วันจันทร์ที่ 13 สิงหาคม พ.ศ. 2550

สร้างเลือด100%แท้ จากปลาเลือด50%

สร้างเลือด100%แท้ จากปลาเลือด50%

คิดเขียนบทนี้ขึ้นมาเพื่อให้เป้นบทมาตราฐานสำหรับ
1 คนที่ไม่แน่ใจว่าปลาที่ซื้อมาเป้นเลือดแท้หรือไม่?
2 คนที่ซื้อปลามาเป็นคู่ แต่ยังไม่ทันได้ลูกก็มาสูญเสียตัวผู้หรือตัวเมียไปซะก่อน
3 สำหรับใช้รักษาปรับปรุงสายเลือดเดิมๆที่ใช้มานานเพื่อป้องกันอาการด้อยจากเลือดชิด
ด้วยเทคนิค Out-cross แล้ว Cross-back

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550

อาการตัวสั่นหัวส่าย,ครีบและหางลู่

อาการตัวสั่นหัวส่าย(wshimmy) หรือ ครีบและหางลู่ (Clamped Fins)"

อาการตัวสั่นหัวส่ายShimmies" หรือ "ครีบและหางลู่ clamped fins" โดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงอาการที่แสดงออกของการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรค เพราะมันสามารถเกิดจากสาเหตุต่างๆได้มากมายที่ทำให้เกิดอาการเดียวกันเช่น columnaris หรือ fluke ในรูปแบบต่างๆ

อาการของโรคและพฤติกรรมที่แสดงออก ( Symptoms and Behavioral Signs )

ปลาหางนกยูงเกิดอาการครีบแนบกับลำตัว และหางลีบลู่ ลอยตัวที่ผิวน้ำ ดูเกือบไม่เคลื่อนไหว มีอาการตัวสั่นหัวส่าย หรือว่ายน้ำบ้างเป็นบางครั้ง แต่ไม่ได้ว่ายแบบปกติ เป็นการว่ายขยับตัวจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งแบบผิดปกติ อาการที่แสดงออกคือ


1 Fins clamped ครีบลู่แนบลำตัว หางลีบ
2 Guppy shimmies ปลาตัวสั่นหัวส่าย
3 Fish is shy or hiding ปลามักมีอาการขี้อายหรือหลบๆซ่อนๆ
4 Fish lack appetite ปลาขาดอาการแสดงออกถึงการอยากอาหารหรือกินอาหาร
5 Fish is still or inactive ปลาแสดงอาการเฉื่อยชาอาการเหล่านี้เป็นอาการจากการติดเชื้อ ( parasitic diseases )
ซึ่งจะเป็นเชื้อโรคอะไรนั้นสามารถรู้ได้อย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อส่องดูด้วสยกล้องจุลทรรศ ( microscope ) การรักษาโรคโดยไม่ทราบถึงต้นเหตุของปัญหา อาจทำให้ปลาเกิดความเครียด จากสารเคมี(ยา)ที่ใช้รักษา ไปกระทบกระเทือนสภาวะของน้ำสภาวะที่อาจเป็นต้นเหตุ (causative condition)
การเกิด/มี แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรด ในระดับที่สูงในน้ำตู้ปลาหรือน้ำที่ใช้เลี้ยงน้ำมีระดับอ็อกซิเจนต่ำ มีของเสียทางสารอินทรีย์ในระดับสูง

ระดับ pH หรือความเป็นกรดเป็นด่างเกินกว่าช่วงที่เหมาะสมของปลาหางนกยูง (อาจต่ำกว่า 7.0 หรือมากกว่า 8.4) อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะของน้ำโดยทันที,กระทันหันของความเป็นกรดด่าง pH,

อุณหภูมิ หรือระดับความกระด้างของน้ำหากเกิดขึ้นหลายๆตู้

อาจเกิดจากเกิดการล้มของวงจรของไนโตรเจน( nitrogen cycle ) อย่างรุนแรง หรืออาจเกิดจากการให้อาหารมากจนเกินไป หรือ

ระบบกรองล้มเหลว ( เช่นสกปรกเกินไป หรือ อาจเกิดช่วงไฟฟ้าดับเป็นช่วงเวลานานในช่วงที่ไม่อยู่บ้าน ทำให้ระบบจุลินทรีย์และวงจรของไนโตรเจนเกิดการ ล้มเหลว ) ถ้าหากอาการนี้เกิดขึ้นหลังจากช่วงปกติที่ปลาไม่มีอาการอะไรเลย และเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆตู้ ทั้งในช่วงใกล้ๆนี้ก็ไม่มีการเอาปลาใหม่เข้ามาเลย คุณอาจเดาไว้ได้เลยว่าเป็นเพราะ คุณให้อาหารมันมากเกินไป การวินิจฉัยโรค ( Diagnosis )ถ้าปลาของคุณว่ายเอาตัวถูกับพื้นตู้หรืออื่นๆ หรือว่ายฉวัดเฉวียงไปๆมาๆแปลกๆ นั่นบ่งว่ามันเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวของมัน ซึ่งน่าเกิดจาก parasite ภายนอก ถ้าปลาว่ายโดยมีลักษณะผิดปกติ นั่นอาจเกิดจาก parasistic disease เช่น Chilodonea, Costia, Skin Flukes (gyrodactylus), White Spot (Ich) and Velvet Diseaseให้สำรวจตรวจสอบว่ามีสัญญานอาการที่ผิดปกติ หรืออาการของโรคอย่างอื่นหรือไม่ ถ้ามีอาการเพียงแค่หางลีบครีบลู่ นั่นอาจเกิดจากคุณภาพของน้ำอาจอยู่ในสภาพที่แย่มาก ถ้ามันแขวนหัลอยตัวที่ผิวน้ำ โดยไม่มีอาการของโรคอื่นๆเลย นั่นก็อาจมาจากคุณภาพของน้ำที่ไม่ดี

ลองสำรวจดูที่พื้นตู้ ว่ามีอะไรที่ผิดปกติไหม?

เมื่อเทียบกับตู้อื่นๆ เช่น มีเศษอาหารที่ไม่ได้กิน เหลือไว้ อยู่ที่ก้นตู้หรือไม่?

น้ำในตู้ขุ่นมัวหรือไม่?

ตัวกรองสกปรก อุดตันหรือไม่?

ที่ตัวกรองการไหลเวียนของน้ำยังสะดวกดีอยู่หรือเปล่า ?

สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญานบ่งบอกว่า การให้อาหารมากเกินไป และ วงจรการย่อยสลายของเสียหรือ เกิดการล้มเหลวของ nitrogen cycle.

ซึ่งทำให้คุณภาพน้ำเสียหายและเกิดสารพิษได้ สำรวจดูอาหารที่คุณจะให้ปลากิน ว่ามีกลิ่นไม่ดีหรืไม่?

ลองตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำต่างๆ ( water parameters )

คุณสมบัติทางเคมีของน้ำในตู้อาจ เกิดสภาวะที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลาหางนกยูง

ก็ให้ปรับคุณสมบัติต่างๆให้เหมาะสมถูกต้อง ซึ่งเราจะมาว่ากันต่อไป

สัญญานอีกอย่าง เราควรทราบว่า ปลาบางสายพันธุ์จะมีความว่องไวกับการเกิดโรคบางอย่าง

โดยเฉพาะกับอาการ หางลีบครีบลู่ หรือ ตัวสั่นหัวส่าย มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

เราอยากแนะนำให้เลิกเลี้ยงไปเสีย แต่หากยังต้องการเลี้ยงอยู่ก็ควรตีผ่า ( outcross )สายพันธุ์นั้น

เพื่อ ปรับปรุงความแข็งแรงทางพันธุกรรม


การป้องกัน และ การรักษา ( preventation & treatment )

เมื่อคุณเลี้ยงปลา, ให้อาหารมัน , ทำการคัดเลือกมัน , เอาปลาไปโชว์ไปประกวด ให้ลองพัฒนานิสัย

“ การมองปราดอย่างรวดเร็ว เพื่อตรวจสอบปลาทั้งหมดอย่างรวดเร็ว “

เป็นการตรวจสอบด้วยสายตาอย่างคร่าวๆ ถ้าคุณเห็นปลาอยู่ที่มุมตู้หรือที่ผิวน้ำ ส่ายไปส่ายมา และอาจครีบลู่หางลีบด้วย คุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ คุณควรรีบแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำทันที มิฉะนั้นแล้วอาจเลยไปถึง ขั้นที่ยากแก่การกู้คืนได้ การรักษาโรคปลาอาจเลยไปถึงขั้นทำได้ยาก หรือแก้ไขไม่ได้ รีบแยกปลาที่ป่วย ออกมารักษา เราพบว่าการแยกปลาที่ป่วยออกมารักษาต่างหากเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะปลาที่ป่วยอาจมีการติดเชื้อโรคอย่างมากมาย กลายเป็นแหล่งของเชื้อ ทำให้สามารถติดและลุกลายไปยังตัวอื่นๆได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ป่วยทั้งตู้ได้เพียงวันสองวันอย่างรวดเร็ว ปลาตัวอื่นๆอาจไม่มีทางป้องกันตัวได้ เราเองก็ช่วยปกป้องและป้องกันปลาตัวอื่นๆได้ยากถ้าการทดสอบน้ำ แสดงผลว่า คุณสมบัติทางเคมีของน้ำ ไม่อยู่ในสมดุล ที่เหมาะสมกับปลาหางนกยูง คุณอาจใช้ ผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง ที่มีขายอยู่มากมาย เพื่อขจัดพิษต่างๆ เช่น ระดับไนโตรเจนที่มีอยู่มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อปลา หรือ /และ อาจเปลี่ยนถ่ายน้ำออก 30 % ด้วยน้ำที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมถูกต้อง แต่ต้องระวังอย่าให้กระเด็นหรือไปปนเปื้อนตู้อื่นๆ ถ้าปลาส่วยใหญ่มีอาการเครียดให้ ย้ายมันออกไปไว้ตู้ที่มีน้ำที่เหมาะสม หรือถ่ายน้ำออก 50%ด้วยน้ำที่ดีเหมาะสม หลังจากนั้น 3-4 วันให้ดูดสกปรกที่ก้นตู้ออกและถ่าน้ำ 10 %ทุกวัน ถ้าหาก พิจารณาแล้วว่า อาการผิดปกติเกิดจากการให้อาหารมากเกินไป ให้อดอาหารสัก 2 วัน หลังจากนั้นค่อยให้อาหารน้อยๆ และค่อยเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องจนมาถึงอัตราที่ปกติและเหมาะสม พยายามอย่าใช้ยากับปลา ยกเว้นว่าการเจ็บป่วยมาจากเชื้อโรคจริงๆ เพราะยาหลายตัวที่ไปทำลายวงจรของไนโตรเจน ทำให้เกิดปัญหาใหม่ตามมาอีก

ให้ดูหัวข้อ “ Medications Affecting the Nitrogen Cycle “

อย่างไรก็ดี ที่ใช้กันการรักษา อาการนี้ การใช้ ด่างทับทิม potassium permanganate นับว่าได้ผลดีที่สุด และการล้างตู้ที่ได้ผลสุด( หากจำเป็น ) คือการใช้ โซดาไฟ ล้างแช่ตู้ เพราะมันจะล้าง ย่อย ทำลาย คราบ เศษ อาหาร ของเสีย ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดและสนับสนุนการเติบโตของเชื้อโรค การใช้ด่างทับทิมตามอัตราที่เหมาะสม คือ 5 ppm จะไม่ทำลายวงจรของไนโตรเจน ก่อนการรักษาให้ถ่ายน้ำใหม่ 30% แล้วใช้ด่างทับทิมตามอัตราที่กำหนด การรักษาอาจทำสัก 2 ครั้ง ( อาจห่างกันสัก 2 – 3 วันครั้ง )ยาที่มีผลกระทบต่อวงจรของไนโตรเจน ( medications affecting the Nitrogen Cycle )ยาที่ใช้บางตัวสามารถเป็นอันตรายต่อตัวปลามันเองโดยตรง ในกรณีที่ยานั้นมีผลที่ไปฆ่าหรือทำลายวงจรไนโตรเจนที่ช่วยย่อยสลายของเสียต่างๆ ในกรณีนั้น จะทำให้ปลาของคุณเครียดและอันตรายจากการเกิดพิษจากของเสียต่างๆในน้ำ เพราะปราศจากวงจรไนโตรเจนและจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยของเสียในตู้ปลา
การศึกษายาต่างๆที่ใช้รักษาปลา โดยดูว่ามีผลกระทบต่อ วงจรของไนโตรเจน โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่อ การสลายแอมโมเนียและ ต่อการสร้างไนเตรท การศึกษานี้ได้ตีพิมพ์ ใน ATLA 27, 121-135, January/February 1999. "Short-Term Toxicity of Various Pharmacological Agents on the In-Vitro Nitrification Process in a Simple Closed Aquatic System"

ยาที่ไม่มีผลต่อวงจรไนโตรเจน
chloramphenicol
copper (II) sulphate
kanamycin disulphate
malachite green
neomycin sulphate
potassium penicillin G
tetracycline
trimethoprim plus
sulphadoxin (DuoprimTM

ยาที่มีผลกระทบต่อวงจรไนโตรเจน
ampicillin
(Albipen®)
chloramine T
enrofloxacin
(Baytril®)
erythromycin
levamisole
methylene blue
polymyxin B

จากการศึกษาสรุปว่า "ข้อมูลดังกล่าว แนะนำว่าการรักษาปลาที่เจ็บป่วยด้วยยาเหล่านี้ ต้องแยกออกมารักษาในตู้ที่ใช้รักษาปลาป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากการเกิด พิษจากแอมโมเนีย ( อันเนื่องจากการล้มเหลวของวงจรของไนโตรเจน ) ยาในกลุ่มดังกล่าวคือ ampicillin, enrofloxacin, chloramine T, erythromycin, levamisole, methylene blue or polymyxin BNecessary Disclaimer: Please note that the authors of the study, nor this site,warrant that this information is correct. Please use the information at your own risk.ข้อเตือนที่จำเป็นต้องแจ้ง : ผู้เขียนการศึกษาข้อมูลนี้ และ เวปนี้ ขอให้คุณได้ใช้การพิจารณาและสังเกตด้วยตนเอง ผู้ศึกษาได้รับรองผลการทดลองว่าเป็นจริง ดังนั้นกรุณาใช้ข้อมูลนี้ด้วย ความเสี่ยงของคุณเอง ด้วยวิจารณะญานส่วนตัวของท่านเอง

วันพฤหัสบดีที่ 2 สิงหาคม พ.ศ. 2550

ปลาทีสมาชิกนำมาร่วมงานมิตติ้ง29/7/2007














































ปลาทีสมาชิกนำมาร่วมงานมิตติ้ง29/7/2007









วันอังคารที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2550

เลี้ยงปลาอย่างไรปลาถึงจะมีโอกาสเจ็บป่วยน้อยที่สุด




เลี้ยงปลาอย่างไรปลาถึงจะมีโอกาสเจ็บป่วยน้อยที่สุด


(พิมพ์ใหม่) เริ่มกระทู้โดย เฮีย siangchai
เริ่มต้นอยากให้รู้ LATERAL LINE กันก่อน เพราะการเจ็บป่วยของปลามาจาก


1. การเจ็บป่วย จากการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป ทำให้ปลาต้องปรับตัวอย่างมากจนทนไม่ไหวทำให้เกิดการเจ็บป่วย อันนี้เกี่ยวข้องกับ เส้นประสาทข้างตัวของปลา ( LATERAL LINE ) ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่คุณสมบัติพิเศษที่สามารถปรับตัวได้ดีสามารถอยู่ได้ทั้งในน้ำจืดและน้ำกร่อยอยู่แล้ว แสดงให้เห็นว่ามันมีความสามารถในการปรับตัวสูงแต่ถึงอย่างนั้น การเลี้ยงดูของเราก็ยังมีโอกาสทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่กระทบกระเทือนปลาจนมันทนไม่ไหว ปลามีเส้นประสาทข้างตัวที่จะรับรู้การเปลี่ยนแปลงแล้วปรับตัวเพื่ออยู่ให้ได้ดังนั้นการหลีกเลี่ยงการทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงให้น้อยที่สุด สิ่งแวดล้อมเหล่านี้ได้แก่


คุณภาพน้ำ


อุณหภูมิ


ความเป็นกรดเป็นด่างของน้ำ (pH )


ความหนาแน่น-ความถ่วงจำเพาะ ( ถ.พ )


ความเครียด


ส่วนใหญ่มาจากการเลี้ยงที่แน่นมากเกินไป


รองมาก็คุณภาพน้ำที่สกปรกมากจนเกินไป เกินจะทนทานไหวต้องพยายามปรับตัวการปรับตัวเหล่านี้ต้องทำให้ปลาต้องสูญเสียความสมดุลในร่างกายปลา ทั้งยังทำให้ปลาอ่อนแอ,ทรุดโทรม เปิดโอกาสให้ศัตรูภายนอกเข้ามาแทรกซึมแทรกซ้อนได้ง่ายๆ


2. เชื้อโรค ปกติเชื้อโรคมีอยู่แล้วในบรรยากาศในน้ำ แต่มันจะมีโอกาสแสดงฝีมือได้ เพราะเราเปิดโอกาสให้มันเอง การสร้างโอกาสเหล่านี้ เช่น ความสกปรก ความหมักหมม ของสิ่งสกปรก ที่จะกลายเป็นอาหารให้เชื้อโรคเหล่านี้ วิธีแก้วิธีหนึ่งคีอ ตัดวงจรอาหารนี้ วิธีที่ง่ายที่สุด คือ การถ่ายน้ำ ดังนั้นเราก็ต้องหลีกเลี่ยงการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมที่มากเกินไป ดังที่กล่าวแล้วในข้อแรก เราอาจแก้ไขโดยการถ่ายน้ำแต่น้อยๆ แต่สม่ำเสมอเพื่อให้มันเคยชิน พูดง่ายๆ น้อยๆแต่บ่อยๆ อีกวิธีที่จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่น้อยกว่าคือการใแบคทีเรียที่ไม่ก่อให้เกิดโทษกับปลา แต่มันจะทำหน้าที่ กินเศษอาหารและของเสียที่เกิดจากตัวปลา นี่ก็เป็นการตัดวงจรอาหารของเชื้อโรค ทำให้มันเติบโตและก่อโทษกับลูกรักของเรา จากจุดนี้ จะสัมพันธ์กับข้อแรกที่พูดถึงความเครียดที่เลี้ยงปลาหนาแน่นเกินไป เพราะมันก็เกิดของเสียจากตัวปลาที่มากขึ้น , มากกว่า ทำให้เกิดอาหารให้เชื้อโรคมากขึ้น ซึ่งผลข้างเคียงก็คือ น้ำจะมีความสามารถในการดูดซับออกซิเจนไว้ในน้ำได้น้อยยิ่งขึ้น แถมความหมักหมมเหล่านี้ยังก่อให้เกิด แกสไนไตรท์ ซึ่งเป็นแกสพิษ ซึ่งสามารถฆ่าปลาได้โดยตรง ดังนั้นการใช้แบคทีเรียช่วยกินของเสียก็เป็นการช่วยได้ทางตรงและหลีกเลี่ยงการกระทบปลาจากการถ่ายน้ำได้เช่นกัน การถ่ายน้ำธรรมดาๆ ก็เป็นการลดปัจจัยเสี่ยงได้ดีเช่นกัน


ที่อยากแนะนำ คือ เราน่าจะมีภาชนะที่ใหญ่สักหน่อย ใส่จุลินทรีย์ไว้เป่าใช้โดยอาจใส่เกลือไว้ด้วย สิ่งที่ได้


1. ได้จุลินทรีย์ ไว้กำจัดของเสีย


2. ได้เกลือ ไว้ช่วยโอบอุ้มปลาไว้ ไม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติของน้ำที่เปลี่ยนแปลงแตกต่างที่มากและรวดเร็วเกินไป


3. ได้น้ำ ที่อุณหภูมิเดียวกัน แต่ต้องหมายถึงไว้ในสถาณที่ที่เดียวกัน ไม่ใช่


อันนึงอยู่ในร่ม อันนึงตากแดด ถ้างั้นจบกัน ตายเด็ด เหงือกบาน

จุดพอดี...ทำให้ได้ปลาที่ดี




จุดพอดี...ทำให้ได้ปลาที่ดี




จุดพอดีทำให้ได้ปลที่ดี ตรงนี้พูดง่ายทำยากนะครับ ที่ว่ายาก ไม่ได้หมายถึงการทำ แต่หมายถึง...การหาจุดพอดี


1. น้ำ คุณภาพที่พอดี


- ไม่ใหม่เกินไป


- ไม่เปลี่ยนน้ำ มากเกินไป


- ไม่เก่าเกินไป น้ำที่เก่าเกินไปมักกัดหางกร่อน


- ไม่สกปรกเกินไป ความสกปรกมักทำให้เกิดการติดเชื้อโรคที่ระบบภายใน..


อันนี้รักษายากเสียด้วย


2. จำนวนปลาที่เลี้ยง


ไม่แน่นเกินไป แน่นไป จำนวนของเสียที่ปลาขับถ่ายออกมาก็จะมาก พอของเสียมากไป น้ำก็จเสื่อมคุณภาพเร็ว วนเวียนกลับไปที่ข้อ1 เลี้ยงแน่น เลี้ยงได้ แต่ คอนโทรล ควบคุมยากต้องดูแลจัดการใกล้ชิจัดการที่ดีและคุณต้องสามารถแก้ไขปัญหาอย่างทันท่วงทีและอย่างได้ผล รับรองได้ว่า เหนื่อยจริงๆ มีปัญหาให้แก้ตลอดเวลา เลี้ยงให้บางลงอีกนิดดีกว่า พอปลาแน่น ของเสียเยอะ ออกซิเจนกลายเป็นน้อยไม่เพียงพอ ปลาเครียด เจ็บป่วยง่าย เวลาตายมักยกยวง หมดพันธุ์ไปเลย


มาต่อถึงปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการเลี้ยงปลาหางนกยูง คือ น้ำ


- คุณไม่มีปั้มลม คุณก็เลี้ยงได้ ปลาหางนกยูงเป็นปลาที่เลี้ยงง่ายอยู่แล้ว เมื่อเทียบกับปลาอื่น


- คุณไม่มีอาหารสด คุณก็เลี้ยงได้ อาจโตช้ากว่าคนอื่น แต่อาจมีข้อดีบางจุดที่ได้จากความโตช้า คือ ตายช้า


- คุณไม่มีพ่อแม่พันธุ์ที่เลิศ อยู่ในมือ คุณอาจขอแบ่งซื้อจากคนที่มี อาจจ่ายสูงกว่าในตลาดบ้าง แต่ชัวร์


- คุณอาจไม่มีตู้สวยๆ ชั้นสวยๆ คุณสามารถเลี้ยงอ่าง โถ กล่องพลาสติก อ่างแตก กาละมังรั่วทีเอามาอุดแล้ว แต่ถึงจะมีของเหล่านี้เลิศเลอแค่ไหน ถ้าคุณไม่สามารถรักษาคุณภาพน้ำได้ ก็จบ

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์


การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ โดย เฮีย siangchai

« เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2005, 10:33:52 PM »
การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์

(credit to: แปลจากบทความของ GARY MOUSSEAU,WWW.GUPPYS.COM)
1. กรรมวิธีการคัดเลือกเป็นสิ่งสำคัญที่สุดในแผนการผสม,เพาะพันธุ์ที่ดี
2. รหัสที่ข้าพเจ้าใช้เพื่อพิจารณาพ่อแม่พันธุ์ คือ S C S

SHAPE

รูปร่าง,รูปทรง ถ้าไม่มีจุดนี้ก็ไม่สามารถมีพ่อแม่พันธุ์ที่ดีได้ และก็ไม่สามารถมีปลาระดับโชว์ได้ และอย่าเพาะเสียเลยจะดีกว่า !!!!

COLOUR

สีสัน เมื่อได้รูปร่าง,รูปทรงที่ดี ต่อมาเราก็จะพิจารณาถึงสีสรร ถ้าไม่ดูจุดนี้ก็จะไม่มีความก้าวหน้า ใดๆเลย

SIZE

ขนาด เรื่องของขนาดเป็นปัจจับที่ใหญ่ที่สุด เพื่อให้ได้ปลาระดับที่ดียิ่งขึ้น,ปลาระดับโชว์,ปลาระดับประกวด,ปลาระดับแชมเปี้ยน
3.การคัดเลือกตัวผู้ พ่อพันธุ์

3.1 ต้องคัดเลือกอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น

3.2 เลือกปลาที่ดีที่สุดเมื่ออายุ 3.5เดือน ประมาณ 6-8ตัว จากตู้ขนาด 10แกลลอน ซึ่งมาจากปลา 12-15ตัว แล้วนำปลาที่คัดได้นี้มาเลี้ยงในตู้ขนาด 2.5แกลลอน

3.3 การคัดเลือก คุณต้องซื่อสัตว์ต่อรหัส S C S

3.4 เมื่อคุณเพาะพันธุ์จากพ่อพันธุ์เหล่านี้จนเกิดความก้าวหน้า และชนะการประกวด คุณจะคัดเลือกยากยิ่งขึ้น เพราะปลารุ่นต่อๆไปจะดูคล้ายกันมากยิ่งๆ ขึ้น
4. การคัดเลือกตัวเมีย แม่พันธุ์

4.1 การคัดเลือกทำเหมือนตัวผู้

4.2 แต่ตัวเมียข้าพเจ้าจะเน้นปลาที่ อ้วน บึกบึน,รูปร่างสั้น,และมีโคนหาง(PEDUCLE)ที่ใหญ่,หนา

4.3 โดยทั่วไปสีไม่ค่อยสำคัญกับตัวเมีย แต่หางต้องมีลักษณะดูสะอาด สีไม่เปรอะ เป็นลักษณะที่เลือกไว้ เพราะตัวเมียเลือกไว้ ต้องนำพายีนส์ที่ดี และได้ดีด้วยดี
5. การจัดคู่ การจัดชุดเพื่อเพาะพันธุ์ สามารถทำได้เป็น

5.1 ตัวผู้ 2: ตัวเมีย 3 ในตู้ 5.5 แกลลอน

5.2 ตัวผู้ 3: ตัวเมีย 3 ในตู้ 5.5 แกลลอน

5.3 ตัวผู้ 5: ตัวเมีย 6 ในตู้ 10 แกลลอน

5.4 แต่วิธี 1:1 ไม่ควรทำ เพราะได้ความสำเร็จยากยิ่งขึ้น

5.5 พ่อ + ลูกสาว จะให้ LINE BREED ที่ชิดที่สุด พี่ชาย + น้องสาว หรือ น้องชาย + พี่สาว เป็นวิธีที่นักเพาะพันธุ์ใช้กันมากที่สุด

*การเพาะพันธุ์ควรทำ 2 ชุด เพื่อป้องกันการผิดพลาดหรืออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นได้ในขบวนการของการทำงาน

*การผสมพันธุ์แบบชิดทำได้แค่ 3 รอบเท่านั้น เพื่อป้องกันไม่ให้ขนาดของปลาเปลี่ยนแปลงไป
GOODLUCK FOR YOU KINDLY THANK
SIANGCHAI JITKOSOLVANICH 26/02/05

การคัดเลือกปลา เพื่อไปสู่ความสำเร็จ




การคัดเลือกเพื่อไปสู่ความสำเร็จ SELECT FOR SUCCESS
โดย เฮีย siangchai เมื่อ: กุมภาพันธ์ 26, 2005, 09:15:04 PM
Credit to: Pan Pacific guppy club ( Mr. Jim Anderson )

บทความแปลนี้เป็นของ JIM ANDERSON ประธานชมรมปลาหางนกยูงที่ PAN PACIFIC (PPGA) เป็นชมรมที่ FRANK CHAN / LUKE ROEBUCK ร่วมทำกิจกรรมอยู่ด้วยกัน เป็นบทความที่มีแนวทางที่น่าสนใจ แต่อย่างไรก็ตาม ขอให้คิดถึงเรื่องสภาวะอากาศ และลักษณะของที่ที่แตกต่างกันด้วย โปรดพิจารณาและเลือกสรรเองนะครับ
การคัดเลือกเพื่อไปสู่ความสำเร็จ SELECT FOR SUCCESS
โดย JIM ANDERSON
นอกเหนือจากการเรียนรู้ถงการเลี้ยงปลาหางนกยูง เพื่อให้มันได้เจริญเติบโตไปถึงจุดสุดยอดของมันเท่าที่มันได้รับถ่ายทอดมาตามกรรมพันธุ์แล้ว "การคัดเลือก" พ่อแม่พันธุ์ที่ดีที่สุดจากปลากในแต่ละรุ่น ก็เป็นทิศทางที่สำคัญที่สุดของการเลี้ยงปลาหางนกยูงแฟนซี การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์เราใช้การคัดเลือกตามหลักพันธุ์ศาสตร์ เพื่อผลักดันให้ได้ปลาระดับประกวดในระดับชั้นยอด ผู้เพาะเลี้ยงที่ได้รับความสำเร็จ เขาจะรู้จักสายพันธุ์ของเขาเป็นอย่างดี และเขาจะทราบว่าปลาตัวไหนจะให้ลูกหลานที่ดีที่สุด การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์อย่างเคร่งครัด สามารถปรับปรุงสายพันธุ์ใดๆ ก็ตามให้ได้รับความสำเร็จได้ในการเพาะพันธุ์, เพาะเลี้ยงเพียงไม่กี่รุ่นเท่านั้น ถ้าเราใช้หลักพันธุ์ศาสตร์และทางสถิติเข้ามาเพื่อพัฒนาไปสู้ความก้าวหน้า ผมใช้บรรทัดฐาน, มาตราฐานการคัดเลือกเดียวกันกับทุกสายพันธุ์ของผม
1. การคัดเลือกพ่อพันธุ์
เราจะเริ่มต้นที่ เรามีปลาตัวผู้อยู่ 20-40 ตัว ในตู้ปลาตู้หนึ่ง ปกติผมจะเริ่มต้นการคัดเลือกด้วยการคัดออก 30- 50%
ขั้นแรก คัดปลาที่มีขนาดตัวเล็กกว่าปลาในตู้เดียวกันออกก่อน ไม่ว่ามันจะสวยงดงามเพียงไร นี่จะทำให้คุณเหลือปลาน้อยลง และทำให้คุณสามารถเพ่งเล็งส่วนที่เหลือได้ชัดเจนขึ้น ต่อมาผมก็แยกแยะและคัดเลือกจากความด้อยของครีบต่างๆ และการสูญเสีย ความชัดเจนสดใสของสี จากจุดนี้คุณควรเหลือปลาน้อยกว่า 20 ตัว
จากส่วนที่เหลือผมจะคัดเลือกโดยเลือกปลาที่ตัวใหญ่ที่สุดมา 4 ถึง 5 ตัว ซึ่งมีพฤติกรรม,ลักษณะ,ครีบต่างๆ ที่ดีที่สุด ใส่พวกมันลงไปตู้ขนาด 2.5 แกลลอน ทิ้งไว้ข้ามคืน การทิ้งไว้ข้ามคืนเพื่อให้มันได้ฉายประกายของความแตกต่างของปลาแต่ละตัว ซึ่งอาจไม่เห็นเมื่อตอนอยู่ในตู้ใหญ่และปลาจำนวนมาก จากปลาชุดนี้ (4 -5 ตัว) ผมจะเลือกเพียง 2ตัว โดย
- หนึ่งตัวสำหรับปลาตัวที่ใหญ่ที่สุด
- หนึ่งตัว สำหรับปลาที่สีดีที่สุดปลาแต่ละตัวจะเลี้ยงในตู้ขนาด2.5 แกลลอนร่วมกับตัวเมีย 2-3 ตัว
2. การคัดเลือกแม่พันธุ์ตัวเมีย
ผมไม่เคยเก็บตัวเมียสาวที่ยังไม่เคยผสมพันธุ์ ผมจะเลือกตัวเมียที่เลือกไว้แล้วและใช้งานอยู่ จากนั้นปล่อยให้คลอดลูกไปหนึ่งท้อง ก่อนที่จะเลี้ยงลูกปลาให้เอาตัวเมียมาใช้งานกับตัวผู้อื่นได้เลย
ในการเลือกแม่พันธุ์จะพิจารณาจาก ขนาดและรูปร่าง ผมจะเลือกตัวเมียที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ซึ่งมีโคนหาง, ข้อหางที่หนาและมีลำตัวที่หนา
ผมชอบตัวเมียที่มีรูปร่างที่ป้อมสั้น, แข็งแรงบึกบึน, ลำสัน มากกว่าตัวเมียที่ ยาว/บาง
ขนาดของตัวเมียอาจไม่ได้สัมพันธ์ หรือเกี่ยวข้องกับขนาด/รูปร่าง ของลูกที่เป็นตัวผู้ของมันเสมอไป
แต่ข้อหางของตัวเมียที่เป็นแม่พันธุ์ จะช่วยให้ลูกปลาตัวผู้ของมันมีโครงสร้างลำตัวที่มีความแข็งแรงเพียงพอที่จะแบกรับหางที่ใหญ่โตของมันได้ดี
ถ้าหากเป็นไปได้ ผมจะไม่ผสมแม่พันธุ์กับพี่น้องของมัน ผมจะให้มันผสมกับญาติห่างๆ หรือพี่น้องต่างแม่กันกับมัน ผมจะเก็บลูกของมันไว้เพียง 1-2 คลอก จากตัวเมียแต่ละตัว วิธีนี้จะทำให้ผมสามารถใช้ตัวผู้แต่ละตัวกับตัวเมียได้ 4-6 แม่ เป็นการเพิ่มโอกาส และความได้เปรียบอย่างมากในการหาตัวเมียเพียง 1 ตัว ที่ให้ลูกปลาตัวผู้ที่สุดยอดในหมู่ตัวเมียทั้ง 4-6 ตัว ว่าตัวใดเป็นแม่ตัวที่ดีที่สุด การเรียนรู้ถึงวิธีการคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ที่ดีที่สุด เป็นงานที่ยากที่สุดในขบวนการพัฒนาสายพันธุ์ปลาเพื่อให้ได้ปลาประกวดที่มีระดับสุดยอดได้ บางครั้งอาจเป็นเรื่องที่ดีที่เรามีพ่อแม่พันธุ์มากขึ้น เพื่อช่วยในกระบวนการคัดเลือกให้ดียิ่งขึ้น บ่อยครั้งที่คุณมองดูปลาเดิมๆ ของคุณอยู่ทุกๆ วัน คุณอาจ รัก/หลง พวกมัน และทำให้คุณพลาดและละเลยที่จะเห็น ข้อผิดพลาด/จุดด้อยของมัน ขณะที่คนอื่นมองเห็นจุดด้อยเหล่านั้นได้อย่างง่ายๆและอย่างชัดเจน การที่คุณได้เข้าร่วมการประกวดปลาหางนกยูงกับ IFGA คุณสามารถเปรียบเทียบคุณภาพของปลาของคุณกับปลาตัวอื่นๆในชั้นประกวดปลาได้อย่างชัดเจน ถ้าคุณทั้งหมดมีความซื่อสัตย์ต่อตัวเอง คุณจะรู้ดีถึงผลของการคัดเลือกของคุณที่คุณได้ทำมาทั้งหมดได้เป็นอย่างดี **************************////////////////////////////////////////////********************************************* SIANGCHAI JITKOSOLVANICH 26/02/05