที่อยู่ในตู้ปลา เนื่องจากมันเหมือนกับเรื่องพิษจากแอมโมเนีย มันจะไม่ทำอันตรายปลาเลยหากคุณรักษาความสะอาดในตู้ปลาของคุณดีและเก็บของเสียที่หมักหมมที่พื้นตู้ แอมโมเนียก็เป็นอีกตัวที่สามารถทำให้ปลาเครียดซึ่งก็เหมือนไปกระตุ้นให้โรคนี้เริ่มขึ้น หลังจากที่ปลามีอาการถูตัวไปตามตู้ปลาสัก 2- 3 วันจะมีจุดขาวๆเล็กๆ มีขนาดเล็กประมาณขนาดของเกลือผงจะเกิดอยู่ตามตัวปลา หลังจากที่คุณเห็นจุดขาวจุดแรกบนตัวปลาแล้ว หลังจากนั้นเพียงไม่กี่ชั่วโมงมันสามารถขยายจนครอบคลุมตัวปลา หลังจากที่มันเกิดครอบคลุมตัวปลาแล้ว จุดเหล่านี้มันจะร่วงหล่นลงไปที่พื้นตู้ ซึ่งจะเป็นที่ที่พวกมันจะขยายตัวเป็นทวีคูณ แล้วมันก็จะถึงขั้นตอนในวงจรชีวิตที่มันจะว่ายน้ำ การรักษษโรคนี้คุณอาจจำเป็นต้องรักษษทีเดียวทั้งตู้ โดยเพื่ออุณหภูมิขึ้นมาเป็น 80 - 85 ฟ เพราะเชื้อนี้มันมีชีวิตอยู่ได้ยากที่ช่วงอุณหภูมินี้ ให้ปลาอยู่ที่ช่วงอุณหภูมินี้จนกว่าหายดี อย่ากังวลเลย ปลาของคุณสามารถมีชีวิตได้จากการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิชั่วคราว เพราะในตู้ปลามีอ็อกซิเจนเหลือเฟือ และเพราะการที่มีเมือกเคลือบปลา ( Slime coat ) ที่ดีจะช่วยกลายเป็นเกราะปกป้องทางธรรมชาติจากอิ๊ค โดยทั่วไปผมจะใส่เกลือเพิ่มเป็นสองเท่าจากปกติ จากนั้นก็ไปที่ร้านขายสัตว์เลี้ยง เพราะโรคนี้เป็นโรคทั่วไป ปลาเกลือทุกตระกูลมีโอกาสเป็น ดังนั้นที่ร้านจะมียาหลายอย่างที่ใช้ได้ผลดีเพื่อใช้รักษา ขอให้คุณแน่ใจว่าคุณยังรักษาต่อเนื่องไปจนครบตามที่มีใบแนบแนะนำไว้เพราะเชื้ออิ๊คในระดับที่ว่ายน้ำเองได้สามารถมีชีวิตอยู่ได้ยาวนานถึง 10 วันในขณะที่ปลาของคุณไม่ได้แสดงอาการป่วยเลย
Velvet ( Oodinium ) มันเป็นโปรซัว ที่สามารถติดเชื้อกับปลาหางนกยูง มัยจะดูคล้ายเมือกเหลืองๆ ดังนั้นจึงสังเกตยากเมื่ออยู่ที่ปลาสีอ่อน ปลามันก็จะว่ายน้ำเอาตัวถูไปมาเหมือนโรคอิ๊ค อย่าใช้วิธีรักษาโรคแบบใช้อุณหภูมิ เพราะจะไม่มีผลกระทบกับมัน แต่อย่างไรก็ตามเราก็รักษาต่อไปโดยใช้เกลือเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว นั่นเพื่อเป็รนการช่วยสร้าง slime coatให้เกิดเพิ่มมากยิ่งขึ้น จากนั้นเราก็วื้อยาสักอย่างที่ใช้รักษาโรคนี้ได้เพราะมันมีอยู่มากมายหลายหลาก เหมือนกับโรคอิ๊ค ให้รักษาให้ครบตามที่แนะนำ เพราะมันยังมีปรสิตที่ว่ายน้ำที่เราต้องรักษากำจัดให้หมด
Anchor Worm หนอนสมอ ( Lernaea cyprinacea ) ที่จริงมันเป็นปรสิตในตระกูล copepoda (ซึ่งจะมีรูปร่างเป็นแท่งยาว มีหางเป็นเหมือนซ่อม ) ที่จริงมันดูเหมือนพวกกุ้งมากกว่าที่จะเป็นหนอน มันดูเหมือนแท่งสั้นๆ มันจะแทงตัวเข้าไปในผิงหนังของปลาของคุณ คุณจำเป็ฯต้องสั่งซื้อยารักษาที่มีผลิตขายและการรักษาต้องทำอย่างต่อเนื่องถึง 6 อาทิตย์ เหมือนกับการรักษาปรสิตอื่นๆมันค่อนข้างรุนแรงกับปลาของคุณ อย่าคาดว่าตัวเมียของคุณจะให้ลูกปลาในช่วงใกล้ๆนั่น
Popeye หรือ Exophthallamos มันเป็นสันญานของการเจ็บป่วยจากส่วนอื่น โดยทั่วไปเป็นการเจ็บป่วยจากภายใน มีการเกิดถุงลม,ถุงน้ำที่ด้านหลังดวงตายิ่งเกิดมากขึ้นมันจึงเป็นสาเหตุให้ตาโปนออกมา คุณคงต้องปรึกษาร้านสัตว์เลี้ยงเพื่อลองรักษาหลายๆวิธี เพื่อจัดการกับต้นเหตุซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุที่ทำให้เกิดถุงน้ำจนทำให้ตาโปนออกมา
Dropsy เกล็ดตั้ง เกิดขึ้นจากการที่พองบวมของท้องอย่างมากมาย เมื่อเกิดการพองขึ้นอย่างมากมายจนทำให้เกล็ดตั้งขึ้นมา ปลาก็จะว่ายน้ำอย่างยากเย็น มันเกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียจากภายใน คุณอาจผสมยาปฎิชีวนะกับอาหาร แต่อย่าไปลองดูเลย ที่จริงสมุติฐานของโรคในตอนเริ่มต้นมันเกิดขึ้นจากอย่างอื่นก่อน dropsyเป็นการเจ็บป่วยที่สุดท้ายไปจบที่การตายเสมอ ปลาตัวใดตัวหนึ่งที่เป็นโรคนี้อาจมีชีวิตอยู่ได้หลายอาทิตย์ โรคนี้อาจเกิดขึ้นเพราะ การมีระดับของแอมโมเนียหรือไนเตรดในน้ำที่สูงเกินไป และขาดการรักษา จนกลายเป็นการทำลายระบบร่างกายภายในอย่างรุนแรง หากการเจ็บป่วยเกิดขึ้นจากแบคทีเรียในธรรมชาติ คุณต้องแยกปลาที่ป่วยออกไป เพื่อป้องกันการระบาดของเชื้อโรค โดยทั่วไปผมแนะนำให้ทำให้มัรนหลับ โดยเอามันใส่ในที่แช่แข็ง พออุณหภูมิขบวนการในร่างกายจะลดลง มันจะรู้สึกง่วงและหลับไปก่อนที่จะแช่แข็ง วิธีนี้จะกรุณากว่าการที่จะให้มันตายจากการเจ็บป่วยจากโรคนี้อย่างช้าๆ( นี่ความคิดสไตล์ฝรั่ง นะครับ ...ผู้แปล)ภาคที่ 5 การรักษาโดยใช้เกลือ
การรักษาโดยใช้เกลือ คุณสามารถใช้เป็นสิ่งที่ใช้รักษาเป็นสิ่งแรกได้เลย ถึงแม้คุณยังไม่แน่ใจถึงต้นเหตุของการป่วย โดยเฉพาะการรักษาการติดเชื้อราและบางครั้งยังช่วยการรักษาการติดเชื่อจากปรสิตด้วย และการใช้เกลือยังมีความอันตรายน้อยกว่าการใช้ยามาก การรักษาด้วยเกลือใช้เวลา 10 วัน วันที่ 1 - 3 ให้ใส่เกลือ 1 ช้อน(ชา)ต่อ 1แกลลอน โดยใส่ตอนเช้า 1 ช้อน ตอนเย็น 1 ช้อน ( เท่ากับวันละ 2 ช้อนชาต่อ 1 แกลลอน ) วันที่ 4 - 7 อย่าใส่อะไรลงไปในน้ำอีก วันที่ 8 - 10 ถ่ายน้ำออก 1/2 ทุกวันแล้วเติมน้ำใหม่ลงไปแทนที่ ซึ่งน้ำใหม่ต้องปราศจากคลอรีน,ไม่มีเกลือและอุณหภูมิเดียวกับน้ำในตู้ที่มีอยู่เดิม ถ้าหากในวันที่7 คุณดูอาการแล้วดีขึ้น แต่ยังไม่หายสนิท คุณอาจให้มันอยู่ต่อไปจนถึงวันที่ 10 แล้วเปลี่ยนน้ำในลักษณะเดียวกัน คือ 3 วันทุกวันเปลี่ยนน้ำวันละ 1/2 ตู้ โดยน้ำปราศจากคลอรีนและเกลือและอุณหภูมิที่ถูกต้อง คุณไม่สามารถแช่เกลือได้นานกว่า 10 วันแล้วจึงค่อยเปลี่ยนน้ำ เพราะตัวเกลือมันเองก็จะเริ่มทำปัญหาให้กับปลาได้ ภาคที่ 6 พืชน้ำ,ไม้น้ำ
พืชส่วนใหญ่ให้ประโยชน์,ให้อ็อกซิเจนและดูดซับคารบอนไดออกไซค์ในเวลากลางวัน และทำงานในทางกลับกันในเวลากลางคืน โดยคายคารบอนไดออกไซค์และใข้ออกซิเจน แต่เนื่องจากปลาจะไม่ค่อยมีกิจกรรมในเวลากลางคืนจึงไม่เป็นการรบกวนมัน ยกเว้นแต่ว่าในตู้มีปลาแน่นมาก พืชเองก็ใช้ไนเตรดเป็นอาหาร ซึ่งเป็นงานส่วนหนึ่งของระบบกรองเช่นกัน การใช้สารที่ดูดซับแอมโมเนียมันจะทำให้การเลี้ยงไม้น้ำในตู้ไม่สามารถเป็นไปได้ หากคุณมีพืชไม้น้ำอยู่มากมายบางทีคุณอาจต้องเติมปุ๋ยลงไปด้วย(ซ้ำ)เล็กน้อย อย่าใส่ลงไปมากเพราะปุ๋ยสามารถคายแอมโมเนีย,ไนไตรท์ และ/หรือไนเตรดได้ง่ายและแน่นอนคุณคงไม่อยากให้มันไปทำอันตรายปลาของคุณ พืชน้ำยังทำหน้าที่เป๊นที่ซ่อนตัวสำหรับลุกปลาและยังเป็นที่ซ่อนให้กับปลาตัวเมียซึ่งเป็นที่สนใจของเหล่าปลาตัวผู้ แน่นอนต้นไม้น้ำนั้นดูเรียบๆแต่สวยงาม ถ้าคุณไม่ได้ใช้ไม้น้ำในตู้ปลา คุณอาจใช้กรองคารบอนแทน และเปลี่ยนน้ำน้อยๆทุกอาทิตย์
ไม้คุณต้องการไม้ใหม่ อย่าใช้น้ำเก่าที่ใส่มาเด็ดขาด แล้วล้างมันให้ทั่วถึงด้วยน้ำก๊อก นี่เป็นการช่วยป้องกันหอยและไซคอปที่อาจติดมา ปลาหางนกยูงไม่เหมือนปลาตระกูลใหญ่ๆอย่างอื่นมันไม่สามารถกินหอยหรือไข่ของหอยได้ ด้วยที่ว่าหอยอาจก่อปัญหาโดยไปกินไม้น้ำของคุณ จากนั้นเมื่อไม้ของคุณตาย หอยส่วนใหญ่ก็จะเริ่มอดตาย จากนั้นปัญหาที่ยุ่งยากก็เข้ามาหาแล้วซากเหล่านี้จะถูกย่อยอย่างไร เราจะทำความสะอาดอย่างไร ส่วนไซคอปก็สามารถเป็นพาหะที่นำพาปรสิตเข้ามา และสร้างปัญหาโรคภัยที่สามารถทำให้ปลาหางนกยูงถึงตายได้
ปลาหางนกยูงสามารถแทะเล็มตอดกินพืชไม้น้ำเพื่อเป็นการเพิ่มความหลากหลายในเรื่องสารอาหารได้ แต่มันไม่ถึงขนาดกัดกินจนทำอันตรายพืชไม้น้ำได้ เกลืออาจเป็นเหตุที่ทำให้น้ำเป็นด่างได้เล็กน้อย นี่ไม่ได้ทำอันตรายปลาแต่ไม้น้ำบางตระกูลไม่สามารถทนอยู่ในตู้ปลาหางนกยูงที่สมบูรณ์ได้ อุณหภูมิก็มีผลกระทบกับมัน Elodea ( Anacharis ) ที่พบเห็นในร้านขายสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่สามารถอยู่ได้ดีตราบเท่าที่อุณหภูมิไม่เกิน 77 ฟ พืชตระกูลกล้วยก็ไม่ได้ช่วยเป็นที่ซ่อนให้กับลูกปลาและตัวเมียแต่ก็เป็นไม้ที่ดูน่าสนใจและทำให้ตู้ปลาดี Duckweed เป็นไม้ที่ให้ที่ซ่อนกับปลาเล็กๆ แต่มันขยายตัวได้รวดเร็ว ต้องพยายามให้มันไม่ข้นแน่นหนาเกิดไปจนแสงไม่สามารถผ่านได้ Water milfoilsสามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมได้หลายหลาก ไม้บางชนิดเจริญเติบโตได้ดีในตู้ปลาหางนกยูงบางชนิดก็อาจตายในเวลาเพียง 2-3 วันเท่านั้น สำหรับWaterfoils ยังสามารถผลิตอ็อกซิเจนได้มากกว่าพืชอีกหลายๆตัวและยังเป็นที่ซ่อนตัวให้แก่ลูกปลาได้ดี Riccia fluitans เป็นพืชลอยน้ำ ที่ผมยังไม่เคยลอง แต่ก็น่าจะอยู่ได้ดีเป็นที่ซ่อนตัวให้แก่ลูกปลาได้ดี สามารถผลิตอ็อกซิเจนได้ดี พืชที่น่าเลี้ยงในตู้ เช่น Sagittaria , Hygrophila ,Vallisneria , Ludwigia , Hair grass , Parrot's feather
อย่าซื้อพวกไม้น้ำเหล่านี้ เพราะมันไม่สามารถมีชีวิตอยู่ในตู้ปลาที่จัดตั้งอย่างถูกต้องได้ คือ Laceleaf plant, Aponogeton ,Cabomba , Callitrich species , Ceratophyllum demersum ,Ceratopteris ,Cryptocoryne ,water moss ,Lobelia ,Potomogeton densus , Syngonium Utricularia ( เป็นพืช carnavorous ซึ่งอาจกินลูกปลาได้ )
มีอีกหลายชื่อซึ่งไม่ได้เอาชื่อมาลงได้หมด ลองปรึกษาที่ร้านขายดูว่าอะไรบ้างที่สามารถเลี้ยงในตู้ปลาของคุณได้บ้าง บางร้านก็รู้เรื่องไม้ที่ตัวเองขาย บ้างก็ไม่รู้ และยังจะต้องระวังบางร้านตัดไม้มาขายจากไม้บ้านทั่วไปทั้งที่ไม่ใช่ไม้ที่สามารถเลี้ยงใต้น้ำได้ พวกนี้จะตายภายในสองสามวันหรือบางทีก็สองสามอาทิตย์ ถ้าคุณเคยเห็นมันปลูกเป็นไม้กระถางมาก่อนแล้วละก็อย่าซื้อมันเด็ดขาดภาคที่ 7 ปลาตระกูลที่อยู่ร่วมกับปลาหางนกยูงได้
โดยทั่วๆไปปลาที่ออกลูกเป็นตัวสามารถอยู่ร่วมกันได้ดี โดยที่เราดูที่ช่วงอุณหภูมิที่พวกมันแต่ละตัวสามารถอยู่ได้ดีว่าอยู่ในช่วงเดียวกันหรือไม่ ขอให้ระวังว่า ปลาหางนกยูงและปลาแพลนตี้อาจเกิดอุบัติเหตุผสมพันธุ์กันได้ ปลาหางนกยูงตัวผู้จะนิยมชมชอบปลาแพลนตี้เพศเมีย ถ้ามันไม่มีปลาหางนกยูงตัวเมีย การผสมข้ามสะปีชี่สามารถเกิดขึ้นได้ ลูกของมันจะเป็นหมันและไม่ค่อยน่าดูเท่าไรนัก ตราบเท่าที่มันยังมีปลาหางนกยูงตัวเมียที่พร้อมผสมพันธุอยู่ปัญหานี้จะไม่เกิดขึ้น ขอให้สังเกตด้วยว่าปลาออกลูกเป็นตัวอย่างอื่นอาจมีสภาวะที่เฉพาะของมันเอง เช่นตู้ , สารอาหารที่ต้องการ , อุณหภูมิที่ต้องการ ซึ่งอาจไม่เหมือนหรืออดทนเท่าปลาหางนกยูง
ปลาแพลนตี้ สามารถอยู่ได้ที่ช่วงอุณหภูมิที่ 68 - 77 ฟ มันจะไม่ผสมพันธุ์ที่ช่วงอุณหภูมิที่แตกต่างจากนี้ ที่ต่ำกว่า 68 ลูกของมันจะตาย และแม่ปลาก็จะแท้ง แพลนตี้เป็นปลาที่ออกลูกเป็นตัว ตัวเมียสามารถมีขนาดถึงท 3 นิ้ว ตัวเมียจะเป็นตัวที่มีสีสรรสวยงานแบบตัวผู้ได้ ตัวผู้แพลนตี้จะตัวเล็กกว่าตัวเมียเล็กน้อยและจะมีโกโนโพเดียมแทนครีบทวาร ปลาหางนกยูงสามารถมีชีวิตอยู่ได้ดีถึงแม้จะไม่มีเกลือ แต่แพลนตี้นั้นตู้ปลาจำเป็นต้องมีเกลือ ดังนั้นอย่าลืมใส่เกลือสำหรับแพลนตี้ ใส่เกลือตามปริมาณที่กำหนดสำหรับปลาหางนกยูงได้ การเปลี่ยนน้ำน้อยๆบ่อยๆเป็นเรื่องที่จำเป็นสำหรับแพลนตี้ ถึงแม้คุณจะมีที่กรอง/ระบบกรองที่สมบูรณ์แบบก็ตาม
ปลาหางดาบ ต้องการอุณหภูมิที่ 72 - 73 ฟ ลูกปลาจะคลอดที่ 73 ฟ มันสามารถมีชีวิตอยู่ได้ในอุณหภูมิที่ต่างจากนี้ แต่ก็แค่มีชีวิตรอดได้ แต่จะไม่สมบูรณ์และจะไม่ให้ลูก มันเป็ฯพวกปลาที่ออกลูกเป็นตัวด้วย มันมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับปลาหางนกยูงและแพลนตี้ ตัวเมียมีสีสรรสดใสเหมือนตัวผู้ บางตัวเติบโตจนมีขนาดถึง 5 นิ้ว ตัวผู้จะตัวเล็กกว่ามาก และมี gonopodium หางจะยาวกางโค้งจนเป็นบ่วง จนเป็นที่มาของชื่อตระกูลของมัน มันก็ชอบน้ำที่ใส่เกลือเหมือนกัน แต่ก็ไม่ถึงกับว่าขาดไม่ได้ ขอให้ระวังมากๆๆเรื่องอุณหภูมิ เมื่อคุรมีการเปลี่ยนน้ำถึงแม้บางส่วนก็ตาม
ปลามอลลี่ ชอบที่ 72 - 82 ฟ มากที่สุด มันเป็นปลาออกลูกเป็นตัวที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับปลาหางนกยูงมากที่สุด ปลามอลลี่ทุกตัวชอบน้ำที่ใส่เกลือ ตัวเมียมีสีสรรสดใสเหมือนตัวผู้และสามารถโตได้ถึง 5 นิ้ว ตัวผู้จะเล็กกว่า และมีgonopodium
ปลาแซลฟิน มอลลี่ ชอบช่วง 73 - 83 ฟ ในน้ำที่เลี้ยงมันต้องใส่/มีเกลือ มันเป็นปลาที่ใหญ่กว่าที่เรากล่าวมาทั้งหมด บางตัวใหญ่ถึง 6 นิ้ว ตัวผู้จะมีกระโดง(ครีบหลัง) ใหญ่กว่าและมีgonopodium มันอาจก้าวร้าวกับปลาที่เล็กกว่า ถ้าตู้ไม่ใหญ่พอ ตัวผู้มักต่อสู้กันเอง
ปลาปากซักเกอร์ ( Suckermouth catfishes ตระกูล Plecostomus or Hemiancistrus ) มันสามารถอาศัยในอุณหภูมิที่ต่ำกว่าปลาออกลูกเป็นตัวที่กล่าวมาแล้ว และที่มีอุณหภูมิสูงกว่าจนถึง 79 ฟ ปลาพวกนี้กินพืชและตระไคร่น้ำและยังชื่นชอบแตงกวาฝานเป็นแผ่นบางๆ มันสามารถมีขนาดยาวถึงหนึ่งฟุต มันไม่เคยทำร้ายปลาอื่นๆ ควรให้อาหารเฉพาะพิเศษสำหรับมัน มิฉะนั้พืชน้ำที่คุณเลี้ยงไว้จะกลายเป็นอาหารค่ำที่โอชะสำหรับมัน ไม่มีข้อมูลเกี่ยวกับการสร้างพันธุ์ของมันหรือสามารถที่จะระบุชัดเจนว่าตัวไหนตัวผู้หรือตัวเมีย ขอให้ตัวละตัวเดียวเท่านั้น มันชอบอยู่สงบๆตัวเดียวเงียบๆ คนส่วนใหญ่มองดูมันว่าน่าเกลียดอย่างทนไม่ได้ทีเดียว
อย่าซื้อปลาซักเกอร์แคระ ( Otocinclus affinis ) มันอาจขายในชื่อ ปลากินตระไคร่ ( Algae eaters ) เป็นปลาที่หากินที่พื้นตู้ ตัวยาวประมาณครึ่งนิ้ว สีเหลืองเทาจนถึงเหลืองโคลน มีท้องด้านล่างสีอ่อนๆ มักมีแถบสีน้ำตาลยาวมาตามด้านข้าง อาจมีลายหรือจุดเข้มที่หลัง เมื่อตอนยังเล็กมันจะกินตระไคร่ได้มากมายและบรรดาซากปลาที่ตาย แต่พอมันโตเต็มที่มันจะสนใจปลาตัวอื่น รวมถึงปลาที่ใหญ่ มันสามารถกิน,ฆ่าลูกปลาเล็กๆและอาจทำให้ปลหางนกยูงตัวใหญ่บาดเจ็บ มันสามารถกลายเป็นปลากินเหยื่อ(เนื้อสัตว์)ได้ ร้านขายสัตว์เลี้ยงไม่ค่อยบอกข้อมูลลูกค้าเกี่ยวกับความก้าวร้าวของมัน ให้กับลูกค้ารู้ ขอให้ระวัง!
Mailed Catfishes ( Corydoras ) อยู่ได้ดีที่ 75 - 77 ฟ มีอยู่หลายชนิดสามารถอยู่ได้ที่เย็นถึง 59 ฟ ลองปรึกษาร้านขายสัตว์เลี้ยงว่าชนิดไหนสามารถอยู่ในตู้ปลาคุณได้ ตัวเมียจะยึดไข่ของมันไว้นอกตัวแถวครีบที่กระดูกเชิงกราน มันกินพืช, ตระไคร่น้ำ ,ปลาตาย และสามารถโตได้ถึง 5 นิ้ว ตัวเมียจะโตกว่าตัวผู้เล็กน้อย ชอบอยู่ร่วมกันเป็นกลุ่ม เป็นตระกูลที่น่าจะอยู่ร่วมกับปลาหางนกยูงได้ดีที่สุด เป็นปลาที่เคลื่อนไหวอย่างช้าๆนุ่มนวล

บ้านใหม่ที่อยากให้ทุกท่านที่รักใน ปลาหางนกยูงแฟนซี มาช่วยกันสร้าง







ตอนนี้ผมได้หาที่สร้าง ห้องสมุดและห้องปฎิบัติการ ปลาหางนกยูงแฟนซี ให้พวกเรามาช่วยกันสร้างแล้วครับ รอเพื่อนๆมาช่วยกัน

การเลี้ยงปลาหางนกยูงของผม(เซียงชัย)




การเลี้ยงปลาหางนกยูงของผม( เซียงชัย )



เนื่องจากผมเป็นคนเรื่องปลาเป็นงานอดิเรกที่ไม่เน้นเรื่องการขาย การเลี้ยงจึงเป็นการพักผ่อนอย่างหนึ่ง และต้องการการเลี้ยงที่ได้ปลาที่สวยงามสมบูรณ์ ให้ได้ผลเป็นอย่างที่ใจอยาก ดังนั้นอะไรที่ทำให้ได้ผลเป็นที่ต้องการก็จะทุ่มเทเต็มที่ แต่ก็อยู่ในหลักสายกลางพอดีไม่มากเกินไป ในหลายๆเรื่องเราก็ต้องการบริหารจัดการที่ดี เริ่มตั้งแต่เรื่อง น้ำ ซึ่งถึอเป็นหัวใจหลักยิ่งกว่าอาหารเสียอีก อาหารดี น้ำไม่ดีก็ยากที่จะให้ได้ปลาที่ดีสมบูรณ์แข็งแรง จนถึงสวยงาม นี่เป็น หลักการที่ใช้จนได้ผลงานถ้วยพระราชทาน 2 ใบและโล่รางวัลอีกเกือบสิบรางวัล หลักการอีกอย่างที่ใช้คือเราเรื่องปลากัน มันควรเป็นอะไรที่ไม่ควรยากเกินไปซับซ้อนเกินไปจนกลายเป็นอะไรที่ลึกลับจนดูน่าเวียนหัว นี่เป็นการพักผ่อนที่ควร ง่ายๆ กลับมาคุยกันเรื่อง น้ำ ต่อ


ตอนที่ 1 น้ำต้องเหมาะสมที่จะใช้เลี้ยงปลา ก็เพียงขอให้ปราศจากคลอรีนหรือสารที่เป็ฯพิษกับปลาและมีอุณหภูมิที่ไม่แตกต่างกับน้ำเดิมในตู้มากจนปลาช็อคน้ำ นั่นก็เพียงพอแล้ว
การเปลี่ยนถ่ายน้ำมี 2 แบบ
แบบที่ 1 ถ่ายเพื่อรักษาระดับของความสอาด อันนี้ถึอหลักการ ถ่านน้อยๆถ่ายเป็นประจำ ควรอยู่ในระดับ 20 - 50 เปอร์เซ็นต์ต่อครั้ง ถามว่าถ่ายได้บ่อยแค่ไหน ตอบได้ว่าถ้าน้ำใหม่ที่คุณเตรียมไว้มีคุณภาพอย่างที่บอกตอนต้น คือ ปราศจากคลอรีน/อุณหภูมืไม่แตกต่างมากหรือถ้าเท่ากันยิ่งยอดเยี่ยม ผมเคยถ่ายเช้าเย็นด้วยซ้ำ แต่เปลืองค่าน้ำ-ค่าไฟน่าดู ก็โอเคเมื่อเทียบกับอัตราการเติบโตที่พุ่งอย่างรวดเร็วของปลาและความคึกคักสดชื่อของปลาและความสุขความพึงพอใจของเรา แต่ถ้สให้ไม่เหนื่อยยากเกินไปที่ใช้อยู่ทุกวันนี้ก็ อาทิตย์ละ 1 ครั้งถ่ายเปลี่ยนน้ำ 50 เปอร์เซ็นต์ ทุกอาทิตย์ ถ้ารู้ตัว ว่าเสาร์อาทิตย์จะไปฮอลิเดย์ก็ถ่ายวันศุกร์แล้วงดอาหารไปเลย กลับมาค่อยว่ากันใหม่
แบบที่ 2 แบบที่ถ่ายพร้อมทำความสะอาดตู้ อันนี้ต้องให้ความระมัดระวีงนิดหน่อย จะขัดล้างตู้ทั้งที่มีปลา อยู่ด้วยหรือไม่ก็ได้ ถ้าย้ายปลาออกก็ทำงานง่ายหน่อยแต่ก็ช้าหน่อย แต่ที่ที่บ้านทำอยู่ก็ล้างตู้ทั้งที่มีปลาอยู่นั่นแหละ ขัด ลูบตู้เพื่อเอาคราบที่เกาะตู้ออก แล้งทิ้งไว้ให้ตะกอนต่างๆนอนก้นตู้ ส่วนเราก็ไปทานข้าวเช้าอาบน้ำให้เรียบร้อย เพราะ ปกติวันอาทิตย์ก็ตื่นมาก็ไปทำก่อนเลยไม่งั้นเดี๋ยวหมดไฟขยัน ลูบตู้เสร็จก็พักยก พักพักยกเสร็จพี่เลี้ยงให้น้ำให้ท่า เรียบร้อย ก็มาต่อ ดูดน้ำ-เปลี่ยนน้ำก็ทำ 2 แบบ แบบธรรมดาก็ถ่ายออก 70 - 80 เปอร์เซ็นต์เรียกว่าชิดหลังปลา เติมน้ำใหม่ ปลาอาจลอยหัวนิดนึงเพราะน้ำที่ผ่านเครื่องกรองถ่านคาร์บอน ทั้งอ็อกซิเจนและคลอรีนจะถูกดูดซึมไปหมด ปลาก็จะลอยหัวที่ผิวน้ำบ้างไม่เป็นไรเดี๋ยวก็หาย พอทำครบเสร็จหมดทั้งบ้าน ก็สบายแล้วทั้งคนทั้งปลา งดอาหารมื้อเช้าไปเลย เย็นๆ ค่อยให้อาหาร ไมควรให้อาหารในมื้อเช้านี้ ให้มันปรับตัวให้เรียบร้อยดีก่อน คุณจะใส่เกลือในน้ำหรือไม่ก็ได้ ไม่ว่าจะเป็น ปลาตาดำหรือตาแดงก็ตาม การขจัดคลอรีนสำหรับคนที่ไม่มีเครื่องกรองหรือไม่สดวกที่จะเก็บกักน้ำไว้ได้มากพอ คุณอาจ ให้ อะควอคอน หรือไม่ก็ใช้ ไฮโปร ไปเลยจะแก้ปัญหานี้ได้จะเอาแบบใส่ในตู้ปลา พร้อมน้ำก็อกหรือจะผสมกันน้ำก็อกก่อน ค่อยเอาน้ำสำเร็จมาใส่ตู้ปลาอีกทีก็ได้ ผมเคยทำมาแล้วทั้ง 2 แบบ แต่ถ้าไม่อยากทารุณกับปลามากนักก็ผสมนอกตู้ก่อน แล้วค่อยเอาน้ำที่แก้คลอรีนแล้วไปใช้ ถามว่าผสมเสร็จต้องทิ้งไว้หรือรอนานแค่ไหน ก็แค่ 3 - 5 นาทีก็ โอเคแล้วหละ
การเลี้ยงปลาผมเน้นที่ น้ำ เป็นอันดับหนึ่ง เหมือนคนเราก็เน้นเรื่องคุณภาพอากาศที่หายใจ หลักกาเลี้ยง ปลาอีกอันนึงที่อยากเน้น คือ การซื้อปลา ขอให้แน่ใจว่าปลาที่คุณซื้อต้องไม่ใช่ปลาป่วยหรือเป็นปลาที่ไม่สมบูรณ์แข็งแรง เพราะถ้าเริ่มต้นไม่ดี ก็จะมีแต่ปัญหาไปตลอด แล้วจะไปได้ลูกได้หลานเป็นปลาที่สวยงามแข็งแรงได้อย่างไร ก็ขอให้ไปอ่านกระทู้ * ปลาที่ห้ามซื้อ * ประกอบด้วนนะครับ ตอนนี้ขอพักก่อน ตอนต่อไปจะมาว่าเรื่อง

* อาหารและการให้อาหาร *
ตอนที่ 2 อาหารและการให้อาหาร
อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาหางนกยูงที่บ้านผมจะใช้แต่ อาทีเมียเป่า สาเหตุที่ใช้แต่อาทีเมียมันมีเหตุผลครับ แต่ก่อนก็ใช้มาทุกอย่างแต่ก็มีปัญหาอยู่หลายอย่างเช่น ไรแดง ถ้าไม่พูดถึงเชื้อโรคและสิ่ง ปนเปื้อนต่างๆแล้ว การซื้อก็มีปัญหาหลายอย่างคือ การหาซื้อมีอยู่จำกัดไม่มีทั่วๆไป ถ้าให้เปอร์เซ็นหน่อยก็ต้องไปจตุจักร บางทีก็มี บางทีก็ไม่มี บางทีก็ยังไม่มาส่งต้องรอ ที่จริงก็ไม่รู้ต้องรอนานแค่ไหน ค่าใช้จ่ายมีทั้งค่าจอดรถ ค่าเดินทาง ค่า ทางด่วน บางทีซื้อไรแดง 60 บาท ค่าทางด่วนไปกลับก็ปาเข้าไป 80 บาท บวกค่าจอดรถอีก 20 บาท ก็ 100 บาทไปแล้ว จะใช้ไรทะเลตัวแก่ก็คุณค่าอาหารต่ำกว่า ส่วนหนอนแดงไส้เดือนน้ำก็เหมือนอาหารสดตัวอื่นๆ แต่ที่แน่ๆคือการเก็บรักษา เก็บได้แค่ช่วงเวลาสั้นๆ ไม่ต้องพูดถึงการที่อาจมีเชื้อโรคหรือพยาธิ์ติดมา เลยคิดว่าน่าจะใช้อาทีเมียเป็นไข่มาเป่าเอาเอง เพราะ
1 ซื้อมาครั้งหนึ่งได้หลายๆกระป๋อง ๆหนึ่งสำหรับผมใช้ได้ 1 อาทิตย์ เดือนนึงก็ซื้อครั้งหนึ่ง ตัดปัญหาเรื่อง เวลาที่ยุ่งยาก ค่าทางด่วน ค่าน้ำมันรถ ค่าที่จอดรถ ก็นับว่าเอาค่าใช้จ่ายเหล่านี้มาซื้ออาทีเมียแทนก็ยังเหลือเงินอีก
2 การเก็บรักษาเก็บได้นานเพียงเป่าไว้ล่วงหน้า 24 - 36 ชั่วโมง แล้วแต่ยี่ห้อและการจัดการของเราเอง
3 การเป่าก็ง่าย ดูข้างกระป๋องแล้วทำตามได้อาทีเมียตัวอ่อนให้ปลากินได้แน่นอน ได้ทั้งลูกปลาและปลาใหญ่ ลูกปลาก็กินเยอะหน่อย ปลารุ่นก็กินได้มากหน่อย ปลาใหญ่ปลาแก่ก็กินน้อยหน่อย เพราะมันใช้พลังงานไม่มากแล้วและ โปรตีนโดยเฉพาะไขมันมีมากปลาใหญ่ไม่ควรกินมากเดี๋ยวอ้วนไป พุงป่องไม่สวยงาม
4 คุณค่าทางอาหารสูงเพราะเหมือนปลากินไข่แดง เพราะอาทีเมียที่พึ่งเกิดใหม่มันจะมีถุงไข่ติดตัวอยู่ การกินอาทีเมียตัวอ่อนเท่ากับกินไข่แดงนั่นเอง * โดยสรุป ผมถีอว่า อาทีเมียเป่า ถูกกว่า อาหารซองเสียอีก *
การให้อาหาร ( อาทีเมียเป่า ) เพื่อความสดวกเพราะกลางวันต้องทำงานดังนั้นวันนึงจะให้กินแค่มื้อเดียว มื้อเช้า วันอาทิตย์เช้า เปลี่ยนน้ำ ก็หมดไปครึ่งวันแล้ว เลยต้องเลื่อนไปกินเอาบ่าย - เย็น ถ้าจะให้การเลี้ยงดียิ่งขึ้นถ้าทำได้ 2 - 3 วันเปลี่ยนน้ำเพิ่มอีกสักหนึ่งครั้ง ทำให้น้ำfresh มากขึ้นปลาก็จะสดมากขึ้น โตเร็วมากขึ้น ของเสียเศษอาหารก็จะถูกลดจำนวนลงทำให้ความเสี่ยงที่ปลาจะเป็นโรคยิ่งลดโอกาสน้อยลง พวกของกินเล่นเช่น สาหร่ายสไปรูริน่า อาจให้บ้างถ้าปลาส่ออาการหิวหรือมีความต้องการ ส่วนอาหารแห้งอาหารสำเร็จรูปอาจให้บ้างแต่ไม่บ่อย แต่ทุกครั้งให้แน่ใจว่ามันกินหมดจริงๆไม่งั้นเศษอาหารที่เหลืออาจก่อให้เกิดปัญหา ให้มันได้

คราวต่อไปจะคุยกันเรื่อง * การเป่าไข่อาทีเมียเพื่อใช้เลี้ยงปลา และการฟอกไข่อาทีเมีย *
การเป่าไข่อาทีเมียเพื่อใช้เลี้ยงปลา และการฟอกไข่อาทีเมีย
สำหรับวันนี้เท่ากับเราจะมาคุยกัน 2 เรื่อง
เรื่องที่ 1 การเป่าไข่อาทีเมียเพื่อใช้เลี้ยงปลา
เรื่องที่ 2 การฟอกไข่อาทีเมีย ( DECAPTURE )
เอาหละเรามาเริ่มเรื่องแรกกันก่อน เพราะเป็นวิธีที่ง่าย ไม่ต้องออกนอกบ้าน เปิดกระป๋อง เติมน้ำใส่ภาขนะที่จะใช้เป่าไข่อาทีเมีย ใส่เกลือกะเท (ไม่ควรใช้เกลือซองหรือเกลือที่ใช้ขายเพื่อคนกิน เพราะ 1 แพง 2 มักมีการเติมไอโอดีน ซึ่งไม่เหมาะที่จะนำมาใช้เป่าไข่อาทีเมีย) หลังจากนั้นก็ตักไข่อาทีเมียใส่ลงไปเอาหัวอ็อกใส่ตามหรืออาจปล่อยทิ้งไว้สัก 30 นาทีก่อนก็ได้ ( เพื่อให้ไข่ดูดน้ำให้เต็มที่จะได้เป่าง่ายขึ้น ) อาการที่เป่าก็ไม่ต้องแรงจนน้ำระเบิดมากไปเดี๋ยวไข่กระเด็น หรือไม่ก็ลอยเกาะที่ขอบหมด การเป่าอากาศนั้นเพื่อให้มีการหมุนเวียนของน้ำที่ดีพอและสม่ำเสมอ สมันก่อนเลี้ยงไม่เยอะ ก็เป่าทีละ 1 ช้อนโต๊ะ ใช้น้ำอย่างน้อย 1 ลิตร แต่ถ้ามากกว่าก็จะดีกว่า แต่ตอนนี้ให้กินวันนึงมื้อเดียวก็ใช้วันละ 5 ช้อน (ช้อนกินข้าว/ช้อนซ่อม ) ขวดที่ใช้ก็เป็นขวดน้ำสิงห์แบบ 6 ลิตร ใช้เกลือ 1 ช้อนขาว ( ซ้อที่ร้านป้าตุ๊ก จตุจักร ) เทคนิค ที่ใช้อีกอันที่อยากจะแนะนำ คือตอนที่เริ่มเป่า 12 ชั่งโมงแรก ก็ใส่น้ำเว้นจากคอลงมาก่อน คือให้เหลือพื้นที่ไว้เติมน้ำ พอ เป่าไปได้ 12 ชั่วโมงก็เติมน้ำเพิ่มจะได้เก็บพวกที่ติดอยู่ที่ขอบบนให้หมด ( ขี้เหนียวหนะ )
ทีนี้เรามาพูดถึงคนที่เป่าน้อยๆ บ้าง อ้ออย่างไรก็ตามขอแนะนำใช้กระชอนร่อนกรองตัวอาทีเมีย ให้ซื้อไว้เพราะใช้ได้ดีและสดวกดี ( ซื้อได้ที่ร้านป้าตุ๊ก ที่จตุจักรเหมือนกัน มีทั้งแบบอันเล็กและอันใหญ่ อันใหญ่แต่ก่อนก็ซื้ออันละ 200กว่า - 300กว่าบาทจำไม่ได้แน่นอนนัก ) คนที่ใช้น้อยๆคุณสามารถเป่าไว้ กรองแล้วคุณสามารถแบ่งส่วนหนึ่งเก็บไว้ ให้กินอีกมื้อได้ โดยเตรียมน้ำ + เกลือไว้แล้วเอาอาทีเมียที่เป่าและกรองแล้วใส่ไว้เป่าอ็อกต่อเก็บไว้ได้อีก 12 - 18 ชั่วโมง ไม่อยากให้นานกว่านั้น ทีนี้ย้อนหลังนิดนึง พอเป่าไข่ได้เวลาซึ่งเวลาก็แล้วแต่ยี่ห้อบางยี่ห้อก็ว่า 24 ชม. บางยี่ห้อก็ว่า 36 ชม. แต่ดีที่สุดก็ 36 ชั่วโมง ก็เอาสายอ็อกออก ถ้าอยากจะให้มันลงมานอนก้นเร็วก็เอาอะไรบังแสงส่วนบนไว้เหลือช่อง ด้านล่างไว้ เพราะมันเป็นสัตว์ที่ชอบเล่นแสงสว่าง พอเราเปิดเฉพาะช่องด้านล่างไว้ เอาวางไว้ที่มีแสงสว่างมันก็จะลงมา เล่นแสงด้านล่างที่ก้นขวด เราก็เอาสายยางที่ใหญ่กว่าสายอ็อกมาดูดกาลักน้ำไปใส่ กระชอนกรองตัวอาทีเมีมไว้ แล้วแบ่ง ส่วนหนึ่งไปเป่าเลี้ยงต่อไว้กินมื้อหน้าได้ ส่วนที่จะให้กินก็อย่าลืมเอาน้ำราดล้างก่อนให้กินราดสัก 5 - 6 น้ำเพื่อล้างเอา สิ่งสกปรกและคราบโปรตีนออกไปน้ำในตู้ปลาจะได้ไม่เป็นเมือกง่ายๆ ทีนี้จะแนะนำเทคนิคอีกอย่างที่จะช่วยให้อาทีเมีย ที่เป่าไม่ติดไข่ที่ไม่ติดให้อีกนิดหนึ่งและเป็นการทำให้ไข่ติดได้เต็มที่มากขึ้น คือ ที่บ้านจะเป่า 36 ชั่วโมง พอเป่าได้ 24 ชั่วโมงก็จะกรองก่อน 1 รอบ แล้วเปลี่ยนน้ำใหม่ เป่าต่ออีกรอบ 12 ชั่วโมง ทีนี้ไข่ที่ยังไม่ฟักก็จะติดมากขึ้น และเปลือก ที่มักติดมากับตัวก็จะน้อยลง จะมีอีกส่วนคือไข่ที่เป่าไม่ติดซึ่งมักจะจมอยู่แล้วซึ่งแยกออกยากเพราะตัวอาทีเมียเราก็ล่อ ให้มันจมเหมือนกัน แต่กรณีนี้ผมแก้ปัญหาโดยการเป่าในรอบที่สอง ผมจะเป่าโดยใช้ถังน้ำแบบที่ขนาดใช้ล้างรถ ใช้น้ำ เท่าเดิม ใช้เกลือเท่าเดิม แล้วเป่าต่ออีก 12 ชม.ทีนี้เนื่องจากก้นถังมันมีพื้นที่กว้าง ไข่ฝ่อที่จมมันจะเกาะติดที่ก้นถัง เวลา เราจะเอามากรองเราก็เทออกพอถึงก้นถังก็ค่อยๆรินออก ส่วนที่เป็นเปลือกสีน้ำตาลเราก็ไม่เอามาใช้ ส่วนเปลือกไข่ซึ่ง เป็นส่วนที่ลอกเป็นฝาอยู่ผิวน้ำเราเอามันออกตั้งแต่กรองรอบแรกแล้ว ทีนี้ก็ถึงเวลาแจกจ่ายให้ปลากินแล้ว อ้อ อย่าลืม ล้างสัก 5 - 6 น้ำก่อนนะครับ
เทคนิคที่ 2 ใช้กับกรณีหน้าหนาวหรือหน้าฝนที่ฝนตกชุก อุณหภูมิต่ำ การเป่าไข่อาทีเมียจะต้องใช้เวลานานขึ้น เพราะอากาศมันเย็น เราสามารถแก้ไขปัญหานี้โดยใช้ โซเดียมไบคาบอเนตหรือเบคกิ้งโซดา ไม่ต้องตกใจว่าเคมีอีกแล้ว ฉันไม่ได้เรียนเคมีเหมือนเฮียนี่ ไปซุเปอร์มาเก็ตที่ไหนก็ได้ไปที่ชั้นเครื่องปรุงรส ไปดู ที่ชั้นรู้สึกจะเป็นของเบสฟู๊ด กล่องนึง ไม่กี่สิบบาท เวลาเป่าใส่เกลือแล้วก็ใส่เบคกิ้งโวดาลงไปนิดหน่อยเพื่อให้น้ำเป็นด่าง ไข่ก็จะนิ่มลอกตัวเป็นตัวง่ายขึ้น
อ้อลืมบอกเวลาที่ทิ้งให้ตัวมันจมน้ำถ้าไม่อยากยุ่งยากทำที่ปิดบังแสงสว่างก็ไม่ต้องทำ เอาอ็อกออกทิ้งไว้สัก 30 นาทีมันก็จมเองเหมือนกัน ทีนี้ก็ดุดได้เหมือนกัน ส่วนสายดูดก็ไปซื้อที่ร้านฮาร์ดแวร์มีขายสายแบบสองหุนหรือหุนครึ่ง ไม่แน่ใจใช้ได้ทั้งนั้น เมตรละ ไม่กี่บาทไม่ถึงสิบบาทใช้ได้เป็นสิบปีถ้าไม่หายเสียก่อน
เอาหละทีนี้ปลาก็อิ่มหนำสำราญเรียบร้อยแล้ว ใหม่ๆคนที่พึ่งเริ่มทำ อาจรู้สึกตื่นเต้นนิดหน่อยกลัวเป่าแล้วไม่เป็นตัว รับรองเป็นแน่นอนครับ ขออย่างเดียวขอให้ซื้อที่เปอร์เซ็ฯดีหน่อย แป็นของที่ใหม่ๆหน่อย เคยซื้อของที่ไม่ดีเหมือน กันเป่าแล้วไม่ดีเลย กากก็เยอะน้ำขุ่นสกปรก ถ้าเป็นของที่มีคุณภาพ เวลาทิ้งให้นอนก้น เปลือกจะแยกอยู่ที่ผิวน้ำ ตัวจะจม อยู่ด้านล่างเป็นสีแดงบ้าง ชมภูบ้าง เหลืองบ้างแล้วแต่แหล่งแล้วแต่ยี่ห้อไม่เป็นไรใช้ได้เหมือนกันหมด ส่วนที่เหลือง ตรงกลางจะเป็นน้ำใส ถ้าเป็นอย่างนี้เรียกว่า กู๊ด ชั้นหนึ่ง เอาหละเป็นอันจบ พรุ่งนี้จะถ่ายรูปอุปกรณ์ง่ายๆที่ใช้อยู่ มาให้ดุใช้มา 3 - 4 ปีแล้ว ส่วนเรื่องการฟอกไข่อาทีเมียจะมาเล่าให้ฟังอีกที แต่บอกล่วงหน้านะครับ ว่าใช้เลี้ยงได้เฉพาะปลารุ่นขึ้นไป เท่านั้นนะครับ
เอาหละทีนี้เราก็จะมาพูดกันเรื่อง การฟอกไข่อาทีเมีย( DECAPTURE )
จุดประสงค์ของการฟอกไข่อาทีเมีย ก็คือ เพื่อให้ปลากิน ทีนี้ถามว่าทำไมไม่ให้ปลากินไปเลยไม่ต้องฟอก อันนี้ ทุกคนคงตอบได้ว่า ทำไม่ได้เพราะเปลือกไข่มันแข็งปลา ไม่กิน ผมขอยืนยันนั่งยันนอนยัน ว่า ปลาไม่กิน ถึงแม้จะเป็นเปลือกไข่ติดติดมาตอนที่เราเป่าไข่อาทีเมียก็ตาม ปลาฉลาดพอที่จะไม่กิน อย่างมากก็งับแล้วก็คายออก
เอาหละมาต่อเรื่องเดิมกัน ทีนี้ก็มีคำถามว่าถ้าอย่างนั้นจะทำให้ปลากินได้อย่างไร ถ้าจะไม่เป่าไข่อาทีเมีย ก็
ตอบว่าก็ต้องหาวิธีลอกเปลือกไข่อย่าให้มันแข็งปลาก็กินได้ วิธีการทำให้เปลือกไข่มันลอกตัวออกจนถึงระดับที่ไม่แข็งปลา สามารถกินได้เราเรียกว่า การฟอกเปลือก เราสามารถทำได้โดยใช้ ไฮเตอร์ ( สีอะไรก็ได้ แต่ไม่แนะนำให้ใช้แบบมีกลิ่นหอม เพราะอาจมีผลข้าเคีอง วิธีทำก็เอาแก้วหรืดภาชนะที่ทนความร้อนได้เพราะเวลาที่มันฟอกเปลือกมันจะเกิดความร้อนขึ้น พอได้มาแล้วก็เอาไข่อาทีเมียใส่ลงไปอาจทำเผื่อไว้หลายมื้อได้ เพราะสามารถเก็บแช่ตู้เย็นได้ แต่ก็ไม่ควรนานนัก
เตรียมช้อนสแตนเลสไว้ใช้คน เอาไฮเตอร์เทใส่พอท่วมนิดหน่อยแล้วรีบเอาช้อนคน จะเกิดความร้อนขึ้นไม่ต้องตกใจ คนไปเรื่อยๆแป๊บเดียวไข่อาทีเมียจะเริ่มเปลี่ยนสีจากน้ำตาลมาเป็นชมภูหรือส้มเหมือนตัวอาทีเมียที่เป่าเป็นตัวแล้ว หรือไม่ถ้าจะให้ชัดก็สีแบบเดียวกับไข่กุ้งไข่ปู พอถึงจุดนี้ก็เอาน้ำเทใส่เพื่อให้น้ำยาเจือจาง ล้างหลายๆเที่ยวแล้วเทใส่กระชอนร่อนไรทะเล( ที่ว่าซื้อที่ร้านป้าตุ๊ก ) เทใส่ตอนที่ล้างเจือจางแล้วนะครับถ้าเทใส่ตอนร้อนกระชอนอาจมีปัญหาได้ พอเทใส่แล้วก็อาน้ำก๊อกล้างหลายๆครั้งจนหมดกลิ่นน้ำยาเป็นอันใช้ได้ ก็เอาไปเลี้ยงปลาได้ ที่เหลือเก็บใส่ถุงใส่กล่องไปแช่ตู้เย็นเก็บไว้ใช้มื้ออื่นต่อๆไปได้ ถ้าจะเก็บนานๆก็แช่แข็งไปเลย
อย่างที่บอกนะครับ การฟอกไข่อาทีเมีย เพื่อใช้เลี้ยงปลา สามารถใช้เลี้ยงได้เฉพาะปลาโตแล้วประมาณไซค์ปลารุ่นเท่านั้น เพราะระบบการย่อยอาหารมันดีเพียงพอแล้ว ปลาเล็กปลาแรกเกิดยังต้องใช้วิธีเป่าไข่อาทีเมียอยู่ ตอนนี้เราจะมาว่ากันต่อเรื่องการเลี้ยงปลาในแต่ละรอบ 2 อาทิตย์ เอาเป็นว่าเรามาเริ่มตั้งแต่เมื่อเราซื้อปลาชุดแรกเข้าบ้านเลยละกัน เผื่อให้คนที่เริ่มเลี้ยงจะได้ตามทัน เอาเป็นว่าขอท้าวความจากกระทู้เรื่อง ย้ายปลาไปบ้านใหม่เลยละกันเพราะมันก็วิธีเดียวกันนั่นแหละ ว่ากันเป็นข้อๆ นะครับ
1 เตรียมที่ + น้ำ ที่ใหม่ให้พร้อม
2 เตรียมน้ำที่จะแพ็คปลาให้ดี
3 ถ่ายน้ำ+งดอาหารอย่างน้อย 1 มื้อ
4 แพ็คปลาอย่าให้แน่น
5 น้ำที่ใช้แพ็คน่าจะใส่เกลือและยาเหลืองยี่ห้ออะไรก็ได้ แค่เล็กน้อยก็พอ
6 ปลาที่แพ็คแล้วอย่าตากแดด ควรไว้ที่ร่มๆ
7 เดินทาง
8 เมื่อถึงที่ใหม่ พอมีเวลาสดวกๆ แนะนำว่าควรเป็นช่วงเย็นหรือไม่ถ้าเวลาอีกนานจะถึงช่วงเย็น ก็เอาถุงปลา ลอยน้ำไว้สัก 1/2-ชั่วโมง 9 แกะถุง แบะปากถุงแขวนปากถุงไว้ที่มุมตู้ให้แช่น้ำไว้ทีนี้ไม่มีเวลาก็แช่ไว้ได้ตามสดวก
10 ถ้ามีเวลาที่จะจัดการ ก็เอาน้ำในตู้ใหม่ค่อยๆเติมสัก 30 นาที เติมสัก 1/2- 1 ถ้วย พอน้ำเริ่มสูงมากขึ้น ก็ดูดออก/เทออกบ้าง แล้วเติมต่อเป็นช่วงๆ อาจเป็น 15-30 นาที/ครั้ง กะว่าน้ำใหม่เติมเกินครึ่งหรือจนหมดเลยก็ได้ แล้วปล่อยปลาลงตู้ได้เลย
11 จากนี้ปลาก็จะ แฮปปี้ๆ
12 ถ้าไม่สบายใจก็อาจใส่ยาเหลืองอีกเล็กน้อย แต่ ถ้าทำอย่างนี้ไม่น่าจำเป็น ( ยกเว้นปลาป่วยอยู่แล้วเป็น ทุนเดิม ถ้าเป็นกรณีนี้ก็ ใส่เตตร้ากับเกลือ ดูกระทู้เดิมๆประกอบนะครับ มีวิธีใช้บอกไว้ )
พอปล่อยปลาลงเสร็จแล้ว พรุ่งนี้ค่อยเริ่มให้อาหารมื้อแรก พอให้มื้อแรกแล้วก่อนให้มื้อเย็นหรือมื้อต่อไปก็ขอให้สังเกตดูอาการด้วยว่า มันปกติดีหรือเปล่า ถ้ายังดีอยู่ก็ให้มื้อต่อไปได้เลย แต่ขอให้ดูด้วยปลามันอยากกินหรือเปล่าถ้าไม่ ก็ไม่จำเป็นต้องให้กิน สำหรับผมแล้วคิดว่าและที่ทำอยู่ทุกวันนี้ ถ้าเลี้ยงด้วยอาทีเมียเป่าผมว่าวันละมื้อก็พอครับ
เทคนิคอีกอันที่ผมยึดถือคือ ปลานี่เราต้องฝึกให้มันมีนิสัยอยากกินอยู่ตลอดเวลา ดังนั้นตู้ไหนที่ไม่แสดงอาการ กระตือรือร้นที่อยากจะกิน ผมเรียกว่าตะกายหน้าตู้ รับรองได้ว่ามื้อนั้นอดกิน ให้ตู้ที่แสดงอาการต้องการกิน กินไป จะได้เป็นการสอนกันไปเอง มื้อหน้าจะได้แสดงอาการที่ดีขึ้น
การถ่ายเปลี่ยนน้ำเราอาจถ่ายเป็นอาทิตย์ละ 1 - 2 ครั้งๆละ 30 - 50 % ก่อนถึงเวลาที่จะถ่ายน้ำอาเป็นพรุ่งนี้ วันนี้เราก็เอาฟองน้ำลูบตู้ ทิ้งไว้ให้มันนอนก้น พอถึงพรุ่งนี้ที่เราตั้งใจจะถ่ายน้ำ ก็เอาสายยางถ่ายน้ำดูดที่ก้นตู้ก็จะเก็บสกปรกออกไป จากนั้นก็เติมน้ำให้ถึงระดับปกติ ส่วนจะเติมเกลือหรือไม่ก็แล้วแต่ครับได้ทั้งนั้น แต่สำหรับผมแล้วเกลือจะใช้ต่อเมื่อปลามีอาการที่ต้องใช้เท่านั้น
หัวใจของการเลี้ยงปลาไม่ว่าปลาอะไรอยู่ที่ความสะอาดของตู้ปลา เครื่องกรอง น้ำ ปกติผมจะล้างตู้ปลาเดือน ละ 1-2 ครั้งขึ้นอยู่กับความสกปรกว่าเร็วหรือช้า ถ้าปลาแน่นหรือให้อาหารมากแน่นอนของเสียและเศษอาหารก็ย่อมมากเป็นธรรมดา ถ้าคนที่ขยันอาจถ่ายน้ำทุกวันหรือวันเว้นวันก็ได้ ที่สำคัญน้ำที่ใช้ต้องไม่มีคลอรีนและอุณหภูมิต้องไม่ห่างกัน ถ้าเท่ากันยิ่งดี ทีนี้ปัจจัยที่จะเลี้ยงปลาได้สวยงามเราก็ครบทุกอย่างแล้ว เพราะถ้าเป็นอย่างนี้
1 ปลาที่ซื้อเราก็เลือกสายพันธุ์ที่ดี และไม่ใช่ปลาที่ป่วย
2 น้ำที่ใช้ก็ปราศจากคลอรีนและสารที่เป็นพิษกับปลา
3 อาหารเราก็ใช้อาหารที่ดีมีประโยชน์กับปลา
4 เมื่อทำอย่างนี้แล้วปลาเราก็ ป่วยยากมาก การเติบโตก็เป็นไปอย่างดี สีสรรก็ไม่เกิดการสดุดเพราะปลาป่วย
5 ปัญหาก็พอให้ทำอย่างสม่ำเสมอ เพราะการเจ็บป่วยเกือบทั้งหมดมาจากความสกปรกนั่นแหละ
เป็นอันว่าบทความเรื่องสั้นเรื่องนี้ขอจบตอนเท่านี้ครับ สำหรับเกล็ดเล็กเกล็ดน้อยในเรื่องการเลี้ยงดู

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

การใช้เกลือแกง เพื่อรักษาและควบคุมโรค

การใช้เกลือ(แกง)กับการรักษาป้องกันโรค
(เกลือทะเล/การใช้เกลือเป็นตัวยับยั้ง-ต้านเชื้อโรค/เวลาใดที่เราควรใช้มัน/ ใช้ในจำนวนเท่าไร ) สำหรับการเลี้ยงปลาไม่ว่าจะเป็นปลาน้ำจืดอะไร เกลือ ถือเป็นยาตัวหนึ่ง แต่เราจะต้องทราบว่าเมื่อไหร่จึงควรจะใช้เกลือ และ ใช้อย่างไร จำนวนที่ใช้ ใช้เท่าไหร่ การใช้เกลือทะเล สามารถใช้เป็นวิธีการ รักษาโรคได้วิธีหนึ่ง และ ถือเป็นยาป้องกันโรค หากใช้ในจำนวนที่ถูกต้อง ในบางฟาร์มการใช้เกลือเพื่อการ ป้องกันโรค จำนวนที่ใช้ทั้งเดือน ใช้มากกว่าที่ใช้เพื่อการเป่า/เพาะเลี้ยงอาทีเมี่ยเป็นหลายเท่าตัว
ในกรณีที่ใช้เกลือเป็นยารักษาโรค คุณต้องอย่าลืมว่า เมื่อปลาหายดีแล้ว คุณก็ควรหยุดใช้มัน แน่นอนทุกคนยอมรับว่า " ยาถ้าไม่ใช้จะดีซะกว่า " เพราะ แน่นอนมันมีต้นทุน และอย่าลืมปลาก็เหมือนคน ยาไม่ควรใช้พร่ำเพรื่อ เพราะหากมันป่วยอีก คุณจะไม่มียาให้ใช้อีก กับเชื้อที่ดื้อหรือมีภูมิต้านทานยาแล้ว

PREVENTION OF INFECTION SYMPTOM/กรณีป้องกันการติดเชื้อ
ในเกลือมีคุณลักษณะที่สามารถป้องกันการติดเชื้อ และ มีผลในการต่อต้านแบคทีเรีย ทั้งยังมีผลในการยกระดับความสามารถของปลาที่จะต้านทานเชื้อด้วย ในการใช้เกลือ เราควรใช้เมื่อ
1. เมื่อนำปลามาจากที่อื่น
2. เมื่อมีการจับคู่ปลา ปลาตัวผู้และปลาตัวเมียซึ่งมาจากต่างตู้กัน เมื่อนำมันมาเข้าคู่ในตู้เดียวกันก็ควรใช้เพราะ ปลาที่มาจากต่างตู้กัน จะมีสิ่งแวดล้อม , ความต้านทานโรคที่ไม่เท่ากัน ปลาที่มีความต้านทานที่นอยกว่าจะสามารถติดเชื้อจากตัวที่มีความค้านทานที่สูงกว่าได้ จึงควรป้องกัน การติดเชื้อเข้าหากันนี้ ในกรณีแยกลูกปลาออกจากตู้พ่อแม่ก็เช่นกัน บ้านเราเรียกว่า " กันช้ำ "
3. กรณีย้ายลูกปลาหรือปลาเล็กออกมาก็ควรป้องกันการป่วยจากการ แยก , ย้าย ,การคัดปลา 4. กรณีคุณภาพน้ำไม่ดี หากวันที่คุณเปลี่ยนน้ำปลา ปลาเกิดอาการไม่ดี ปลาว่ายไถลไปมากับตู้ปลา
5. กรณีต้องเอาปลาเดินทางไปข้างนอก ก็ควรใช้เกลือ เพื่อการป้องกัน ช่วยให้ปลามีความเสถียรของภูมิป้องกัน
6. หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้ปลาเครียด การใช้เกลือเป็นการช่วยลดความเครียดของปลา
ปริมาณที่ใช้
1. ใช้เกลือ 0.5 % หรือ 50 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร
2. พอเข้าอาทิตย์ที่ 2 ถ่ายน้ำออก 1/3 เติมน้ำให้เท่าเดิม
3. พอเข้าอาทิตย์ที่ 3 ถ่ายน้ำออก 1/3 เติมน้ำให้เท่าเดิม ตอนนี้จะเหลือเกลืออยู่เพียง 1/6 ของตอนเริ่มต้น เมื่อเข้าอาทิตย์ที่ 4 ถ่ายน้ำอีกรอบ ก็แทบจะไม่เหลือเกลือแล้ว

REMEDY OF INFECTION SYMPTOM / วิธีการแก้ไขอาการโรคจากการติดเชื้อ
อย่างทีได้อธิบายตอนต้นแล้ว เป็นเรื่องของ " ความพยายามที่จะป้องกัน " ปลาของคุณมักจะเริ่มป่วย เมื่อคุณเริ่มไม่มีเวลา จัดการกับสิ่งที่ต้องทำตามเวลาที่ควรทำ อาจเรียกว่า
SICK IN THE SICKNESS OF YOUR TIME
เวลาที่คุณจะเห็นอาการเริ่มต้นของการเจ็บป่วย หรือผิดปกติ ตั้งแต่ต้นๆ เรียกง่ายๆ ว่า " เห็นอาการเริ่มต้นของการเจ็บป่วย/ผิดปกติ " ไม่ควรปล่อยถึงระดับที่ต้องใช้ยา ยาเองก็มีราคาแพง ผู้ขายยาก็ไม่กล้าและไม่เคยมีใครรับประกันตุณว่า ใช้แล้วจะหายชัวร์แน่นอน ทุกครั้งที่ใช้ยานั้นๆ ถ้าคุณเห็นอาการตั้งแต่ต้น อาจทำให้คุณสามารถจัดการกับมันได้โดยไม่ต้องใช้ยารักษาโรค
ในการสังเกตอาการ / สันญานของอาการเริ่มต้นของการเจ็บป่วย
คุณควรพยายามสังเกตและฝึกสังเกตให้คุ้นเคย เช่น
- ปลาที่ว่ายเอาตัวไถกับตู้หรือสิ่งของ
- เมื่อหางที่เคยกางองศาดีๆ กลับเริ่มหุบลง/ลีบ ลง
- อาการที่ปลาลอยหัวที่ผิวน้ำ
- อาการที่ปลาที่เคยว่ายอย่างมีชีวิตชีวา กลับมีอาการถดถอยว่ายอย่างเฉื่อยชา
สิ่งเหล่านี้เป็นอาการแสดงออกในเบื้องต้น แต่ก็ไม่ใช่โดยตรงเสียทีเดียว เราอาจใส่เกลือทะเล ( 50 กรัมต่อน้ำ 10 ลิตร ) แล้วสังเกตอาการของมันอีก 2-3 วัน ถ้าไม่สามารถสังเกตได้ว่าอาการ ของมันดีขึ้น ก็ให้ใส่เกลืออีกในปริมาณที่เท่าเดิม ( เป็นครั้งสุดท้าย ) ซึ่งตอนนี้เท่ากับจะมีความเค็มของเกลืออยู่ที่ระดับ 1% ความเค็ม การพบอาการแต่เนิ่นๆ ทำให้เราสามารถค้นพบการเจ็บป่วยตั้งแต่เริ่มต้น เมื่ออาการต่างๆดีขึ้นหรือลดลง นี่ก็เป็นการรักษา , บำบัด , ป้องกันการเจ็บป่วนส่วนใหญ่ของโรค หรือพูดได้ว่า เราสามารถจัดการ/ควบคุมเชื้อ/โรคที่อาจ เกิดขึ้นได้ด้วยการพบเห็นอาการตั้งแต่เริ่มแรก และ ไม่ได้ละเลยมันไป มันเป็นเรื่องที่ไม่ปลอดภัย ในการที่จัดการกับอาการเจ็บป่วยที่ล่าช้า อย่างน้อยก็เป็นการป้องกันการแพร่กระจายของการเจ็บป่วย
การแยกอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้กับตู้หรือปลาที่ป่วย การล้างฆ่าเชื้อสิ่งของที่ใช้กับมัน สามารถทำได้โดยใช้ น้ำร้อน, สารฟอก ( bleaching agent ) เช่นด่างทับทิม หรือ สารฟอกขาวเสื้อผ้า ก็ได้ แล้วล้างให้สะอาดด้วยน้ำมากๆ ก่อนนำไปใช้งาน

ลูกปลาและช่วงชีวิตที่สำคัญยิ่งในเดือนแรก FRY & THE VITAL FIRST MONTH

FRY & THE VITAL FIRST MONTH
ลูกปลาและช่วงชีวิตที่สำคัญยิ่งในเดือนแรก ลูกปลา, ช่วงชีวิตที่สำคัญยิ่งในเดือนแรก
โดย MIDGE HILL
พิมพ์ซ้ำจากบทความ GUPPY GAMBITS โดย MIDGE HILL
ตรวจทานโดย STEPHEN KWARTLER
แปลไทย โดย เซียงชัย จิตโกศลวณิชย์
--------------------------------------------
อะไรก็ตามที่เกิดขึ้นกับลูกปลาของคุณในเดือนแรก มันสามารถทั้งทำลายและสร้างปลาระดับประกวดของคุณได้ ไม่ว่าคุณคาดหวังว่า คุณจะเสี่ยงเพื่อให้ได้ปลาที่สวยระดับชนะการประกวด หรือเพื่อเป็นปลาที่สวยสุดๆ เพื่อประกวด หรือเพื่อความภูมิใจของคุณก็ตาม อะไรก็ตามที่คุณทำ ใน 30 วันแรก จะสามารถสร้างความแตกต่างได้ (ไม่ว่าจะดีหรือไม่ดีก็ตาม) ถึงแม้นักเพาะเลี้ยงต่างๆจะมีวิธีดูแลปลาในช่วงสำคัญนี้แตกต่างกันไป แต่ทุกคนเห็นพ้องต้องกันว่า ในช่วงเวลาดังกล่าวต้องการให้ลูกปลา
- เติบโตอย่างรวดเร็ว
- ต้องการให้เกิดพัฒนาการเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
เพื่อให้ได้ปลาที่มีขนาดที่ดีอย่างแท้จริง และมีร่างกายที่แข็งแรงล่ำสันเพียงพอที่จะส่งเสริมการพัฒนาให้มีครีบที่ใหญ่สวยงาม คุณต้องผลักดันลูกปลาให้ไปสู่จุดสูงสุดให้ได้ในช่วงเวลาสั้นๆระหว่างวันที่มันเกิด จนไปถึงวันที่มัน เริ่มมีความสนใจทางเพศ หรือเปลี่ยนแปลงการพัฒนาการไปทางเรื่อง “เพศ”การพัฒนาของปลาการพัฒนาของปลามีแนวโน้มที่ค่อนข้างที่จะเป็นรูปแบบที่แน่นอน คือ ในช่วงเดือนแรกพลังงานที่ลูกปลาได้รับจะถูกส่งไปใช้เพื่อการพัฒนาการเจริญเติบโตทางร่างกาย พัฒนากล้ามเนื้อ โครงสร้างกระดูก จนถึงช่วงท้ายของเดือน ปลาจะเริ่มหันเหความสนใจ และการใช้พลังงานไปในการพัฒนาการทางเพศมากกว่าทางร่างกาย ในช่วงอาทิตย์ที่ 6 ปลาจะเปลี่ยนพลังงานไปใช้พัฒนาทางเพศเป็นอย่างมาก และในช่วงนี้จะไปพัฒนาทางครีบต่างๆ โดยเริ่มที่หาง และอีก 1 เดือน หรือมากกว่านั้น จะไปพัฒนาที่ครีบหลัง ถึงแม้ว่าการพัฒนาทางร่างกายจะยังคงมีอยู่ไปจนถึงเวลาตาย แต่ก็จะช้าลงไปเรื่อยๆ ดังนั้นอย่างที่ได้กล่าวแล้วว่า เพื่อให้ได้ปลาที่มีขนาดใหญ่ที่สุด นักเพาะเลี้ยงจึงต้องเน้นในเดือนแรกๆ นี้ ให้มีการพัฒนาการทางด้านร่างกาย และขนาด ก่อนที่มันจะเริ่มใช้พลังงานไปพัฒนาทางด้านอื่นๆ
ตอนนี้เราจะย้อนไปถึงเมื่อเราจับคู่พ่อแม่แล้ว หลังจากนั้น 28 – 30 วัน ตอนนี้แม่ปลาก็คงพร้อมที่จะให้ลูกได้แล้ว เราควรย้ายแม่ปลาไปยังตู้อนุบาล ซึ่งอาจใส่สาหร่ายหรือตาข่ายเพื่อป้องกันแม่ปลา ซึ่งอาจกินลูกของมัน เพราะในนั้นอาจมีลูกปลาสุดยอดออกมาด้วย หลังจากแม่ปลาคลอดลูกเสร็จแล้ว ควรแยกแม่ปลาออกไปอนุบาลต่างหาก เพื่อระวังรักษามัน เพราะถ้าลูกของมันออกมาดีเยี่ยม คุณจะสามารถจับคู่เดิมได้อีกต่อไป
เมื่อเอาแม่ปลาออกแล้วเราก็จะเลี้ยงลูกปลาในตู้ และให้อาหาร ตู้ใช้ขนาด 5 แกลลอน เลี้ยงมันตลอดช่วงเดือนแรก ซึ่งลูกปลาจะเติบโตได้ดี ไม่ต้องใช้พลังงานสิ้นเปลืองเพื่อควานหาอาหาร ให้มันเอาพลังงานที่มันจะสิ้นเปลืองไปใช้เพื่อพัฒนาร่างกายต่อไปแทน ตู้เปลือยใส่ชุดกรองที่มุมตู้ อาหารที่เหลือควรดูดออกไป อย่าทิ้งไว้เพราะมันจะเน่าเปื่อย บางคนอาจใส่หอย หรือ ปลากินซาก (ขยะ) เพื่อกินเศษอาหารที่เหลือ โดยเฉพาะไรทะเลที่ตายจะเน่าได้เร็วมากการให้อาหาร, ให้มากแค่ไหน, และบ่อยแค่ไหน
ลูกปลาหางนกยูงจะมีระบบอาหารที่เล็ก ซึ่งต้องการเติมทุกๆ 20 นาที เพื่อการเติบโต อย่างสูงสุด ดังนั้นสิ่งที่คุณต้องทำ คือ จัดความสมดุลระหว่าง 3 สถานการณ์ คือ
- ให้น้อยไป
- ให้เพียงพอ
- ให้มากเกินไป ซึ่งอันตรายมาก
จุดประสงค์ของเรา คือ ให้อาหารให้เพียงพอ เพื่อจะกินมื้อต่อไป โดยไม่ทำให้เกิดมลภาวะของเน่าเสีย หรือของ เหลือ ซึ่งอาจจัดให้อาหารทุก 2 ชั่วโมง และวันละ 8 – 10 มื้อ อย่างไรก็ตาม ถ้าการให้อาหารถี่เกินไป คุณอาจใช้ อาหารที่ไม่เน่าเปื่อยเร็วนักแทน ทำให้คุณไม่ต้องให้อาหาร มากมื้อ แต่ก็คงยังได้คุณภาพที่เท่าเดิม ซึ่งคุณต้อง ทดลองปรับเอง แต่อย่างไรก็ตามคุณก็ต้องระวัง ขอให้แน่ใจเสมอว่า อาหารมื้อก่อนได้กินหมดแล้ว หรือได้ถูกดูด ออกไปแล้วก่อนให้มื้อใหม่อาหารอะไร และให้อย่างไร FORCE FEEDING การให้อาหารแบบผลักดัน เทคนิค คือ ต้องให้กินมากขึ้นกว่าที่มันจะกินได้ตามธรรมดาที่กินได้เมื่อปลาหิวอีกนิดหนึ่ง และให้กินอาหารที่มีธาตุ หรือสารอาหารที่จำเป็นและร่างกายต้องใช้เพื่อการเจริญเติบโตซึ่งหมายถึง อาหารคุณภาพสูง ซึ่งต้องมีส่วนประกอบที่ ไม่จำเป็นให้น้อยที่สุด ไม่ให้ของที่ไม่จำเป็น หรือไม่มีประโยชน์ ผ่านเข้าไป หรือใช้พื้นที่ในระบบย่อยอาหาร แต่ไม่ให้ประโยชน์อะไรกับร่างกายปลาเหมือนกับเด็กที่กินอาหารมื้อเย็น ซึ่งอิ่มจนแน่นท้องไปหมดแล้ว แต่ก็จะไม่ยอมลดละกับไอศกรีมโคนที่แสนจะถูกใจ ปลาก็จะกินอาหารที่รสดีอย่างตะกละ ถึงแม้มันจะไม่หิวก็ตาม
เรารู้กันว่าอาหารที่มีประโยชน์ปลาไม่ค่อยยอมกิน แต่ที่กินก็เพราะมันหิวจริงๆ แล้วเราก็จะตามด้วยอาหารที่มีรสถูกใจมัน มันก็จะยอมกินอีก ถึงแม้พุงจะเต็มไปด้วยอาหารมื้อก่อนก็ตามที ซึ่งไรทะเลเป็นอาหารที่ปลาจะกระโจนใส่เข้าไปกินอย่างตะกละตะกราม เทคนิคของมันจึงอยู่ที่ ให้ปลายังคงยอมกินอยู่ถึงแม้จะหิวหรือไม่ก็ตามเราอาจจัดรอบของการให้อาหารในหนึ่งวันเป็น
1. อาหารแห้ง #1
2. ไรทะเลเกิดใหม่
3. อาหารแห้ง#2
4. อาหารมีชีวิต, อาหารเหลว ถ้าเป็นอาหารแห้งก็ควรเป็น FREEZE DRIED TUBIFEX, PLANKTON
5. อาหารแห้ง#3
6. อาหารแห้งสูตรเฉพาะของลูกปลา ที่มีคุณค่าอาหารสูงๆ
7. ไรทะเลเกิดใหม่
8. อาหารแห้งที่ให้มันอยู่ในท้องได้ตลอดคืน แล้งทิ้งเวลาไว้ 1 ชั่งโมง จึงค่อยปิดไฟ
9. ถ้าจะให้ต่อก็ให้วนรอบใหม่อีกครั้ง
เพราะไรทะเลจะมีฤทธิ์เป็นยาถ่าย นักเพาะเลี้ยงส่วยใหญ่จึงให้อาหารแห้ง แล้วมื้อต่อไปตามด้วยไรทะเล โดยให้อาหารแห้งรั้งไรทะเลไว้ในลำไส้ เพื่อให้ดูดซึมคุณค่าไว้ให้ได้มากที่สุด และมื้อถัดไปก็ควรเป็นอาหารที่มีความแข็งมากกว่า เพื่อให้อยู่ท้องนานๆ และมีธาตุอาหารสูงๆ ดังนั้น ควรจัดหมวดหมู่อาหารให้ดี เพราะไม่มีอาหารตัวใดตัวหนึ่งให้อาหารได้ครบทั้งหมดได้ และเป็นไปไม่ได้ที่จะให้ปลาเติบโตได้เต็มที่ โดยไม่ใช้อาหารมีชีวิตด้วย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในดือนหัวเลี้ยวหัวต่อแห่งการเติบโตนี้การเปลี่ยนน้ำนักเพาะเลี้ยงหลายคนพบว่า การเปลี่ยนน้ำบ่อยจะกระตุ้นการเติบโต ด้วยการเลี้ยงปลาจำนวนมากในปริมาณน้ำที่น้อย และมีการกินที่เต็มที่ และสม่ำเสมอ การถ่ายน้ำบ่อยเป็นสิ่งที่จำเป็นเพื่อเป็นการเอาของเสีย และแอมโมเนียทิ้งไป แล้วธาตุจำเป็นในน้ำก็จะถูกเติมลงไป ซึ่งไม่ทำให้เกิดผลเสีย กลับเป็นการกระตุ้นลูกปลาให้อยากอาหารด้วย บางคนถ่ายน้ำ 25% ใน 1 ครั้งต่ออาทิตย์ ขณะที่บางคนถ่ายน้ำน้อยกว่า (10% โดยประมาณ) วันละ 1 ครั้ง การเปลี่ยนน้ำมากกว่า 25% ใน 1 ครั้งอาจทำให้ปลาช็อกได้ ถ้าคุณภาพของน้ำ และอุณหภูมิของน้ำแตกต่างกับน้ำเดิม ในสิงคโปร์ ผู้เพาะเลี้ยงเป็นการค้า เปลี่ยนน้ำ 100% ทุกวัน และได้ปลาที่ตัวใหญ่มาก แต่เขาได้รับพรและโชค ที่ใช้น้ำธรรมดา และอุณหภูมิที่อุ่น และไม่ต้องใช้เคมีบำบัดน้ำ ก่อนใช้ อุณหภูมิมีผลต่อการเติบโต ถ้าอุ่นกว่าจะทำให้การเผาผลาญของปลามีสูงขึ้น โดยใช้ความแตกต่างนี้ บางคนจะเลี้ยงปลาที่อุณหภูมิอุ่นมาก (80 ?F) ทำให้ลูกปลากินได้มากกว่า และโตเร็วกว่า บางคนจะเลี้ยงในอุณหภูมิที่ต่ำกว่า (72 ?F) ปลาก็จะเติบโตเต็มที่ถึงวัยเจริญพันธุ์ได้ช้ากว่า ทำให้ มีช่วงที่จะเน้นการเจริญเติบโตทางขนาด และร่างกายได้นานกว่า หรือบางคนก็อาจใช้วิธี เมื่อปลา ถึงวัยเจริญพันธุ์ ก็จะเลี้ยงที่อุณหภูมิลดลงเพื่อชะลอให้การพัฒนาทางเพศช้าลง ให้การเจริญเติบโตทางร่างกายมีเวลานานขึ้นความสว่างจำนวนชั่วโมงจะมีผลต่อการกินของปลา ดังนั้นความสว่าง (แสง) จึงเป็นอีกปัจจัยต่อ การเติบโต บางคนจัดให้มีแสงสว่างตลอด 24 ชั่วโมง เพื่อให้สามารถเลี้ยงปลาได้มากมื้อกว่า และมักคิดว่าปลาที่มีกิจกรรมมาก แต่กินน้อยกว่าจะทำให้การเติบโตลดลง โดยทั่วไปนักเลี้ยงปลา ชั้นยอดจะจัดให้มีแสงสว่างวันละ 16 – 17 ชั่วโมง และปิดไฟ 7 – 8 ชั่วโมง ความสว่างมากๆ จะไม่มีผลต่อการเติบโตเท่าใดนัก แต่ในทางตรงข้าม ความสว่างที่ไม่เพียงพอจะมีผลทำให้ปลา มีรูปร่างที่ไม่สมประกอบได้ โดยเฉพาะกระดูกสันหลัง เครื่องกรอง โดยทั่วไปจะไม่นิยมใช้การกรองใต้พื้น เพราะทำความสะอาดยาก ทำให้ไม่สามารถเร่ง การกินอาหาร หรือการให้อาหารแบบผลักดันได้ เพราะไม่สามารถดูดเศษอาหารออกได้ ส่วน เครื่องกรองแบบกล่องหรือแบบฟองน้ำก็ใช้ได้ดีแทบทุกแบบ การคัดเลือก การคัดเลือกจะเริ่มตั้งแต่วันแรก โดยเฝ้าดู และคัดปลาที่ด้อยออกไป ในลูกปลาเกิดใหม่ มักมีสักหนึ่ง หรือมากกว่า ที่อาจมีสีเข้มกว่า และอาจว่ายน้ำไม่ค่อยดีนัก มักจะไม่ค่อยพัฒนาเหมือนตัวอื่นๆ ควรคัดออกทันทีที่พบ อีกพวกหนึ่งอาจมีสีสันเหมือนตัวอื่นๆ แต่จะไม่ว่ายน้ำ มักใช้ท้องไถลไปตามตู้ปลา จากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่ง พวกนี้ต้องกำจัดออกไป และเมื่อถึงวัยเติบโตจะมี บางตัวที่โตช้ากว่า ปลาเหล่านี้ก็ควรกำจัดออกไป อาจมีบางตัวที่มีพัฒนาการทางเพศช้ากว่าตัวอื่นๆ พวกนี้อย่ากำจัดไป เพราะมันจะมีพัฒนาการทางร่างกายนานกว่า หรือมากกว่าทางเพศ และต่อไป จะเป็นปลาที่ตัวใหญ่กว่าตัวอื่นๆ มาก
ทบทวนกันอีกครั้ง
งานหลักในช่วงเดือนแรกของการเลี้ยงลูกปลา คือ ผลักดันการเติบโต โดยการเลี้ยง, การให้อาหารแบบผลักดันด้วยอาหารที่มีคุณภาพ, การถ่ายน้ำ, การรักษาความสะอาด และการควบคุมอุณหภูมิ การคัดปลาด้อยออกต้องทำตลอดเวลาตั้งแต่เริ่มต้น เพื่อให้ปลาที่ดี มีพื้นที่ว่างในตู้มากขึ้น และในเดือนถัดไป ลูกปลาจะนำไปเลี้ยงในตู้ที่ใหญ่ขึ้น และแยกเพศ