วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2550

อาการตัวสั่นหัวส่าย,ครีบและหางลู่

อาการตัวสั่นหัวส่าย(wshimmy) หรือ ครีบและหางลู่ (Clamped Fins)"

อาการตัวสั่นหัวส่ายShimmies" หรือ "ครีบและหางลู่ clamped fins" โดยตัวมันเองแล้วไม่ใช่โรค แต่เป็นเพียงอาการที่แสดงออกของการเจ็บป่วยที่เกิดจากโรค เพราะมันสามารถเกิดจากสาเหตุต่างๆได้มากมายที่ทำให้เกิดอาการเดียวกันเช่น columnaris หรือ fluke ในรูปแบบต่างๆ

อาการของโรคและพฤติกรรมที่แสดงออก ( Symptoms and Behavioral Signs )

ปลาหางนกยูงเกิดอาการครีบแนบกับลำตัว และหางลีบลู่ ลอยตัวที่ผิวน้ำ ดูเกือบไม่เคลื่อนไหว มีอาการตัวสั่นหัวส่าย หรือว่ายน้ำบ้างเป็นบางครั้ง แต่ไม่ได้ว่ายแบบปกติ เป็นการว่ายขยับตัวจากจุดหนึ่งไปอีกจุดหนึ่งแบบผิดปกติ อาการที่แสดงออกคือ


1 Fins clamped ครีบลู่แนบลำตัว หางลีบ
2 Guppy shimmies ปลาตัวสั่นหัวส่าย
3 Fish is shy or hiding ปลามักมีอาการขี้อายหรือหลบๆซ่อนๆ
4 Fish lack appetite ปลาขาดอาการแสดงออกถึงการอยากอาหารหรือกินอาหาร
5 Fish is still or inactive ปลาแสดงอาการเฉื่อยชาอาการเหล่านี้เป็นอาการจากการติดเชื้อ ( parasitic diseases )
ซึ่งจะเป็นเชื้อโรคอะไรนั้นสามารถรู้ได้อย่างชัดเจนก็ต่อเมื่อส่องดูด้วสยกล้องจุลทรรศ ( microscope ) การรักษาโรคโดยไม่ทราบถึงต้นเหตุของปัญหา อาจทำให้ปลาเกิดความเครียด จากสารเคมี(ยา)ที่ใช้รักษา ไปกระทบกระเทือนสภาวะของน้ำสภาวะที่อาจเป็นต้นเหตุ (causative condition)
การเกิด/มี แอมโมเนีย ไนไตรท์ ไนเตรด ในระดับที่สูงในน้ำตู้ปลาหรือน้ำที่ใช้เลี้ยงน้ำมีระดับอ็อกซิเจนต่ำ มีของเสียทางสารอินทรีย์ในระดับสูง

ระดับ pH หรือความเป็นกรดเป็นด่างเกินกว่าช่วงที่เหมาะสมของปลาหางนกยูง (อาจต่ำกว่า 7.0 หรือมากกว่า 8.4) อาจเกิดการเปลี่ยนแปลงสภาวะของน้ำโดยทันที,กระทันหันของความเป็นกรดด่าง pH,

อุณหภูมิ หรือระดับความกระด้างของน้ำหากเกิดขึ้นหลายๆตู้

อาจเกิดจากเกิดการล้มของวงจรของไนโตรเจน( nitrogen cycle ) อย่างรุนแรง หรืออาจเกิดจากการให้อาหารมากจนเกินไป หรือ

ระบบกรองล้มเหลว ( เช่นสกปรกเกินไป หรือ อาจเกิดช่วงไฟฟ้าดับเป็นช่วงเวลานานในช่วงที่ไม่อยู่บ้าน ทำให้ระบบจุลินทรีย์และวงจรของไนโตรเจนเกิดการ ล้มเหลว ) ถ้าหากอาการนี้เกิดขึ้นหลังจากช่วงปกติที่ปลาไม่มีอาการอะไรเลย และเกิดขึ้นพร้อมกันหลายๆตู้ ทั้งในช่วงใกล้ๆนี้ก็ไม่มีการเอาปลาใหม่เข้ามาเลย คุณอาจเดาไว้ได้เลยว่าเป็นเพราะ คุณให้อาหารมันมากเกินไป การวินิจฉัยโรค ( Diagnosis )ถ้าปลาของคุณว่ายเอาตัวถูกับพื้นตู้หรืออื่นๆ หรือว่ายฉวัดเฉวียงไปๆมาๆแปลกๆ นั่นบ่งว่ามันเกิดอาการระคายเคืองที่ผิวของมัน ซึ่งน่าเกิดจาก parasite ภายนอก ถ้าปลาว่ายโดยมีลักษณะผิดปกติ นั่นอาจเกิดจาก parasistic disease เช่น Chilodonea, Costia, Skin Flukes (gyrodactylus), White Spot (Ich) and Velvet Diseaseให้สำรวจตรวจสอบว่ามีสัญญานอาการที่ผิดปกติ หรืออาการของโรคอย่างอื่นหรือไม่ ถ้ามีอาการเพียงแค่หางลีบครีบลู่ นั่นอาจเกิดจากคุณภาพของน้ำอาจอยู่ในสภาพที่แย่มาก ถ้ามันแขวนหัลอยตัวที่ผิวน้ำ โดยไม่มีอาการของโรคอื่นๆเลย นั่นก็อาจมาจากคุณภาพของน้ำที่ไม่ดี

ลองสำรวจดูที่พื้นตู้ ว่ามีอะไรที่ผิดปกติไหม?

เมื่อเทียบกับตู้อื่นๆ เช่น มีเศษอาหารที่ไม่ได้กิน เหลือไว้ อยู่ที่ก้นตู้หรือไม่?

น้ำในตู้ขุ่นมัวหรือไม่?

ตัวกรองสกปรก อุดตันหรือไม่?

ที่ตัวกรองการไหลเวียนของน้ำยังสะดวกดีอยู่หรือเปล่า ?

สิ่งเหล่านี้เป็นสัญญานบ่งบอกว่า การให้อาหารมากเกินไป และ วงจรการย่อยสลายของเสียหรือ เกิดการล้มเหลวของ nitrogen cycle.

ซึ่งทำให้คุณภาพน้ำเสียหายและเกิดสารพิษได้ สำรวจดูอาหารที่คุณจะให้ปลากิน ว่ามีกลิ่นไม่ดีหรืไม่?

ลองตรวจสอบคุณสมบัติของน้ำต่างๆ ( water parameters )

คุณสมบัติทางเคมีของน้ำในตู้อาจ เกิดสภาวะที่ไม่เหมาะสมสำหรับปลาหางนกยูง

ก็ให้ปรับคุณสมบัติต่างๆให้เหมาะสมถูกต้อง ซึ่งเราจะมาว่ากันต่อไป

สัญญานอีกอย่าง เราควรทราบว่า ปลาบางสายพันธุ์จะมีความว่องไวกับการเกิดโรคบางอย่าง

โดยเฉพาะกับอาการ หางลีบครีบลู่ หรือ ตัวสั่นหัวส่าย มากกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

เราอยากแนะนำให้เลิกเลี้ยงไปเสีย แต่หากยังต้องการเลี้ยงอยู่ก็ควรตีผ่า ( outcross )สายพันธุ์นั้น

เพื่อ ปรับปรุงความแข็งแรงทางพันธุกรรม


การป้องกัน และ การรักษา ( preventation & treatment )

เมื่อคุณเลี้ยงปลา, ให้อาหารมัน , ทำการคัดเลือกมัน , เอาปลาไปโชว์ไปประกวด ให้ลองพัฒนานิสัย

“ การมองปราดอย่างรวดเร็ว เพื่อตรวจสอบปลาทั้งหมดอย่างรวดเร็ว “

เป็นการตรวจสอบด้วยสายตาอย่างคร่าวๆ ถ้าคุณเห็นปลาอยู่ที่มุมตู้หรือที่ผิวน้ำ ส่ายไปส่ายมา และอาจครีบลู่หางลีบด้วย คุณกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับคุณสมบัติของน้ำ คุณควรรีบแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำทันที มิฉะนั้นแล้วอาจเลยไปถึง ขั้นที่ยากแก่การกู้คืนได้ การรักษาโรคปลาอาจเลยไปถึงขั้นทำได้ยาก หรือแก้ไขไม่ได้ รีบแยกปลาที่ป่วย ออกมารักษา เราพบว่าการแยกปลาที่ป่วยออกมารักษาต่างหากเป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ เพราะปลาที่ป่วยอาจมีการติดเชื้อโรคอย่างมากมาย กลายเป็นแหล่งของเชื้อ ทำให้สามารถติดและลุกลายไปยังตัวอื่นๆได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ป่วยทั้งตู้ได้เพียงวันสองวันอย่างรวดเร็ว ปลาตัวอื่นๆอาจไม่มีทางป้องกันตัวได้ เราเองก็ช่วยปกป้องและป้องกันปลาตัวอื่นๆได้ยากถ้าการทดสอบน้ำ แสดงผลว่า คุณสมบัติทางเคมีของน้ำ ไม่อยู่ในสมดุล ที่เหมาะสมกับปลาหางนกยูง คุณอาจใช้ ผลิตภัณฑ์ใดผลิตภัณฑ์หนึ่ง ที่มีขายอยู่มากมาย เพื่อขจัดพิษต่างๆ เช่น ระดับไนโตรเจนที่มีอยู่มากเกินไปจนเป็นอันตรายต่อปลา หรือ /และ อาจเปลี่ยนถ่ายน้ำออก 30 % ด้วยน้ำที่มีคุณสมบัติที่เหมาะสมถูกต้อง แต่ต้องระวังอย่าให้กระเด็นหรือไปปนเปื้อนตู้อื่นๆ ถ้าปลาส่วยใหญ่มีอาการเครียดให้ ย้ายมันออกไปไว้ตู้ที่มีน้ำที่เหมาะสม หรือถ่ายน้ำออก 50%ด้วยน้ำที่ดีเหมาะสม หลังจากนั้น 3-4 วันให้ดูดสกปรกที่ก้นตู้ออกและถ่าน้ำ 10 %ทุกวัน ถ้าหาก พิจารณาแล้วว่า อาการผิดปกติเกิดจากการให้อาหารมากเกินไป ให้อดอาหารสัก 2 วัน หลังจากนั้นค่อยให้อาหารน้อยๆ และค่อยเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่องจนมาถึงอัตราที่ปกติและเหมาะสม พยายามอย่าใช้ยากับปลา ยกเว้นว่าการเจ็บป่วยมาจากเชื้อโรคจริงๆ เพราะยาหลายตัวที่ไปทำลายวงจรของไนโตรเจน ทำให้เกิดปัญหาใหม่ตามมาอีก

ให้ดูหัวข้อ “ Medications Affecting the Nitrogen Cycle “

อย่างไรก็ดี ที่ใช้กันการรักษา อาการนี้ การใช้ ด่างทับทิม potassium permanganate นับว่าได้ผลดีที่สุด และการล้างตู้ที่ได้ผลสุด( หากจำเป็น ) คือการใช้ โซดาไฟ ล้างแช่ตู้ เพราะมันจะล้าง ย่อย ทำลาย คราบ เศษ อาหาร ของเสีย ที่ช่วยส่งเสริมให้เกิดและสนับสนุนการเติบโตของเชื้อโรค การใช้ด่างทับทิมตามอัตราที่เหมาะสม คือ 5 ppm จะไม่ทำลายวงจรของไนโตรเจน ก่อนการรักษาให้ถ่ายน้ำใหม่ 30% แล้วใช้ด่างทับทิมตามอัตราที่กำหนด การรักษาอาจทำสัก 2 ครั้ง ( อาจห่างกันสัก 2 – 3 วันครั้ง )ยาที่มีผลกระทบต่อวงจรของไนโตรเจน ( medications affecting the Nitrogen Cycle )ยาที่ใช้บางตัวสามารถเป็นอันตรายต่อตัวปลามันเองโดยตรง ในกรณีที่ยานั้นมีผลที่ไปฆ่าหรือทำลายวงจรไนโตรเจนที่ช่วยย่อยสลายของเสียต่างๆ ในกรณีนั้น จะทำให้ปลาของคุณเครียดและอันตรายจากการเกิดพิษจากของเสียต่างๆในน้ำ เพราะปราศจากวงจรไนโตรเจนและจุลินทรีย์ที่ช่วยย่อยของเสียในตู้ปลา
การศึกษายาต่างๆที่ใช้รักษาปลา โดยดูว่ามีผลกระทบต่อ วงจรของไนโตรเจน โดยพิจารณาถึงผลกระทบต่อ การสลายแอมโมเนียและ ต่อการสร้างไนเตรท การศึกษานี้ได้ตีพิมพ์ ใน ATLA 27, 121-135, January/February 1999. "Short-Term Toxicity of Various Pharmacological Agents on the In-Vitro Nitrification Process in a Simple Closed Aquatic System"

ยาที่ไม่มีผลต่อวงจรไนโตรเจน
chloramphenicol
copper (II) sulphate
kanamycin disulphate
malachite green
neomycin sulphate
potassium penicillin G
tetracycline
trimethoprim plus
sulphadoxin (DuoprimTM

ยาที่มีผลกระทบต่อวงจรไนโตรเจน
ampicillin
(Albipen®)
chloramine T
enrofloxacin
(Baytril®)
erythromycin
levamisole
methylene blue
polymyxin B

จากการศึกษาสรุปว่า "ข้อมูลดังกล่าว แนะนำว่าการรักษาปลาที่เจ็บป่วยด้วยยาเหล่านี้ ต้องแยกออกมารักษาในตู้ที่ใช้รักษาปลาป่วย เพื่อหลีกเลี่ยงจากการเกิด พิษจากแอมโมเนีย ( อันเนื่องจากการล้มเหลวของวงจรของไนโตรเจน ) ยาในกลุ่มดังกล่าวคือ ampicillin, enrofloxacin, chloramine T, erythromycin, levamisole, methylene blue or polymyxin BNecessary Disclaimer: Please note that the authors of the study, nor this site,warrant that this information is correct. Please use the information at your own risk.ข้อเตือนที่จำเป็นต้องแจ้ง : ผู้เขียนการศึกษาข้อมูลนี้ และ เวปนี้ ขอให้คุณได้ใช้การพิจารณาและสังเกตด้วยตนเอง ผู้ศึกษาได้รับรองผลการทดลองว่าเป็นจริง ดังนั้นกรุณาใช้ข้อมูลนี้ด้วย ความเสี่ยงของคุณเอง ด้วยวิจารณะญานส่วนตัวของท่านเอง